เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565 เวลา 10.00 น. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้มอบหมายให้ ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ ครั้งที่ 1/2565 จัดโดยกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยมีนายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ นายเกิดโชค เกษมวงศ์จิตร รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ นางสาวจิฬาภรณ์ ตามชู กฤษณสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา นางเปรมยุดา ตันติกนกพร ผู้อำนวยการกองพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ และนางสาวนรีลักษณ์ แพไชยภูมิ ผู้อำนวยการกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมฯ ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม 10-11 และผ่าน Application Cisco Webex Meeting กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
การประชุมในวันนี้ ได้มีการรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ และอนุกรรมการฯ ประจำปี 2565 4 การรายงานความคืบหน้าการผลักดันร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... การพิจารณาแบบฟอร์มการรับเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและกรณีถูกบังคับให้หายสาบสูญ (ฉบับปรับปรุงใหม่) และการพิจารณาข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือ คำสั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัวเพื่อให้รับสารภาพ
ในการนี้ คณะกรรมการฯ ได้มีมติรับทราบผลการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ และคณะอนุกรรมการฯ อีกทั้งเห็นชอบและมอบหมายให้กรมสอบสวนคดีพิเศษปรับแก้แบบฟอร์มการรับเรื่องราวร้องทุกข์ฯ ตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมฯ รวมทั้งเห็นชอบและมอบหมายให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ ประมวลผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี รวมทั้งมอบหมายคณะอนุกรรมการป้องกันฯ พิจารณาศึกษาแนวทางป้องกันการทรมาน และกำหนดแนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นมาตรฐานการดำเนินงานให้กับทุกหน่วยงานต่อไป
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นั่งทบทวนงานพบสถิติผู้ต้องขังหลบหนีไตรมาสแรกมากถึง 19 ครั้ง 76 คน พบหนีจากห้องกักโควิด
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นั่งทบทวนงานพบสถิติผู้ต้องขังหลบหนีไตรมาสแรกมากถึง 19 ครั้ง 76 คน พบหนีจากห้องกักโควิด สั่งราชทัณฑ์เร่งแก้ไขเวรยามปรับปรุงห้องกักโรคให้แข็งแรง ชี้อย่าให้เกิดหลบหนีแล้วมีการทำร้ายเจ้าหน้าที่-ชาวบ้าน ผู้บริหารต้องถูกลงโทษห
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ตนได้มีโอกาสนั่งทบทวนงานในช่วงไตรมาสแรกระหว่างเดือนตุลาคม 2564 - มกราคม 2565 มีหลายเรื่อง ซึ่งได้พบสถิติที่น่าสนใจ คือ ปัญหาการหลบหนีของผู้ต้องขัง ซึ่งในช่วงไตรมาสแรกมีทั้งหมด 19 ครั้ง ผู้ต้องขังหลบหนี 76 คน ซึ่งกรมราชทัณฑ์ได้ติดตามจับกุมตัวได้ทั้งหมดและทำได้อย่างรวดเร็ว จากข้อมูลพบว่าเป็นการหลบหนีจากการกักโรคโควิด-19 และโรงพยาบาล โดยไม่ได้เป็นการหลบหนีจากเรือนจำ จึงขอชี้แจงว่า การหลบหนีนั้นเพราะที่กักโรคนอกเรือนจำซึ่งมีปัจจัยจากลักษณะทางกายภาพของสถานที่ที่ใช้ในการกักตัวผู้ต้องขังเป็นโครงสร้างที่ไม่มีความมั่นคงแข็งแรง อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ และผู้ต้องขังเข้าใหม่บางส่วนเป็นผู้ต้องขังที่มีกำหนดอัตราโทษสูง การนำตัวผู้ต้องขังกักโรคภายนอกเรือนจำจึงมีความเสี่ยง
นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับแนวทางการแก้ไข ในระยะสั้น จะมีการนำตัวผู้ต้องขังรับใหม่เข้าไปกักตัวในห้องกักโรคภายในเรือนจำ ปรับปรุงห้องกักโรคที่หน้าเรือนจำ ในส่วนที่เป็นเรือนจำโครงสร้างเบาและสถานตรวจพิสูจน์ ให้มั่นคงแข็งแรง ส่วนในระยะยาว กรมราชทัณฑ์ต้องจัดระบบเรือนจำ โดยอาจกำหนดให้มีเรือนจำหรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อทำหน้าที่ในการรับตัวผู้ต้องขังเป็นการเฉพาะ ทั้งนี้เวลาแก้ปัญหาเราต้องแก้ที่ต้นเหตุ หากแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเราก็ต้องมานั่งแก้ตลอดเวลา ปัญหาก็ไม่จบ
"ผมขอกำชับผู้บริหารระดับสูงทุกคน ต้องแก้ปัญหานี้อย่าให้เกิดเรื่องในลักษณะนี้ เพราะสถิตินั้นถือว่าสูงมากเพียงไตรมาสเดียวก็สูงกว่าสถิติของปีก่อน และผมไม่อยากให้มีการหลบหนีแล้วมีการยึดแดนทำร้ายนักโทษหญิง หรือออกไปทำร้ายเจ้าหน้าที่หรือชาวบ้าน ผมไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ หากเกิดขึ้นจะเอาเรื่องให้ถึงที่สุด ทุกเรือนจำต้องเตรียมความพร้อมรับมือ เพราะโควิด-19 ยังอยู่กับเราอีกนาน ดังนั้นเรื่องของสถานที่ต้องปรับปรุงให้มั่นคงแข็งแรงและจัดเวรยามให้เพียงพอ หากยังขาดงบประมาณในส่วนใดก็ให้รีบทำเรื่องเข้ามา" นายสมศักดิ์ กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น