กระทรวงวัฒนธรรม ลงนามบันทึกข้อตกลงกับ 7 องค์กรเอกชนเพื่อร่วมกันส่งเสริมตลาดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย พร้อมเดินหน้าสานต่อโครงการและขยายไลน์ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ชุมชนสร้างรายได้อย่างยั่งยืน หลังบรรลุเป้าหมายงาน CCPOT GRAND EXPOSITION ผลตอบรับดีเกินคาด สร้างมูลค่าการค้าสูงถึง 600 ล้านเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2565 นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานแถลงข่าวผลการดำเนินงาน “โครงการกระตุ้นและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย” (CCPOT) สู่สากล และพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย โดยมีนายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหาร องค์กรเอกชน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ผู้แทนชุมชนวัฒนธรรมและสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ ห้องแกลเลอรี่ 5 ชั้น 1 หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยว่า โครงการกระตุ้นและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย โดยดำเนินโครงการงานแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย CCPOT GRAND EXPOSITION ที่จัดไปเมื่อวันที่ 16-20 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งผลของการจัดงานดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เกิดการเจรจาธุรกิจมากกว่า 260 คู่ สามารถสร้างมูลค่าการค้าได้กว่า 600 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าที่เกิดขึ้นนี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับมหภาค นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรมยังได้รับการสนับสนุนจากองค์กรเอกชนรายใหญ่มาช่วยต่อยอดขยายตลาดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชน ทำให้ชุมชนมีงานทำ มีรายได้ เศรษฐกิจชุมชนสามารถดำรงต่อไปได้อย่างยั่งยืน นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีของกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.)ที่ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ 7 องค์กรเอกชนที่จะร่วมกันส่งเสริมตลาดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทยให้สัมฤทธิ์ผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยความร่วมมือหลักที่จะดำเนินการร่วมกันจะอยู่ในกรอบระยะเวลา 3 ปี ได้แก่ การส่งเสริมกิจกรรมความรู้พัฒนาศักยภาพตลาดและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายรวมถึงความร่วมมือกันเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทยให้เป็นที่รู้จักผ่านสื่อในช่องทางต่างๆ และสนับสนุนพื้นที่จัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งในและต่างประเทศ สำหรับความร่วมมือดังกล่าวกระทรวงวัฒนธรรมและองค์กรเอกชนจะร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหา/อุปสรรค เพื่อร่วมกันผลักดันให้โครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ให้โครงการนี้เป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนต่อไป
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อว่า จากการหารือกับ 7 องค์กรเอกชน เบื้องต้นได้รับคำแนะนำว่าผลิตภันฑ์วัฒธรรมชุมชนไทยกำลังเป็นที่จับตามองจากตลาดต่างประเทศ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์หัตถศิลป์ที่หาได้ยากเป็นงานฝีมือที่มีคุณค่า ซึ่งภาคเอกชนมีความสนใจและต้องการที่จะซื้อผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทยเป็นจำนวนมาก เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคนำไปจำหน่ายในช่องทางการตลาดของตนเองที่เป็นการตลาดที่จำหน่ายสินค้าในพื้นที่จริง (offline) และ ตลาดออนไลน์ (online) โดยเน้นว่าผลิตภัณฑ์จะต้องมีเรื่องเล่าทางวัฒนธรรมและแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของชุมชน สำหรับองค์กรเอกชนทั้ง 7 หน่วยงานที่ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงกับทางกระทรวงวัฒนธรรมในวันนี้ ได้แก่
1. สมาคมการค้าส่งเสริมหัตถกรรมไทย (THTA) และสมาคมส่งเสริมและพัฒนาหัตถกรรมอาเซียน (AHPADA)
2. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมหัตถกรรมสร้างสรรค์ (Creative Craft Industry Club)
3. สมาคมการค้าเพื่อความยั่งยืนของเกษตรกร (CASA Association) สนับสนุนสินค้าจากผู้ประกอบการเพื่อขยายตลาดสู่ประเทศจีน
