• คะแนนความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสารเด็ก 89% เอ้าท์แบ็คได้รับคะแนนการประเมินสูงสุดในกลุ่มรถครอบครัวขนาดใหญ่1
เป็นรถยนต์คันแรกที่ได้คะแนนประเมินสูงที่สุดเมื่อเทียบกับรถทุกระดับ2
• ความปลอดภัยต่อคนเดินถนนสูงสุด 84% นับเป็นรถยนต์คันแรกที่ได้คะแนนประเมินสูงที่สุดเมื่อเทียบกับรถทุกระดับ3
ซูบารุ ตอกย้ำความมั่นใจในเทคโนโลยีความปลอดภัยอีกครั้ง หลัง “ซูบารุ เอ้าท์แบ็ค (Subaru Outback)” รุ่นจำหน่ายในทวีปยุโรปโชว์ศักยภาพคว้าคะแนนความปลอดภัยรวมสูงที่สุด ในกลุ่มรถครอบครัวขนาดใหญ่ที่เข้ารับการประเมิน และยังได้คะแนนสูงสุดด้านระบบช่วยเหลือเพื่อเพิ่มความปลอดภัย (Safety Assist performance) และคะแนนความปลอดภัยต่อคนเดินถนนสูงสุดเมื่อเทียบกับรถทุกระดับในการประเมินความปลอดภัยของรถยนต์ประจำปี พ.ศ.2563-2564 จากองค์กรทดสอบมาตรฐานความปลอดภัยของยานยนต์ยูโร เอ็นแคป (European New Car Assessment Programme)
โดยซูบารุ เอ้าท์แบ็ค ได้คะแนนในการประเมินสูงกว่าคะแนนมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 5 ดาวทั้ง 4 ด้าน ได้แก่; ระบบการปกป้องผู้โดยสารผู้ใหญ่, ระบบการปกป้องผู้โดยสารเด็ก, ระบบความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ถนน, และระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่เพื่อเพิ่มความปลอดภัยโดยรวม สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของซูบารุในการพัฒนายนตรกรรมตามหลักปรัชญา All-Around Safety ที่ช่วยให้ทุกการขับขี่มีความปลอดภัยสูงสุด โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การลดจำนวนอุบัติเหตุบนท้องถนนที่อันตรายถึงชีวิตให้เป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ.25734 ตลอดจนเพิ่มระดับความปลอดภัยในทุกสภาวะ
ทั้งนี้ ตามเกณฑ์การประเมินล่าสุดของยูโร เอ็นแคป หากระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ไม่สามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงของอุบัติเหตุได้ ยานพาหนะที่เข้ารับการประเมินจะไม่ได้รับรางวัลระดับ 5 ดาวอีกต่อไป แต่ด้วยเทคโนโลยีอายไซต์เจนเนอเรชันล่าสุดของซูบารุ (อายไซต์4.0) ซึ่งมีความสามารถในการป้องกันการชน ทำให้ซูบารุ เอ้าท์แบ็คได้รับคะแนนสูงสุดด้านระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่เมื่อเทียบกับรถยนต์ทุกคัน และยังเป็นผลคะแนนสูงที่สุดในการทดสอบที่รถยนต์ซูบารุเคยได้รับมา
เทคโนโลยีความปลอดภัยอายไซต์ 4.0 (EyeSight Driver Assist Technology) ที่ผสานความรู้ทางเทคนิคด้านความปลอดภัยทั้งหมดเท่าที่ซูบารุสั่งสมมาตลอดระยะเวลา 30 ปีของการพัฒนายานยนต์ ประกอบด้วย ซอฟต์แวร์จดจำภาพพร้อมกล้องแบบสเตอริโอที่ขยายมุมรับภาพให้กว้างขึ้นถึงเกือบ 2 เท่า มาพร้อมระบบความปลอดภัย ได้แก่
• ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบปรับได้ (Advanced Adaptive Cruise Control) ที่มาพร้อมกับระบบควบคุมรถให้อยู่บริเวณกึ่งกลางเลน (Lane Centering Function)
• ระบบบังคับพวงมาลัยให้กลับมาอยู่ในจุดกึ่งกลางเลนอย่างปลอดภัยเมื่อรถกำลังจะออกนอกเลน (Emergency Lane Keep Assist) และระบบบังคับพวงมาลัยอัตโนมัติเมื่อรถเริ่มเบี่ยงออกนอกเส้นถนน (Lane Departure Prevention Function)
• ระบบช่วยเบรกอัตโนมัติ (Pre-Collision Braking System) ที่ช่วยบังคับรถไม่ให้เกิดการชนที่ครอบคลุมความปลอดภัยบริเวณทางเลี้ยวหรือทางแยก
ซูบารุ เอ้าท์แบ็คยังได้คะแนนสูงสุดในการทดสอบความปลอดภัยต่อคนเดินถนนเมื่อเทียบกับรถทุกระดับ3และยังมีผลการทดสอบระดับยอดเยี่ยมที่สุดเมื่อเทียบกับรถซูบารุทุกรุ่น ในการประเมินครั้งล่าสุดของยูโร เอ็นแคป ได้ใช้การทดสอบรูปแบบใหม่เพื่อทดสอบระบบบังคับเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ (Autonomous Emergency Braking - AEB) ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับทั้งคนเดินถนน (ขณะเลี้ยวรถบริเวณทางข้าม) และผู้ขี่จักรยาน (เมื่อรถตรวจจับผู้สัญจรบนถนนที่มีความเร็วสูงกว่าปกติและเมื่อพบสิ่งกีดขวาง)
ระบบเสริมความปลอดภัยในซูบารุ เอ้าท์แบ็คยังประกอบด้วยระบบเบรกอัตโนมัติในขณะถอยหลัง (Reverse Automatic braking) ระบบตรวจจับยานพาหนะด้านหลัง (Subaru Rear Vehicle Detection) ระบบเตือนสถานะผู้โดยสารเบาะหลัง (Rear Seat Reminder) และกล้องเสริมการมองเห็นหลายทิศทาง ทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้างเพื่อช่วยลดจุดบอดขณะขับรถเพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
ซูบารุ เอ้าท์แบ็คพัฒนาขึ้นบนโครงสร้างตัวถังซูบารุ โกลบอล แพลตฟอร์ม (Subaru Global Platform) ที่เพิ่มปริมาณเหล็กกล้าทนแรงดึงสูง (high-tensile steel) ทำให้ตัวถังมีน้ำหนักเบา ช่วยเพิ่มระดับการปกป้องจากการชนทั้งจากด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลังได้มากขึ้นถึงกว่า 40% อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับแรงปะทะ ลดแรงสั่นสะเทือน นอกจากนี้ ตัวถังยังแข็งแกร่งยิ่งขึ้นด้วยโครงสร้างแบบใหม่ full inner frame structure เพิ่มบีมและซับเฟรม ซึ่งช่วยเสริมสมรรถนะด้านความปลอดภัยระดับสูงสุดให้กับซูบารุ เอ้าท์แบ็คเมื่อเกิดการชน
สัมผัสประสบการณ์การขับขี่ที่ปลอดภัยระดับโลก ทดลองขับได้ที่งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถยนต์ซูบารุรุ่นต่างๆ ได้ที่ www.subaru.asia หรือติดตามข่าวสารได้ที่
https://www.facebook.com/subaruasiath
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น