ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย ก้าวเข้าสู่ปีที่ 125 เดินหน้าพัฒนาโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟอย่างต่อเนื่อง เร่งผลักดันให้ “การขนส่งทางราง” เป็นระบบหลักในการเดินทางและขนส่งของประเทศ เพื่อก้าวเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมขนส่งที่มีความทันสมัยในภูมิภาคอาเซียน เสริมสร้างโอกาสทางการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยว เชื่อมโยงโครงข่ายการเดินทางให้ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค
ปัจจุบันการรถไฟฯ มีโครงข่ายทางรถไฟ ประมาณ 4,346 กิโลเมตร รวมถึง “โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง” และก่อสร้าง “โครงการรถไฟทางคู่” เพิ่มเติมพร้อมใช้งานแล้ว โดยมีการเพิ่มศักยภาพด้วยการปรับปรุงรางขยายทางให้เป็นทางคู่ เพื่อให้ทำความเร็วได้มากขึ้น ลดเวลาเดินทาง รองรับจำนวนผู้โดยสาร และปริมาณการขนส่งสินค้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วนอีก 5 เส้นทางที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2565 ขณะที่รถไฟทางคู่ระยะที่ 2 อีก 7 เส้นทาง ระยะทาง 1,479 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการ
การก่อสร้าง “โครงการรถไฟความเร็วสูง” ของไทย การรถไฟฯ ได้มีแผนการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว โดยระยะเร่งด่วนสายสำคัญคือ รถไฟความเร็วสูง ระยะเร่งด่วน ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา โดยล่าสุดก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา คือช่วงกลางดง-ปางอโศก และยังมีช่วงกรุงเทพฯ - พิษณุโลก และช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ส่วนระยะกลาง และระยะยาว อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียดโครงการ
ส่วนการส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก และนำความเจริญเข้าสู่พื้นที่ EEC ในเส้นทาง การรถไฟฯได้ดำเนินการ “โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน” เป็นการเชื่อมโยงระหว่างท่าอากาศยานหลักของประเทศ ช่วงดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา - ระยอง
ในช่วงที่ผ่านมาการเปิดให้บริการ “สถานีกลางบางซื่อ” จึงเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมทุกรูปแบบ ทั้งทางบก ทางราง และทางอากาศนับเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ในการเดินทางของประชาชน ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ทั้งขบวนรถไฟทางไกล รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง รถไฟนำเที่ยวในวันหยุด โครงการรถไฟทางคู่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนารูปแบบการเดินทางระบบรางไปสู่อนาคต
สถานีกลางบางซื่อ ถือเป็นศูนย์กลางการเดินทางที่ทันสมัย มีศักยภาพเทียบเท่าสถานีรถไฟชั้นนำของโลก เป็นสถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของไทย ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางระบบรางที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย ด้วยการใช้หลักอารยสถาปัตย์ หรือ Universal Design ทั้งในบริเวณสถานีและตู้โดยสารรถไฟ ให้ผู้โดยสารทุกคนใช้บริการได้อย่างสะดวก ปลอดภัย ทันสมัย และเท่าเทียม มีการนำเทคโนโลยี 5G เต็มรูปแบบมาพัฒนาให้เป็นสถานีอัจฉริยะ ยกระดับคุณภาพในการให้บริการขนส่งผู้โดยสารที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชานเมือง ให้สามารถเดินทางสู่ใจกลางกรุงเทพด้วยระบบรางที่ สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และยังเป็นการป้อนผู้โดยสารเข้าสู่โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอื่นในเขตกรุงเทพมหานคร ช่วยแก้ไขปัญหารถติดบนท้องถนน
อย่างไรก็ตาม เมื่อการก่อสร้างรถไฟทางคู่โครงข่ายรถไฟทั้งทางไกล รถไฟความเร็วสูง โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ขยายเส้นทางครอบคลุมทุกพื้นที่ของไทยแล้ว นอกจากจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย ยังช่วยลดระยะเวลาในการเดินทาง ช่วยสร้างโอกาสพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวให้กับชุมชน เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งสินค้า ยกระดับให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ของภูมิภาคได้ในอนาคต สามารถคลิ๊กเข้าไปดูได้ที่ รฟท. เดินหน้าพัฒนาโครงข่ายรถไฟ เชื่อมโยงทุกการเดินทางเซฟเวลา เซฟพลังงาน เซฟค่าใช้จ่าย
การรถไฟแห่งประเทศไทย ก้าวเข้าสู่ปีที่ 125 เดินหน้าพัฒนาโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟอย่างต่อเนื่อง เร่งผลักดันให้ “การขนส่งทางราง” เป็นระบบหลักในการเดินทางและขนส่งของประเทศ เพื่อก้าวเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมขนส่งที่มีความทันสมัยในภูมิภาคอาเซียน เสริมสร้างโอกาสทางการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยว เชื่อมโยงโครงข่ายการเดินทางให้ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค
