ก.อุตฯร่วมกับ ISMED นำเสนอ โมเดล 6 เศรษฐกิจกระแสใหม่ หนุนเศรษฐกิจไทยเติบโตแบบก้าวกระโดด - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2565

ก.อุตฯร่วมกับ ISMED นำเสนอ โมเดล 6 เศรษฐกิจกระแสใหม่ หนุนเศรษฐกิจไทยเติบโตแบบก้าวกระโดด



นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงาน “พลิกเมือง 6 เศรษฐกิจกระแสใหม่ ขุมทรัพย์ขับเคลื่อนประเทศไทย” ด้วยโมเดล 6 เศรษฐกิจกระแสใหม่ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ ISMED นำเสนอ โมเดล 6 เศรษฐกิจกระแสใหม่ หนุนเศรษฐกิจไทยเติบโตแบบก้าวกระโดด



ทั้งนี้เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565  นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงาน “พลิกเมือง 6 เศรษฐกิจกระแสใหม่ ขุมทรัพย์ขับเคลื่อนประเทศไทย” ด้วยโมเดล 6 เศรษฐกิจกระแสใหม่ พร้อมบ่มเพาะพัฒนายกระดับศักยภาพ SME ไทยให้เติบโต มั่นใจโมเดลนี้จะเกิดพลังหนุนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตแบบก้าวกระโดด พร้อมกล่าวนำการสัมมนาในหัวข้อ “ทิศทางของกระทรวงอุตสาหกรรมและการขับเคลื่อน SMEs ภายใต้ในเศรษฐกิจยุคใหม่” ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการไทยได้เห็นถึงการส่งเสริมและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยของกระทรวงอุตสาหกรรมให้เติบโตและแข็งแกร่งได้ในสภาพการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ณ ห้องกมลทิพย์ 1 ชั้น 2 โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ


นายธนนนทน์ พรายจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) เปิดเผยว่า “สถาบันฯ ได้ทำการศึกษาและค้นหา เครื่องจักรเศรษฐกิจตัวใหม่ และมองฉากทัศน์ที่ประเทศไทยจะสามารถสร้างการเจริญเติบโตและมีความเป็นไปได้ มีแนวโน้มไปทิศทางใด กระทั่งมีการจัดทำ “บทสรุปแนวทางการเติบโตของธุรกิจแบบก้าวกระโดดด้วย 6 เศรษฐกิจกระแสใหม่” เพื่อให้ภาคธุรกิจและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบในปรับตัวหรือประยุกต์ใช้ให้สอดรับกับทิศทางใหม่นี้ โดยในปีนี้สถาบันฯ ได้พัฒนาเครื่องมือ 2 Solutions เพื่อเร่งสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ 1) แพลทฟอร์ม Smart Data เป็นเครื่องมือ Intelligence Analyst วินิจฉัย-รายงานผลเป็น SME Dashboard เพื่อวิเคราะห์ธุรกิจและแก้ปัญหาได้ตรงประเด็น ทำให้เห็นศักยภาพเมื่อเทียบเคียงกันในอุตสาหกรรมเดียวกันได้ 2) แพลทฟอร์ม Big Step (https://www.bigstepgo.com) เป็น Smart Tools ช่วย Up-skill แบบself-learning โดยเหนือชั้นกว่าด้วยการรวมเครื่องมือเบ็ดเสร็จในที่เดียวแบบ one stop มีทั้งความรู้และ คลัง Data ที่สำคัญ นอกจากนี้ จะขยายไปสู่ซีรี่ส์ของการพัฒนา Future Skill รองรับเศรษฐกิจอนาคตต่อไป


ภายในงานนี้ได้เปิดเวทีแลกเปลี่ยนกับภาคธุรกิจ และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ จนสามารถเสนอฉากทัศน์ใหม่ ที่จะถูกขับเคลื่อนด้วยภาคเศรษฐกิจกระแสใหม่ใน 6 มิติที่สำคัญ ได้แก่

1.Indoor Economy: ระบบเศรษฐกิจการใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้ชีวิตอยู่ในบ้านที่มากขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น สินค้าและบริการรองรับการทำงานอยู่ที่บ้าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมพักผ่อน สันทนาการ และงานอดิเรก ตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวันที่มีการเดินทางออกจากบ้านน้อยลง

2.Care Economy: ระบบเศรษฐกิจที่เกิดจากความต้องการในการดูแลสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่มากขึ้น ของผู้สูงอายุ เด็ก คนพิการ ผู้ป่วย รวมถึงกลุ่มวัยทำงาน เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น ธุรกิจดูแลสุขภาพ อาหาร การท่องเที่ยว ที่พัก การเดินทาง เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ของใช้ภายในบ้าน รวมถึงอุปกรณ์ดิจิทัลที่ช่วยในการดูแลสุขภาพ

3. Domestic Economy: ระบบเศรษฐกิจที่กลับมาให้ความสำคัญกับผู้บริโภคภายในประเทศ ช่วงการที่เดินทางเข้าออกระหว่างประเทศทำได้ยาก ส่งผลให้เกิดสินค้าและบริการ ที่ตอบสนองความต้องการของคนภายในประเทศ เช่น สินค้าและบริการเพื่อสร้างประสบการณ์ทดแทนการท่องเที่ยวในต่างประเทศ สินค้าและบริการที่สร้างประสบการณ์ใหม่ โดยใช้ทรัพยากรทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ


4. One Planet Economy: ระบบเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับการรักษ์โลก จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่คนตระหนักมากขึ้นว่า การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกและสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน รูปแบบสินค้า บริการ และการดำเนินธุรกิจ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น สินค้าและบริการที่เกิดจากการนำวัสดุเหลือใช้กลับมาสร้างมูลค่าเพิ่ม สินค้าและบริการที่ลดขยะและการใช้พลังงาน

5. Virtual Economy: ระบบเศรษฐกิจที่มุ่งสร้างประสบการณ์บนโลกเสมือนจริงให้มีคุณค่าเทียบเท่าประสบการณ์จริง รองรับการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการใช้ชีวิต และการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีดิจิทัลรูปแบบใหม่ๆ เช่น สินค้าและบริการใหม่ๆ ที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนบนโลกเสมือนจริง สินค้าและบริการเดิมที่มีการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อขยายตลาดบนโลกเสมือนจริง


6. Up-skill Economy: ระบบเศรษฐกิจรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้คนจำนวนมากตระหนักถึงการแสวงหาความรู้-ทักษะใหม่ๆ ขณะเดียวกันหลายธุรกิจได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเพื่อสร้างความอยู่รอด ซึ่งส่งผลให้เกิดการเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความรู้ทักษะใหม่ๆ ทั้งในรูปแบบ Online และ Offline เช่น จากธุรกิจผลิตสินค้าและบริการต่อยอดสู่ธุรกิจการให้ความรู้ทักษะเพื่อการสร้างอาชีพ ธุรกิจการศึกษาที่พัฒนาหลักสูตรรองรับอาชีพสมัยใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น