ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.64 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรับทราบว่า “โนรา” หรือ “มโนราห์” (Nora) ศาสตร์การรำของไทย ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียน จากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นมรดกโลกด้านภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) โดยนายกฯ ยินดีและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่วัฒนธรรมของไทยที่มีความโดดเด่น ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ แสดงให้เห็นว่า ศิลปวัฒนธรรมไทยที่มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์ สวยงาม และเป็นที่น่าชื่นชม ทั้งนี้ รัฐบาลกำหนดนโยบายการสร้างความมั่นคงและความยั่งยืนทางมรดกทางวัฒนธรรม สร้างศักยภาพและความแข็งแกร่งให้กับการนำเสนอด้าน Soft Power ของไทย รวมทั้งจะเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน ตลอดจนสามารถต่อยอดไปสู่การส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศ
โฆษกรัฐบาล กล่าวว่า องค์การ UNESCO ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “โนรา” (Nora, Dance Drama in Southern Thailand) ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านทางภาคใต้ของไทย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564 จากมติที่ประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลตามภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ สมัยสามัญครั้งที่ 16 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยโนรามีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ 5 ข้อของการขึ้นทะเบียน ได้แก่ (1.) มรดกสอดคล้องกับลักษณะของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ตามที่นิยามไว้ในอนุสัญญาฯ มาตรา 2 (2.) สามารถส่งเสริมความประจักษ์และตระหนักรู้ถึงความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อสะท้อนถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในระดับโลก และแสดงถึงความสร้างสรรค์ของมนุษยชาติ (3.) มาตรการสงวนรักษาได้รับการพิจาณาอย่างรอบคอบเพื่อปกป้องและส่งเสริมมรดกนั้น (4.) ชุมชน กลุ่มคน และปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในการนำเสนอ และ (5.) อยู่ในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของประเทศผู้นำเสนอ
นอกจากนี้ องค์การ UNESCO ยังระบุเพิ่มเติมว่า โนราถือเป็นแนวปฏิบัติของชุมชนที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมและสังคมอย่างลึกซึ้งสำหรับคนภาคใต้ของประเทศไทยที่มีอายุกว่า 500 ปี ผ่านการแสดงรำที่ใช้ภาษาถิ่น ดนตรี และวรรณกรรม เพื่อเสริมสร้างชีวิตทางวัฒนธรรมและความผูกพันทางสังคมในชุมชนท้องถิ่น ซึ่งได้รับการเผยแพร่และสานต่อในชุมชน งานวัดและกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่าง ๆ และถ่ายทอดผ่านการฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญในชุมชน และสถาบันการศึกษา ทั้งนี้ การขึ้นทะเบียนดังกล่าวส่งผลให้ปัจจุบันไทยมีมรดกโลกด้านภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแล้วทั้งหมด 3 ชิ้น ได้แก่ 1. โขน 2. นวดไทย 3. รำโนรา
โฆษกรัฐบาลกล่าวว่า นับเป็นความยินดีที่วัฒนธรรมไทยจะสามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศ และสามารถดึงดูดให้ทั้งชาวต่างชาติและคนไทยด้วยกันหันมาสนใจศิลปวัฒนธรรมไทยมากขึ้น รวมทั้งยังช่วยสืบสานอนุรักษ์ “โนรา” การแสดงสำคัญของชาวใต้ยังคงอยู่ และได้รับการต่อยอดอย่างสร้างสรรค์แพร่หลาย รวมถึงมรดกของชาติอื่นๆ ทั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการขึ้นทะเบียน “โนรา” การแสดงที่ชาวใต้ภูมิใจ จะส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคใต้ผ่านการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และมีส่วนสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจภาคใต้ต่อไป
โฆษกรัฐบาลกล่าวว่า นับเป็นความยินดีที่วัฒนธรรมไทยจะสามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศ และสามารถดึงดูดให้ทั้งชาวต่างชาติและคนไทยด้วยกันหันมาสนใจศิลปวัฒนธรรมไทยมากขึ้น รวมทั้งยังช่วยสืบสานอนุรักษ์ “โนรา” การแสดงสำคัญของชาวใต้ยังคงอยู่ และได้รับการต่อยอดอย่างสร้างสรรค์แพร่หลาย รวมถึงมรดกของชาติอื่นๆ ทั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการขึ้นทะเบียน “โนรา” การแสดงที่ชาวใต้ภูมิใจ จะส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคใต้ผ่านการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และมีส่วนสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจภาคใต้ต่อไป
สำหรับ “โนรา” ศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ของไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ จากยูเนสโก นับเป็นมรดกทางภูมิปัญญาลำดับที่ 3 ต่อจากโขน และ นวดไทย ที่ได้ขึ้นทะเบียนดังกล่าว
ทั้งนี้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม เปิดเผยว่า องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ประกาศรับรองขึ้นทะเบียน “โนรา” (Nora) เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ นับเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของไทยลำดับที่ 3 ต่อจากโขน (พ.ศ.2561) และ นวดไทย (พ.ศ.2562) ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติจากยูเนสโก โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จะจัดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในวันที่ 16 ธ.ค. เวลา 13.00 น.
