ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ร่วมกับ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย Thai Institute of Directors (IOD) เปิดเวทีสัมมนา “บทบาทหน้าที่ของกรรมการบริษัท ภายใต้บริบทของโลกที่เปลี่ยนไป” ในรูปแบบสัมมนา Online ผ่านแพลตฟอร์ม Event Pop และเผยแพร่ผ่าน Facebook สำนักงาน คปภ. เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้ โดยในงานสัมมนา ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก คือ 1.กิจกรรมเสวนาความร่วมมือทางวิชาการด้านการประกันภัยในหัวข้อ “บทบาทของ คปภ. และ IOD ในเรื่องการกำกับดูแลกิจการและความร่วมมือ
ในการพัฒนาและจัดอบรมหลักสูตรสำหรับกรรมการ” และ 2. กิจกรรมเสวนา เรื่อง “CG และความยั่งยืนในสายงานประกันภัย” โดยมี นายกุลเวช เจนวัฒนวิทย์ กรรมการผู้อำนวยการ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการและกรรมการธนาคารออมสิน กรรมการและกรรมการบริหาร บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด และกรรมการ บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) และนายกสมาคมประกันชีวิตไทย ดร. อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) และมี ดร. วิทย์ สิทธิเวคิน เป็นผู้ดำเนินการเสวนา
การจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสนับสนุนองค์ความรู้ที่สำคัญและจำเป็นให้แก่กรรมการ รวมถึงผู้บริหารของบริษัทประกันภัย ที่มีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจประกันภัยให้มั่นคงต่อเนื่อง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วดังเช่นในปัจจุบัน ตลอดจนพร้อมรับมือกับความท้าทายภายใต้บริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป จากความผันผวน ไม่แน่นอน ปัจจัยมากมายที่ซับซ้อน และคาดเดาผลที่จะเกิดขึ้นได้ยาก นอกจากนี้ การสัมมนานี้ ยังเป็นเวทีที่ให้ตัวแทนจากบริษัทประกันภัยได้ร่วมกันเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น/ประสบการณ์เกี่ยวกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้คือ การส่งเสริมความเชื่อมั่นของประชาชนในธุรกิจประกันภัย โดยสะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และความพร้อมในการปรับตัว ของผู้นำด้านการประกันภัย เพื่อพัฒนาธุรกิจประกันภัยให้มีความแข็งแกร่ง รับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เลขาธิการ คปภ. ได้กล่าวเปิดงานสัมมนามีความสำคัญตอนหนึ่งว่า การสร้างองค์กรให้เป็น Enterprise Resilience ถือว่าเป็นอีกกุญแจสำคัญที่จะนำพาให้องค์กรสามารถผ่านวิกฤตการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบันนี้ไปได้ ดังจะเห็นได้จากในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 บางบริษัทสามารถตอบสนองต่อความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นได้อย่างทันท่วงที โดยเพิ่มบทบาทการทำงานของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงให้มีความระมัดระวังและประเมินความเสี่ยงอย่างรัดกุมมากขึ้น หากต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการรับประกันภัยที่คาดการณ์ไม่ได้ ก็มีการใช้กลไกเรื่องประกันภัยต่อเข้ามาช่วย เพื่อลดผลกระทบต่อฐานะการเงินของบริษัท สำหรับในมุมของผู้เอาประกันภัยและผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทก็ควรมองให้รอบด้าน ทั้งในแง่กฎระเบียบที่ต้องปฏิบัตินอกเหนือจากกฎหมายว่าด้วยการประกันภัย อาทิ กฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และพ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ และที่สำคัญที่สุดคือเรื่องความน่าเชื่อถือขององค์กร ซึ่งหากประชาชนหมดความเชื่อถือไปแล้ว ก็ยากที่จะเรียกกลับคืนมาได้
การจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสนับสนุนองค์ความรู้ที่สำคัญและจำเป็นให้แก่กรรมการ รวมถึงผู้บริหารของบริษัทประกันภัย ที่มีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจประกันภัยให้มั่นคงต่อเนื่อง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วดังเช่นในปัจจุบัน ตลอดจนพร้อมรับมือกับความท้าทายภายใต้บริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป จากความผันผวน ไม่แน่นอน ปัจจัยมากมายที่ซับซ้อน และคาดเดาผลที่จะเกิดขึ้นได้ยาก นอกจากนี้ การสัมมนานี้ ยังเป็นเวทีที่ให้ตัวแทนจากบริษัทประกันภัยได้ร่วมกันเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น/ประสบการณ์เกี่ยวกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้คือ การส่งเสริมความเชื่อมั่นของประชาชนในธุรกิจประกันภัย โดยสะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และความพร้อมในการปรับตัว ของผู้นำด้านการประกันภัย เพื่อพัฒนาธุรกิจประกันภัยให้มีความแข็งแกร่ง รับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เลขาธิการ คปภ. ได้กล่าวเปิดงานสัมมนามีความสำคัญตอนหนึ่งว่า การสร้างองค์กรให้เป็น Enterprise Resilience ถือว่าเป็นอีกกุญแจสำคัญที่จะนำพาให้องค์กรสามารถผ่านวิกฤตการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบันนี้ไปได้ ดังจะเห็นได้จากในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 บางบริษัทสามารถตอบสนองต่อความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นได้อย่างทันท่วงที โดยเพิ่มบทบาทการทำงานของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงให้มีความระมัดระวังและประเมินความเสี่ยงอย่างรัดกุมมากขึ้น หากต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการรับประกันภัยที่คาดการณ์ไม่ได้ ก็มีการใช้กลไกเรื่องประกันภัยต่อเข้ามาช่วย เพื่อลดผลกระทบต่อฐานะการเงินของบริษัท สำหรับในมุมของผู้เอาประกันภัยและผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทก็ควรมองให้รอบด้าน ทั้งในแง่กฎระเบียบที่ต้องปฏิบัตินอกเหนือจากกฎหมายว่าด้วยการประกันภัย อาทิ กฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และพ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ และที่สำคัญที่สุดคือเรื่องความน่าเชื่อถือขององค์กร ซึ่งหากประชาชนหมดความเชื่อถือไปแล้ว ก็ยากที่จะเรียกกลับคืนมาได้
ดังจะเห็นได้จากกรณีการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิดแบบเจอ-จ่าย-จบ ซึ่งสร้างผลกระทบด้านความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อธุรกิจประกันภัยอย่างมาก ทำให้ประชาชนมีข้อสงสัยว่ากรมธรรม์ประกันภัยที่ถืออยู่อาจจะโดนบอกเลิกได้ตลอดเวลาใช่หรือไม่ ความเสี่ยงที่ฝากให้บริษัทประกันภัยช่วยดูแลจะยังมีความน่าเชื่อถืออยู่อีกหรือไม่
ซึ่งความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้สามารถป้องกันและลดทอนผลกระทบได้ถ้าหากคณะกรรมการของบริษัทประกันภัยมีความตระหนักในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะเป็นผู้กำกับดูแลและบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัท โดยยึดหลักปฏิบัติภายใต้กรอบการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance : CG)
เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า บทบาทของคณะกรรมการของบริษัทประกันภัยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีความท้าทายต่อ คณะกรรมการบริษัทประกันภัยที่จะต้องทำหน้าที่อย่างเข็มแข็งและเข้มข้นยิ่งขึ้น และต้องอาศัยผู้มีความรู้และประสบการณ์ที่มีความหลากหลาย ดังนั้น ในปี 2563 สำนักงาน คปภ. จึงมีแนวคิดในการจัดทำหลักสูตรเฉพาะสำหรับคณะกรรมการบริษัท และกรรมการชุดย่อย รวมถึงผู้บริหารของบริษัทประกันภัย (Corporate Governance Program for Insurance Companies) หรือเรียกสั้นๆ ว่า CIC ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการของธุรกิจประกันภัย ความสำคัญและบทบาทหน้าที่ของกรรมการในการกำกับดูแลองค์กร การกำกับดูแลความเสี่ยงและเข้าใจในปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญต่อการประกอบธุรกิจประกันภัย ตลอดจนแนวทางการกำกับดูแลความมั่นคงและพฤติกรรมทางการตลาด ซึ่งเป็นการพัฒนาหลักสูตรร่วมกันระหว่างสำนักงาน คปภ. และสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
“การสัมมนาครั้งนี้ นอกจากเป็นเวทีที่ให้กรรมการและผู้บริหารบริษัทประกันภัยได้ร่วมกันเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นประสบการณ์เกี่ยวกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในเชิงวิชาการแล้ว ยังจะเป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาจากภาคธุรกิจประกันภัยได้รับองค์ความรู้ที่สำคัญ จำเป็น และเสริมสร้างมุมมองในเรื่องการกำกับดูแลกิจการของธุรกิจประกันภัยในสภาวการณ์ปัจจุบันแล้ว ยังนำไปปรับใช้ในการพัฒนาองค์กรให้สามารถเผชิญกับบริบทของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น