เป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัส COVID-19 มีผู้ประกอบการโทรคมนาคมรายใหญ่ทั้งหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนกว่า 10 ราย ได้ทำโครงการดี ๆ เพื่อปล่อยสินเชื่อสำหรับอุปกรณ์สื่อสารอินเทอร์เน็ตราคาประหยัด(เฉพาะกิจพิเศษ) รองรับการศึกษายุคใหม่ เชื่อมโลกเป็นหนึ่งเดียวกัน เผย วิสดอมวี กรุ๊ป 1 ในพันธมิตรรับหน้าที่ดูแลคอนเทนต์วิชาการ จัดหลักสูตรเสริมทักษะวิชาการ (Hard Skill) และทักษะที่ทำให้ผู้เรียนมีความโดดเด่นเป็นมืออาชีพ (Soft Skill) รองรับการทำงานในโลกยุคใหม่
นางสาวไหมฟ้ารดา ธัชรัชตะอนันต์ (Maifarada) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วิสดอม วี กรุ๊ป จำกัด (WISDOM V GROUP CO., LTD) กล่าวถึงโครงการปล่อยสินเชื่อสำหรับอุปกรณ์สื่อสารอินเทอร์เน็ตราคาประหยัด ว่า เป็นนิมิตรหมายที่ดี ที่ผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมรายใหญ่ รวมตัวกันเข้าช่วยเหลือให้ภาคประชาชน ภาครัฐ และผู้ประกอบการให้ได้ใช้อุปกรณ์สื่อสารอินเทอร์เน็ตราคาประหยัดผ่านช่องทางการให้บริการสินเชื่อจากสหกรณ์ทุกแห่งที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมสหกรณ์ ถือเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคดิจิทัลเชื่อมโลกเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยบริษัทที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วย
1. บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการเครือข่าย NT
2. บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ผู้ให้บริการเครือข่าย AIS
3. บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ผู้ให้บริการเครือข่าย DTAC
4. บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัด ผู้ให้บริการเครือข่าย TRUE
5. บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
6. บริษัท ทีดับบลิวแซต คอร์ ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
7. บริษัท ไอที ซิตี้ คอร์ป จำกัด
8. บริษัท แฟมิลี่ คอร์ป จำกัด
9. บริษัท อัลฟ่า แท็บ จำกัด
10. บริษัท ทีจี เซลลูล่าร์เวิล์ด จำกัด
11. บริษัท วิสดอม วี กรุ๊ป จำกัด (WISDOM V GROUP CO., LTD)
สำหรับ “วิสดอมวี กรุ๊ป ไม่ตกขบวนโครงการฯดี ๆ คือเราเป็น 1 ในพันธมิตรรับหน้าที่ดูแลคอนเทนต์วิชาการ ร่วมผลักดันสื่อการศึกษา จัดหลักสูตรเสริมทักษะวิชาการ (Hard Skill) และทักษะที่ทำให้ผู้เรียนมีความโดดเด่นเป็นมืออาชีพ (Soft Skill) รองรับการศึกษายุคใหม่ เพราะเมื่อผู้เรียนมีอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในราคาประหยัด และยิ่งมีเนื้อหา(คอนเทนต์)การเรียนการสอนที่ผ่านการวิจัยจาก นักวิชาการ,วิทยากรชั้นนำระดับประเทศ นำเสนอผ่านแพลตฟอร์มกลาง ที่มุ่งเน้นวางเป้าหมายร่วมกันระหว่างผู้เรียน และผู้สอนเพื่อฉายภาพอนาคตของผู้เรียนออกมา (Future Projection) สอนให้ผู้เรียนตั้งเป้าหมาย วาดภาพอนาคตของตัวเองในอาชีพที่อยากจะทำ
การแพร่ระบาดของโรคไวรัส COVID-19 มีส่วนให้การแก้ไขปัญหาระบบการศึกษาไทยล้าช้า เพราะเมื่อรูปแบบการเรียน การสอนแบบห้องเรียนปกติ ยกไปไว้ในห้องเรียนออนไลน์ ผู้เรียน และครูผู้สอนยังกระจัดกระจาย ยังไม่น่าสนใจเพียงพอ ทำให้ผู้เรียนเบื่อไม่สามารถที่จะวัดผลการเรียนได้ สิ่งที่จะช่วยได้คือปรับเวลาการเรียนใหม่ เนื่องจากข้อมูลวิจัยพบว่าผู้เรียนจะสนใจในวิชาจะอยู่ในช่วง 30 นาทีแรก การเรียนจึงจะมีประสิทธิภาพ และการเรียนผ่านแพลตฟอร์มจะไม่เหมือนกับคลิปวีดีโอทั่ว ๆ ไปที่สอนกันทางยูทูปหรือทางสื่อSocial Facebook อย่างไรก็ตามเรากำลังพัฒนาการเรียนการสอนบน Metaverse
นางสาวไหมฟ้ารดา กล่าวเพิ่มเติมถึง แพลตฟอร์ม ว่า ไม่จำกัดผู้เรียน เรียนได้ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา-มัธยม-มหาวิทยาลัย ซึ่งขณะนี้ได้เดินหน้าไปแล้วส่วนหนึ่งเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนควบคู่กับห้องเรียนปกติ และพร้อมที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงกลางปี 2565 โดยตั้งเป้าจะมีผู้เข้ามาใช้แพลตฟอร์ม 5 ล้านคน(User) และทุกหลักสูตรเมื่อจบแล้วจะมี Certificate ให้ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น