อย่างไรก็ตามใน สารคดีสั้นชุดทางช่องไทย PBS ระบุว่า “โนราภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน”เดิมนั้นใครที่จะเรียนโนราต้องเป็นสายตระกูลจึงจะมีโอกาส และต้องเรียนที่บ้านครูโนราเท่านั้น มาวันนี้โลกเปลี่ยนไป สถานศึกษาในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้จัดสอนศิลปะการแสดงพื้นบ้านโนราเป็นหลักสูตรท้องถิ่น และเป็นศิลปะการแสดงที่คนทั่วไปสนใจ สามารถเรียนรู้ได้ไม่จำกัดเฉพาะภาคใต้ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงโนราต้องปรับตัว จากเดิมอยู่ในโลกพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ สู่บทบาทเป็นมหรสพเพื่อความบันเทิง ก้าวสู่โลกภายนอกมีผู้ชมมากขึ้น ศิลปะการแสดงท้องถิ่นขึ้นบัญชีรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติในปี 2552 และในปี 2564 ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียน “โนรา” เป็นตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ โดยติดตามสารคดีสั้นชุด “โนราภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน” ได้อีกครั้งในรายการไทยบันเทิง
วันที่ 20 – 24 ธันวาคม เวลา 10:00 น.
อย่างไรก็ตามใน สารคดีสั้นชุดทางช่องไทย PBS ระบุว่า “โนราภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน”เดิมนั้นใครที่จะเรียนโนราต้องเป็นสายตระกูลจึงจะมีโอกาส และต้องเรียนที่บ้านครูโนราเท่านั้น มาวันนี้โลกเปลี่ยนไป สถานศึกษาในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้จัดสอนศิลปะการแสดงพื้นบ้านโนราเป็นหลักสูตรท้องถิ่น และเป็นศิลปะการแสดงที่คนทั่วไปสนใจ สามารถเรียนรู้ได้ไม่จำกัดเฉพาะภาคใต้ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงโนราต้องปรับตัว จากเดิมอยู่ในโลกพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ สู่บทบาทเป็นมหรสพเพื่อความบันเทิง ก้าวสู่โลกภายนอกมีผู้ชมมากขึ้น ศิลปะการแสดงท้องถิ่นขึ้นบัญชีรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติในปี 2552 และในปี 2564 ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียน “โนรา” เป็นตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ โดยติดตามสารคดีสั้นชุด “โนราภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน” ได้อีกครั้งในรายการไทยบันเทิง
วันที่ 20 – 24 ธันวาคม เวลา 10:00 น.
ภายหลังจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศรับรอง ขึ้นทะเบียน ‘โนรา’ (Nora, Dance Drama in Southern Thailand) เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา
จังหวัดพัทลุงซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของศิลปะวัฒนธรรม "โนราห์" ที่เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบัน ล่าสุดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ที่ผ่านมาชาวพัทลุงได้จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่หลังจากยูเนสโกประกาศให้ศาสตร์แขนง "โนรา" ขึ้นเป็นมรดกโลก อีกทั้งยังเตรียมงานยิ่งใหญ่ที่จัดขึ้นในปี 2565 เพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมสู่สายตาชาวโลกต่อไป
จังหวัดพัทลุงซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของศิลปะวัฒนธรรม "โนราห์" ที่เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบัน ล่าสุดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ที่ผ่านมาชาวพัทลุงได้จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่หลังจากยูเนสโกประกาศให้ศาสตร์แขนง "โนรา" ขึ้นเป็นมรดกโลก อีกทั้งยังเตรียมงานยิ่งใหญ่ที่จัดขึ้นในปี 2565 เพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมสู่สายตาชาวโลกต่อไป
อาจารย์จรูญ หยูทอง นักวิชาการอิสระผู้ซึ่งเป็นทั้งนักพูด นักคิด และนักเขียน ได้ให้ความเห็นหลังจากยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียน "โนราห์" หรือ "มโนราห์" ศิลปะการแสดงท้องถิ่น เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ว่า สิ่งที่มันเป็นมรดกของมวลมนุษยชาติในยุคโลกาภิวัฒน์มันทำให้คนหลงลืมคุณค่า หากมีใครที่เข้ามาศึกษาในเชิงวิการในเรื่องนี้ก็จะถูกมองว่าเป็นคนหัวอนุรักษ์ ล้าหลัง
ดังนั้นครั้งนี้ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่องค์การสหประชาชาติ หรือ UNESCO เนื่องจากมรดกโลกมีความหลากหลาย ก่อนหน้านี้เราจะพูดถึงมรดกโลกที่เป็นโบราณสถาน เช่น นครวัดนครธม อุทยานประวัติศาสตร์ อยุธยา และป่าไม้ เป็นต้น แต่ช่วงหลังก็ได้มีการมาเน้นในเรื่องของมรดกโลกที่เป็นภูมิปัญญา เรียกว่าเป็นมรดกโลกทางภูมิปัญญาทีจับต้องไม่ได้ คือมันเป็นนามธรรม แต่มันอยู่ในวิถีชีวิตด้วย
พร้อมกล่าวด้วยว่า "โนราห์" ถือเป็นศิลปะวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาที่จับต้องไม่ได้ ลำดับที่ 3 ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกได้จาก โขน อันดับที่สองคือ นวดแผนไทย เมื่อโนราห์ได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกก็มีคำถามกลับมาอีกว่า "แล้วหนังตะลุงขึ้นมรดกโลกได้ไหม" ซึ่งอาจารย์ก็ตอบว่า "สามารถขึ้นได้แต่ก็ต้องมีคนจัดการ
ดังนั้นครั้งนี้ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่องค์การสหประชาชาติ หรือ UNESCO เนื่องจากมรดกโลกมีความหลากหลาย ก่อนหน้านี้เราจะพูดถึงมรดกโลกที่เป็นโบราณสถาน เช่น นครวัดนครธม อุทยานประวัติศาสตร์ อยุธยา และป่าไม้ เป็นต้น แต่ช่วงหลังก็ได้มีการมาเน้นในเรื่องของมรดกโลกที่เป็นภูมิปัญญา เรียกว่าเป็นมรดกโลกทางภูมิปัญญาทีจับต้องไม่ได้ คือมันเป็นนามธรรม แต่มันอยู่ในวิถีชีวิตด้วย
พร้อมกล่าวด้วยว่า "โนราห์" ถือเป็นศิลปะวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาที่จับต้องไม่ได้ ลำดับที่ 3 ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกได้จาก โขน อันดับที่สองคือ นวดแผนไทย เมื่อโนราห์ได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกก็มีคำถามกลับมาอีกว่า "แล้วหนังตะลุงขึ้นมรดกโลกได้ไหม" ซึ่งอาจารย์ก็ตอบว่า "สามารถขึ้นได้แต่ก็ต้องมีคนจัดการ
"โนราห์" ถือเป็นความหวังของชาวพัทลุง อานิสงส์ของการประกาศให้โนราห์เป็นมรดกโลก จะทำให้คนรุ่นใหม่มีความสนใจที่จะรำมโนราห์กันอย่างคึกคัก มีกำลังใจ เพราะยูเนสโกคือระดับโลกถือเป็นการยอมรับในระดับสากล นั่นหมายถึงการเป็นมรดกของมนุษยชาติ ไม่ใช่มรดกของคนพัทลุง ไม่ใช่มรดกของคนใต้แต่มีความเป้นมาอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ และเมื่อได้รับการยกย่องเป็นมรดกโลกแล้ว จะทำให้คนที่เป็นเจ้าของมรดก ซึ่งคิดว่าในโลกนี้ไม่มีเผ่าพันธุ์ไหน หรือชาติพันธุ์ไหน ที่จะมีความลึกซึ้งเท่าเราเพราะโนราไม่ได้เป็นเพียงการแสดงเพื่อความบันเทิง แต่คือความเชื่อทั้งเรื่องครูหมอโนราห์ ตายายโนราห์ และเรื่องของการรักษาโรค ถือเป็นความเชื่อที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนใต้ในเรื่องของมโนราห์
