ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นประธานการประชุม กกต.ผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom Cloud Meeting ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาผลคะแนนการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯกทม.) และสมาชิกกรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 หลังการประชุมเมื่อวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา สำนักงาน กกต.เสนอความเห็นต่อที่ประชุมว่ากรณีที่ นายชัชชาติ ถูกร้องเรียนเรื่องป้ายหาเสียงอาจเข้าข่ายทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตเที่ยงธรรม จึงควรตรวจสอบเพื่อให้เกิดความรอบคอบโดยมีรายงานว่า การประชุม กกต.วันเดียวกันนี้ ที่ประชุมมีมติรับรอง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครหมายเลข 8 ในนามอิสระ ซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 1 ด้วยคะแนน 1,386,215 คะแนน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้สำนักงาน กกต.เสนอผลการตรวจสอบเบื้องต้นและเห็นควรประกาศผลการเลือกตั้ง โดยที่ประชุม กกต. ตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า ผลการเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม จึงมีมติประกาศผลการเลือกตั้ง ตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ดังนี้
1.ผู้ว่าฯ กทม. จำนวน 1 ราย ได้แก่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์
2.ส.ก. จำนวน 5 ราย แบ่งเป็นพรรคเพื่อไทย 3 ราย พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) 1 ราย และพรรคก้าวไกล 1 ราย ได้แก่ เขตสัมพันธวงศ์ นายพินิจ กาญจนชูศักดิ์ พรรค ปชป., เขตหนองแขม นายนวรัตน์ อยู่บำรุง พรรคเพื่อไทย, เขตบึงกุ่ม นายเนติภูมิ มิ่งรุจิราลัย พรรคเพื่อไทย, เขตบางคอแหลม นายปวิน แพทยานนท์ พรรคเพื่อไทย และเขตลาดพร้าว นายณภัค เพ็งสุข พรรคก้าวไกล
ก่อนหน้านี้ กกต.รับรองไปแล้ว 40 ราย รวมจำนวน ส.ก.ที่ กกต.รับรองตอนนี้ 45 ราย ยังเหลืออีก 5 รายที่ยังไม่ประกาศรับรอง
สำนักงาน กกต.ระบุว่า การที่ กกต.ไม่อาจประกาศผลการเลือกตั้งได้ทันทีที่ได้รับรายงานผลการนับคะแนน เนื่องจากสำนักงาน กกต.ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด คือต้องดำเนินการ “ตรวจสอบเบื้องต้น” ตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 เสียก่อนว่า มีเหตุอันควรเชื่อว่าผลการเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมหรือไม่ ว่าจะมีผู้ร้องเรียนหรือไม่ก็ตาม โดยพิจารณาจากรายงานของผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร และรายงานของผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร ประกอบการพิจารณาเสนอ กกต.เพื่อประกาศผลการเลือกตั้ง
มีรายงานข่าวแจ้งว่า ก่อน กกต. มีมติประกาศผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ประชุม กกต.ได้พิจารณาสำนวนเรื่องร้องเรียนนายชัชชาติ ทั้ง 2 เรื่องคือ กรณีจัดทำป้ายหาเสียงจูงใจเพื่อให้ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนให้กับตนเอง และกรณีถูกกล่าวหาพูดจาดูหมิ่นระบบราชการ โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ตามที่สำนักงาน กกต.เสนอไม่รับเป็นเรื่องร้องเรียน เนื่องจากเห็นว่าไม่ได้ทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่สุจริตเที่ยงธรรม ทำให้หลังจากนี้นายชัชชาติ สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าฯ กทม.ได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องกังวลกับการต้องถูกดำเนินการสอบสวนจากเรื่องร้องเรียนดังกล่าว
โดยสำนักงาน กกต.กทม. ได้มีการจัดสถานที่ เตรียมเก้าอี้เพื่อรองรับผู้ว่าฯ กทม.และ ส.ก.เบื้องต้น 45 ราย ที่นัดหมายให้เดินทางมารับประกาศผลการเลือกตั้งในวันที่ 1มิ.ย. 2565 เวลา 11.00 น. ก่อนที่จะนำไปรายงานตัวต่อกระทรวงมหาดไทยเพื่อเริ่มปฏิบัติหน้าที่
