นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ (ดีอีเอส) ร่วมกับ สำนักงาน กสทช. ปภ. พร้อมสหพันธ์สมาคมวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายประเทศไทย ร่วมสนับสนุนโครงการการฝึกอบรมพนักงานวิทยุสมัครเล่นอาสาสมัครสื่อสารฉุกเฉิน ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดภูเก็ต โดยมี นายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตเป็นประธานในพิธีโครงการดังกล่าว ซึ่งการจัดอบรมในครั้งที่ 1 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 19 ธันวาคม 2564 ณ โรงแรมโบ๊ทลากูน รีสอร์ท จังหวัดภูเก็ต วัตถุประสงค์เพื่อการสร้างเครือข่ายสื่อสารสำรองของชาติที่พร้อมใช้งาน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้สนับสนุนวิทยากรในหัวข้อ บทบาทหน้าที่ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมด้านการสื่อสาร ตามแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติ และการรู้เท่าทันสื่อและข่าวปลอม (Media and Fake News Literacy)
ในการนี้ นายมนัส ทรงแสง นายกสมาคมนักวิทยุอาสาสมัคร ประธานสหพันธ์สมาคมวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายประเทศไทย กล่าวว่า โครงการพัฒนาและฝึกอบรมพนักงานวิทยุสมัครเล่นอาสาสมัครฯ เพื่อการเตรียมความพร้อมให้เป็นเครือข่ายสื่อสารสำรองของชาติ โดยมีผู้เข้าอบรมทั้งโครงการมากกว่า 1000 คน ซึ่งจะจัดอบรม 4 ครั้งใน 4 ภาค ครั้งละประมาณ 250 คน โครงนี้ได้รับการสนับหนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ สำนักงาน กสทช.
ที่มาของโครงการนี้เป็นความมุ่งมั่นที่จะสืบสานพระราชปณิธาน ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ในการส่งเสริมให้มีระบบสื่อสารที่หลากหลายเพื่อการช่วยเหลือประชาชนของพระองค์ กรณีที่เกิดภัยพิบัติ เพื่อให้เป็นหลักประกันได้ว่าไม่ว่าระบบการสื่อสารอื่นใดไม่สามารถใช้การได้ระบบสื่อสารสำรองที่สหพันธ์จัดสร้างขึ้นนี้จะยังคงใช้การได้ในทุกสถานการณ์ เป็นระบบสื่อสารสำรองแบบคู่ขนาน หมายถึงเครือข่ายสื่อสารของนักวิทยุสมัครเล่นอาสาสมัครจะใช้ติดต่อสื่อสารกันเป็นปกติ เกือบตลอดเวลาเป็นประจำอยู่เสมอ และเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติเกิดขึ้นพื้นที่ใดก็พร้อมเข้าช่วยสนับสนุนได้ทันที
ดังผลงานเป็นที่ประจักษ์ ตั้งแต่ปี 2532 ที่ได้เกิด พายุไต้ฝุ่นเกย์ถล่มจังหวัดชุมพร นักวิทยุสมัครเล่นได้เข้าไปสถาปนาระบบสื่อสารขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และสามารถประสานงานกับหน่วยราชการให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสพภัยได้เป็นผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ และในปี 2547 ในคราวที่เกิดคลื่นยักษ์ สึนามิ ในพื้นที่ชายทะเลอันดามัน 6 จังหวัดภาคใต้ ข่ายสื่อสารของวิทยุสมัครเล่นก็ได้มีบทบาทเข้าช่วยในการประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย ช่วยส่งข่าวสารให้กับทางราชการ จากการถอดบทเรียนที่สำคัญนี้จึงนำมาสู่โครงการนี้ วัตถุประสงค์เพื่อการสร้างเครือข่ายสื่อสารสำรองของชาติที่พร้อมใช้งาน
ดังนั้นผู้ที่ผ่านการอบรมในครั้งนี้ จะเป็นเครือข่ายสื่อสารสำรองของชาติ ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยงานเจ้าภาพหลักด้านการสื่อสารของชาติคือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการกำกับดูแลและส่งเสริมโดยสำนักงาน กสทช.ด้านการอนุญาต การใช้ความถี่ให้ถูกต้องต่อไป
ดังนั้นผู้ที่ผ่านการอบรมในครั้งนี้ จะเป็นเครือข่ายสื่อสารสำรองของชาติ ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยงานเจ้าภาพหลักด้านการสื่อสารของชาติคือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการกำกับดูแลและส่งเสริมโดยสำนักงาน กสทช.ด้านการอนุญาต การใช้ความถี่ให้ถูกต้องต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น