โนรา (Nora) มีคุณสมบัติสมบูรณ์ตรงตามหลักเกณฑ์การพิจารณาของยูเนสโกกำหนด โดยมีความสอดคล้องกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมใน ๔ ลักษณะ ได้แก่ ธรรมเนียมและการแสดงออกทาง
มุขปาฐะ ศิลปะการแสดง การปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม งานเทศกาล และงานช่างฝีมือดั้งเดิม รวมทั้งเป็นศิลปะการแสดงที่ทุกเพศ ทุกวัย สามารถเข้าฝึกทักษะการแสดงได้ มีการไหว้ครูเป็นขนบจารีตที่สำคัญยิ่ง การขึ้นบัญชีโนรานี้จะส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่แสดงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง และทำให้เข้าใจถึงความคล้ายและความแตกต่างของมรดกภูมิปัญญาทั้งในและนอกภูมิภาค
'โนรา' หรือ 'มโนราห์' เป็นศิลปะการแสดงท้องถิ่นที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของคนภาคใต้มาช้านาน เป็นการแสดงที่มีแบบแผนในการร่ายรำและขับร้องที่งดงามเป็นเอกลักษณ์ฉพาะถิ่น มีดนตรีเป็นลูกคู่ เล่นรับ-ส่งตลอดการแสดง โดยผู้รำโนราจะสวมเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยลูกปัดหลากสี สวมปีกหางคล้ายนก เทริดทรงสูง ต่อเล็บยาวที่ทำด้วยโลหะ การแสดงโนราเป็นที่นิยมและถือปฏิบัติแพร่หลายในชุมชนรอบๆ ทะเลสาบสงขลา และยังได้รับความนิยมไปตลอดสองฟากฝั่งของคาบสมุทรอินโดจีน ทางตอนเหนือมีคณะโนราแสดงขึ้นไปถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนทางตอนใต้มีคณะโนราสองภาษา ที่ยังคงแสดงอยู่ในเขตสามจังหวัดภาคใต้และมีการแสดงของชุมชนไทย ในรัฐตอนเหนือของสหพันธรัฐมาเลเซีย ได้แก่ กลันตัน เกดาห์ ปะลิส และปีนัง
'โนรา' หรือ 'มโนราห์' เป็นศิลปะการแสดงท้องถิ่นที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของคนภาคใต้มาช้านาน เป็นการแสดงที่มีแบบแผนในการร่ายรำและขับร้องที่งดงามเป็นเอกลักษณ์ฉพาะถิ่น มีดนตรีเป็นลูกคู่ เล่นรับ-ส่งตลอดการแสดง โดยผู้รำโนราจะสวมเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยลูกปัดหลากสี สวมปีกหางคล้ายนก เทริดทรงสูง ต่อเล็บยาวที่ทำด้วยโลหะ การแสดงโนราเป็นที่นิยมและถือปฏิบัติแพร่หลายในชุมชนรอบๆ ทะเลสาบสงขลา และยังได้รับความนิยมไปตลอดสองฟากฝั่งของคาบสมุทรอินโดจีน ทางตอนเหนือมีคณะโนราแสดงขึ้นไปถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนทางตอนใต้มีคณะโนราสองภาษา ที่ยังคงแสดงอยู่ในเขตสามจังหวัดภาคใต้และมีการแสดงของชุมชนไทย ในรัฐตอนเหนือของสหพันธรัฐมาเลเซีย ได้แก่ กลันตัน เกดาห์ ปะลิส และปีนัง
การขึ้นทะเบียนตามอนุสัญญามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ของ UNESCO มีทั้งหมด 3 ประเภท คือ
1. บัญชีรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ (representative list of intangible cultural heritage of humankind)
2. รายการที่ต้องได้รับการสงวนรักษาอย่างเร่งด่วน (urgent list)
3. รายการมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการสงวนรักษา (good practice)
ซึ่ง “โนรา (Nora)” ประเทศไทยจัดอยู่ในประเภทแรก คือ มรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ คือ เป็นการแสดงที่มีการปฏิบัติสืบทอดอยู่ทั่วประเทศ
1. บัญชีรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ (representative list of intangible cultural heritage of humankind)
2. รายการที่ต้องได้รับการสงวนรักษาอย่างเร่งด่วน (urgent list)
3. รายการมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการสงวนรักษา (good practice)
ซึ่ง “โนรา (Nora)” ประเทศไทยจัดอยู่ในประเภทแรก คือ มรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ คือ เป็นการแสดงที่มีการปฏิบัติสืบทอดอยู่ทั่วประเทศ
การประกาศครั้งนี้เป็น “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” หรือเรียกอีกชื่อว่า “มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้” มิได้เรียกว่า “มรดกโลก” แต่อย่างใด เพราะ “มรดกโลก” นั้นหมายถึง สถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ รวมไปถึงเมือง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น