อนึ่ง เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2565 ที่ประชุม กกต.มีการประชุมหารือการรับรองนายชัชชาติมาแล้ว 1 ครั้ง แต่ยังไม่ประกาศรับรอง เนื่องจากต้องรอวินิจฉัย เรื่องร้องเรียนกล่าวหา 2 ประเด็น ได้แก่ 1.กรณีทำป้ายหาเสียงเป็นผ้าไวนิลมีเจตนาแฝงเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถนำไปรีไซเคิลเพื่อทำ "กระเป๋า-ผ้ากันเปื้อน" อันเป็นการกระทำเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ลงคะแนนให้แก่ตนเองด้วยวิธีการ จัดทำให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้หรือไม่ อย่างไร และ 2. กรณีการพูดในลักษณะดูถูกระบบราชการ
ติดตามความเคลื่อนไหวบางส่วนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ที่
https://web.facebook.com/chadchartofficial?_rdc=1&_rdr
1.ผู้ว่าฯ กทม. จำนวน 1 ราย ได้แก่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์
2.ส.ก. จำนวน 5 ราย แบ่งเป็นพรรคเพื่อไทย 3 ราย พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) 1 ราย และพรรคก้าวไกล 1 ราย ได้แก่ เขตสัมพันธวงศ์ นายพินิจ กาญจนชูศักดิ์ พรรค ปชป., เขตหนองแขม นายนวรัตน์ อยู่บำรุง พรรคเพื่อไทย, เขตบึงกุ่ม นายเนติภูมิ มิ่งรุจิราลัย พรรคเพื่อไทย, เขตบางคอแหลม นายปวิน แพทยานนท์ พรรคเพื่อไทย และเขตลาดพร้าว นายณภัค เพ็งสุข พรรคก้าวไกล
ก่อนหน้านี้ กกต.รับรองไปแล้ว 40 ราย รวมจำนวน ส.ก.ที่ กกต.รับรองตอนนี้ 45 ราย ยังเหลืออีก 5 รายที่ยังไม่ประกาศรับรอง
สำนักงาน กกต.ระบุว่า การที่ กกต.ไม่อาจประกาศผลการเลือกตั้งได้ทันทีที่ได้รับรายงานผลการนับคะแนน เนื่องจากสำนักงาน กกต.ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด คือต้องดำเนินการ “ตรวจสอบเบื้องต้น” ตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 เสียก่อนว่า มีเหตุอันควรเชื่อว่าผลการเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมหรือไม่ ว่าจะมีผู้ร้องเรียนหรือไม่ก็ตาม โดยพิจารณาจากรายงานของผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร และรายงานของผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร ประกอบการพิจารณาเสนอ กกต.เพื่อประกาศผลการเลือกตั้ง
มีรายงานข่าวแจ้งว่า ก่อน กกต. มีมติประกาศผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ประชุม กกต.ได้พิจารณาสำนวนเรื่องร้องเรียนนายชัชชาติ ทั้ง 2 เรื่องคือ กรณีจัดทำป้ายหาเสียงจูงใจเพื่อให้ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนให้กับตนเอง และกรณีถูกกล่าวหาพูดจาดูหมิ่นระบบราชการ โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ตามที่สำนักงาน กกต.เสนอไม่รับเป็นเรื่องร้องเรียน เนื่องจากเห็นว่าไม่ได้ทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่สุจริตเที่ยงธรรม ทำให้หลังจากนี้นายชัชชาติ สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าฯ กทม.ได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องกังวลกับการต้องถูกดำเนินการสอบสวนจากเรื่องร้องเรียนดังกล่าว
โดยสำนักงาน กกต.กทม. ได้มีการจัดสถานที่ เตรียมเก้าอี้เพื่อรองรับผู้ว่าฯ กทม.และ ส.ก.เบื้องต้น 45 ราย ที่นัดหมายให้เดินทางมารับประกาศผลการเลือกตั้งในวันที่ 1มิ.ย. 2565 เวลา 11.00 น. ก่อนที่จะนำไปรายงานตัวต่อกระทรวงมหาดไทยเพื่อเริ่มปฏิบัติหน้าที่
อนึ่ง เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2565 ที่ประชุม กกต.มีการประชุมหารือการรับรองนายชัชชาติมาแล้ว 1 ครั้ง แต่ยังไม่ประกาศรับรอง เนื่องจากต้องรอวินิจฉัย เรื่องร้องเรียนกล่าวหา 2 ประเด็น ได้แก่ 1.กรณีทำป้ายหาเสียงเป็นผ้าไวนิลมีเจตนาแฝงเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถนำไปรีไซเคิลเพื่อทำ "กระเป๋า-ผ้ากันเปื้อน" อันเป็นการกระทำเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ลงคะแนนให้แก่ตนเองด้วยวิธีการ จัดทำให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้หรือไม่ อย่างไร และ 2. กรณีการพูดในลักษณะดูถูกระบบราชการ
ติดตามความเคลื่อนไหวบางส่วนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ที่
https://web.facebook.com/chadchartofficial?_rdc=1&_rdr
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น