ปัจจุบันการรถไฟฯ มีโครงข่ายทางรถไฟ ประมาณ 4,346 กิโลเมตร รวมถึง “โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง” และก่อสร้าง “โครงการรถไฟทางคู่” เพิ่มเติมพร้อมใช้งานแล้ว โดยมีการเพิ่มศักยภาพด้วยการปรับปรุงรางขยายทางให้เป็นทางคู่ เพื่อให้ทำความเร็วได้มากขึ้น ลดเวลาเดินทาง รองรับจำนวนผู้โดยสาร และปริมาณการขนส่งสินค้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วนอีก 5 เส้นทางที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2565 ขณะที่รถไฟทางคู่ระยะที่ 2 อีก 7 เส้นทาง ระยะทาง 1,479 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการ
การก่อสร้าง “โครงการรถไฟความเร็วสูง” ของไทย การรถไฟฯ ได้มีแผนการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว โดยระยะเร่งด่วนสายสำคัญคือ รถไฟความเร็วสูง ระยะเร่งด่วน ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา โดยล่าสุดก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา คือช่วงกลางดง-ปางอโศก และยังมีช่วงกรุงเทพฯ - พิษณุโลก และช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ส่วนระยะกลาง และระยะยาว อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียดโครงการ
ส่วนการส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก และนำความเจริญเข้าสู่พื้นที่ EEC ในเส้นทาง การรถไฟฯได้ดำเนินการ “โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน” เป็นการเชื่อมโยงระหว่างท่าอากาศยานหลักของประเทศ ช่วงดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา - ระยอง
ในช่วงที่ผ่านมาการเปิดให้บริการ “สถานีกลางบางซื่อ” จึงเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมทุกรูปแบบ ทั้งทางบก ทางราง และทางอากาศนับเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ในการเดินทางของประชาชน ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ทั้งขบวนรถไฟทางไกล รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง รถไฟนำเที่ยวในวันหยุด โครงการรถไฟทางคู่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนารูปแบบการเดินทางระบบรางไปสู่อนาคต
สถานีกลางบางซื่อ ถือเป็นศูนย์กลางการเดินทางที่ทันสมัย มีศักยภาพเทียบเท่าสถานีรถไฟชั้นนำของโลก เป็นสถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของไทย ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางระบบรางที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย ด้วยการใช้หลักอารยสถาปัตย์ หรือ Universal Design ทั้งในบริเวณสถานีและตู้โดยสารรถไฟ ให้ผู้โดยสารทุกคนใช้บริการได้อย่างสะดวก ปลอดภัย ทันสมัย และเท่าเทียม มีการนำเทคโนโลยี 5G เต็มรูปแบบมาพัฒนาให้เป็นสถานีอัจฉริยะ ยกระดับคุณภาพในการให้บริการขนส่งผู้โดยสารที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชานเมือง ให้สามารถเดินทางสู่ใจกลางกรุงเทพด้วยระบบรางที่ สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และยังเป็นการป้อนผู้โดยสารเข้าสู่โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอื่นในเขตกรุงเทพมหานคร ช่วยแก้ไขปัญหารถติดบนท้องถนน
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันสามารถเห็นรูปแบบการเดินทางระบบรางทั้งในเมืองและนอกเมืองที่เปลี่ยนไป อาทิ การเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ช่วยแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดและลดระยะเวลาในการเดินทางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยใช้เวลาเดินทางจากสถานีกลางบางซื่อถึงสถานีรังสิตเพียง 25 นาที และจากสถานีกลางบางซื่อถึงสถานีตลิ่งชัน เพียง 15 นาที อัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 12-42 บาท เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อการก่อสร้างรถไฟทางคู่โครงข่ายรถไฟทั้งทางไกล รถไฟความเร็วสูง โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ขยายเส้นทางครอบคลุมทุกพื้นที่ของไทยแล้ว นอกจากจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย ยังช่วยลดระยะเวลาในการเดินทาง ช่วยสร้างโอกาสพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวให้กับชุมชน เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งสินค้า ยกระดับให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ของภูมิภาคได้ในอนาคต
สามารถคลิ๊กเข้าไปดูได้ที่ https://youtu.be/cOctBVuMvn8
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น