ศบค.เคาะ 69 จังหวัดสีส้ม ห้ามดื่มสุรา 8 พื้นที่ท่องเที่ยว ไม่เกิน 3 ทุ่ม - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2565

ศบค.เคาะ 69 จังหวัดสีส้ม ห้ามดื่มสุรา 8 พื้นที่ท่องเที่ยว ไม่เกิน 3 ทุ่ม


ศบค.ชุดใหญ่ ปรับโซนสีส้ม เพิ่ม 30 จังหวัด รวม 69 จังหวัด ห้ามดื่มสุราในร้าน 8 จังหวัดพื้นที่นำร่องดื่มได้ไม่เกิน 3 ทุ่ม

วันที่ 7 มกราคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.ครั้งที่ 1/2565 (ผ่านระบบ Video Conference) ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล โดยที่ประชุม ศบค.เห็นชอบปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ โดยเพิ่มจังหวัดพื้นที่ควบคุม (สีส้ม) จาก 39 จังหวัด เป็น 69 จังหวัด


โดยจังหวัดที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่ 1.ขอนแก่น 2.จันทบุรี 3.เชียงราย 4.เชียงใหม่ 5.ตราด 6.นครราชสีมา 7.บุรีรัมย์ 8.ประจวบคีรีขันธ์ 9.พระนครศรีอยุธยา 10.เพชรบุรี 11.ระนอง 12.ระยอง 13.เลย 14.สมุทรปราการ 15.สุราษฎร์ธานี 16.สุรินทร์ 17.หนองคาย 18.อุดรธานี 19.กาฬสินธุ์ 20.กำแพงเพชร 21.ฉะเชิงเทรา 22.ชุมพร 23.ชัยนาท 24.ชัยภูมิ 25.ตรัง 26.ตาก 27.นครนายก 28.นครปฐม 29.นครพนม 30.นครศรีธรรมราช 31.นครสวรรค์ 32.นราธิวาส 33.น่าน 34.ปราจีนบุรี 35.ปัตตานี 36.บึงกาฬ 37.พะเยา 38.พัทลุง 39.พิจิตร 40.พิษณุโลก 41.เพชรบูรณ์ 42.แพร่ 43.มหาสารคาม 44.มุกดาหาร 45.แม่ฮ่องสอน 46.ยโสธร 47.ยะลา 48.ร้อยเอ็ด 49.ราชบุรี


50.ลพบุรี 51.ลำปาง 52.ลำพูน 53.ศรีสะเกษ 54.สกลนคร 55.สงขลา 56.สตูล 57.สมุทรสงคราม 58.สมุทรสาคร 59.สระแก้ว 60.สระบุรี 61.สิงห์บุรี 62.สุโขทัย 63.สุพรรณบุรี 64.หนองบัวลำภู 65.อ่างทอง 66.อำนาจเจริญ 67.อุตรดิตถ์ 68.อุทัยธานี และ 69.อุบลราชธานี

ทั้งนี้ สามารถบริโภคในร้านอาหารได้และเปิดได้ตามปกติ แต่ห้ามการบริโภคสุราและเครื่องดื่มแองกอฮอล์ในร้าน

ขณะเดียวกันได้ปรับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด -19 ให้ 1.ขยายระยะเวลา work from home ออกไปอีก 14 วัน แต่ต้องไม่กระทบต่อบริการประชาชน และการดำเนินงานขององค์กร

2.สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ให้เปิดในรูปแบบร้านอาหาร โดยต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. ก่อนวันที่ 15 มกราคม 2565 และเริ่มเปิด วันที่ 16 มกราคม 2565

3.ปรับมาตรการในพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดกระบี่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต บริโภคสุราในร้านอาหารไม่เกิน 21.00 น. และต้องเป็นร้านอาหารที่ผ่าน SHA+ หรือ Thai Stop COVID 2 Plus เท่านั้น


ขณะเดียวกันเห็นชอบปรับมาตรการป้องกันโรคสำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักร ดังนี้

1.ยกเลิกการกำหนดกลุ่มประเทศเสี่ยงในการเข้าราชอาณาจักร คือ ประเทศในทวีปแอฟริกาทั้งหมด (รวม 8 ประเทศในทวีปแอฟริกา) สามารถเข้ามาได้เหมือนประเทศอื่น ๆ แต่ให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดแต่ละรูปแบบ ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2565

ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอนลามไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย หลายประเทศประกาศยกเลิกการจำกัดการเดินทางจากนานาประเทศ

2. เปิดรับผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรในพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว 3 จังหวัด/พื้นที่ ได้แก่ สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า) พังงา และกระบี่ (ทั้งจังหวัด) ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2565 โดยผู้เดินทางต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด (ค่าที่พัก 7 วัน และค่าตรวจ RT-PCR จำนวน 2 ครั้ง)


3. พื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว 26 จังหวัด/พื้นที่ ยังดำเนินการเป็นพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว โดยใช้มาตรการป้องกันควบคุมโรคเช่นเดียวกับพื้นที่เฝ้าระวัง แต่เพิ่มมาตรการการบริโภคสุราในร้านอาหาร และเลื่อนการเปิดการดำเนินการพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยวในระยะที่ 3 จำนวน 5 จังหวัด/พื้นที่ ได้แก่

ตราด (คลองใหญ่)

สระแก้ว (เมือง อรัญประเทศ)

มุกดาหาร (เมือง)

บึงกาฬ

อุบลราชธานี (เมือง สิรินธร)

4. ระงับการลงทะเบียนเข้าราชอาณาจักรในรูปแบบ Test and Go ออกไปก่อน จะมีการประเมินสถานการณ์และพิจารณาอีกครั้ง

อาจเกิดผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและการเดินทางของผู้ที่พำนักในประเทศไทยแล้วเดินทางไปต่างประเทศ ทั้งนี้ ต่างประเทศมีการยกเลิกเที่ยวบิน และการเดินทางเช่นเดียวกัน

5. ระงับการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรในรูปแบบ Test & Go สำหรับผู้ที่ได้รับอนุมัติเดินทางเข้ามาภายหลัง 15 มกราคม 2565

ข้อมูล จำนวนผู้เดินทางที่คงค้างทั้งหมดที่ได้รับอนุมัติแล้ว = T&G – 82,853 / SB – 25,917 จำแนกตามเดือน ดังนี้ เดือนมกราคม 2565 แบ่งออกเป็น วันที่ 7 ม.ค.65 – 15 ม.ค.65 T&G – 34,801 / SB – 21,6711 วันที่ 16 ม.ค.65-31 ม.ค.65 T&G – 16,364 / SB – 9,931 เดือนกุมภาพันธ์ 2565 T&G – 3,757 / SB – 700 และเดือนมีนาคม 2565 T&G – 468 / SB – 49

ทั้งนี้ จำนวนผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรจริง ประมาณ 30% ของผู้ได้รับอนุมัติทั้งหมด 7 ม.ค.65-15 ม.ค.65 ประมาณ 10,440 คน

ผลกระทบ จำนวนที่คงค้างการเข้าราชอาณาจักรกลางเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม 2565 คงเหลือจำนวนน้อย และหลายประเทศยกเลิกเที่ยวบินเอง หรือผู้เดินทางยกเลิกเอง ทำให้จำนวนที่เข้ามาจริงจะลดลงอีก

ทั้งนี้ อาจเกิดผลกระทบต่อชื่อเสียง/ภาพลักษณ์ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น สายการบิน ผู้เดินทาง ผู้ประกอบการ แรงงานที่ได้รับการจ้างงานอาจถูกเลิกจ้าง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น