4. Thai Pavilion Corporate Co., Ltd. ตัวแทนการค้ารายใหญ่ เพื่อนำสินค้าไทยไปจำหน่ายในประเทศจีน ในหลากหลายช่องทางร่วมถึงสนามบิน
5. บริษัท เจียเม้งมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ดำเนินการร้านใบเมี่ยง ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพรายใหญ่
6. บริษัท บางกอก อินสตรูเม้นท์ เซ็นเตอร์ จำกัด ดำเนินธุรกิจนำสินค้าจากผู้ประกอบการเข้าสู่ห้างค้าปลีกทั้งในและต่างประเทศ
7. บริษัท ครีเอทีฟ สเปซชิพ จำกัด บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์ในประเทศจีนและฮ่องกงมากกว่า 10 ปี อาทิ ALIBABA.COM TMALL.COM TAOBAO WEIBO.COM GOOD ROUGTHER
“ความสำเร็จในครั้งนี้ เป็นเพียงก้าวแรกของการดำเนินงานในโครงการกระตุ้นและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทยสู่สากล นับจากนี้ต่อไปกระทรวงวัฒนธรรมยังมีแผนที่จะขยายไลน์ของกลุ่มผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนจากที่ทำอยู่ในปัจจุบันในกลุ่ม ผ้าทอ งานจักสาน ของที่ระลึก งานหัตถกรรม อาหารแปรรูปต่างๆ จะขยายไปสู่ไลน์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงการสานต่อความร่วมมือกับภาคเอกชนรายใหญ่อื่นๆ เพื่อส่งเสริมช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการฐานราก ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการดำเนินการตามนโยบายการนำวัฒนธรรมมาสร้างเศรษฐกิจด้วยการพัฒนายกระดับสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่อุตสาหกรรมวัฒนธรรม และขยายตลาดสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมทั้งในและต่างประเทศ และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมและทรัพย์สินทางปัญญาบนหลักการของโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG นั่นเอง” รมว.วธ. กล่าว
ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองเศรษฐกิจวัฒนธรรม โทร. 02 209 3597 หรือ 02 209 3599 สายด่วนวัฒนธรรม 1765
1. สมาคมการค้าส่งเสริมหัตถกรรมไทย (THTA) และสมาคมส่งเสริมและพัฒนาหัตถกรรมอาเซียน (AHPADA)
2. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมหัตถกรรมสร้างสรรค์ (Creative Craft Industry Club)
3. สมาคมการค้าเพื่อความยั่งยืนของเกษตรกร (CASA Association) สนับสนุนสินค้าจากผู้ประกอบการเพื่อขยายตลาดสู่ประเทศจีน
4. Thai Pavilion Corporate Co., Ltd. ตัวแทนการค้ารายใหญ่ เพื่อนำสินค้าไทยไปจำหน่ายในประเทศจีน ในหลากหลายช่องทางร่วมถึงสนามบิน
5. บริษัท เจียเม้งมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ดำเนินการร้านใบเมี่ยง ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพรายใหญ่
6. บริษัท บางกอก อินสตรูเม้นท์ เซ็นเตอร์ จำกัด ดำเนินธุรกิจนำสินค้าจากผู้ประกอบการเข้าสู่ห้างค้าปลีกทั้งในและต่างประเทศ
7. บริษัท ครีเอทีฟ สเปซชิพ จำกัด บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์ในประเทศจีนและฮ่องกงมากกว่า 10 ปี อาทิ ALIBABA.COM TMALL.COM TAOBAO WEIBO.COM GOOD ROUGTHER
“ความสำเร็จในครั้งนี้ เป็นเพียงก้าวแรกของการดำเนินงานในโครงการกระตุ้นและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทยสู่สากล นับจากนี้ต่อไปกระทรวงวัฒนธรรมยังมีแผนที่จะขยายไลน์ของกลุ่มผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนจากที่ทำอยู่ในปัจจุบันในกลุ่ม ผ้าทอ งานจักสาน ของที่ระลึก งานหัตถกรรม อาหารแปรรูปต่างๆ จะขยายไปสู่ไลน์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงการสานต่อความร่วมมือกับภาคเอกชนรายใหญ่อื่นๆ เพื่อส่งเสริมช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการฐานราก ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการดำเนินการตามนโยบายการนำวัฒนธรรมมาสร้างเศรษฐกิจด้วยการพัฒนายกระดับสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่อุตสาหกรรมวัฒนธรรม และขยายตลาดสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมทั้งในและต่างประเทศ และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมและทรัพย์สินทางปัญญาบนหลักการของโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG นั่นเอง” รมว.วธ. กล่าว
ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองเศรษฐกิจวัฒนธรรม โทร. 02 209 3597 หรือ 02 209 3599 สายด่วนวัฒนธรรม 1765
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น