นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล กรรมการผู้จัดการ (ร่วม) บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้บริหาร เซเว่น อีเลฟเว่น และ เซเว่น เดลิเวอรี่ กล่าวว่า เซเว่น อีเลฟเว่น ได้ดำเนินโครงการด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายใต้นโยบาย เซเว่น โก กรีน เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง ตั้งแต่ปี 2550 เพื่อลด และ เลิก ใช้ถุงพลาสติกที่ร้านเซเว่น อีเลฟเว่นทั่วประเทศ เพื่อสังคม ชุมชน และประเทศชาติ อย่างยั่งยืน และเพื่อเป็นการสานต่อแนวคิด “ปลูกจิตสำนึกเพื่อสิ่งแวดล้อม” ในการรณรงค์และเชิญชวนลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง มีเป้าหมายหลักเพื่อป้องกันผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม เซเว่น อีเลฟเว่น จึงจัดโครงการ “ถังคัดแยกขยะ” เพื่อรณรงค์ให้คนไทยช่วยกันคัดแยกขยะพลาสติกนำสู่กระบวนการตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy อย่างยั่งยืน โดยการวางถังคัดแยกขยะบริเวณด้านหน้าร้านสาขากว่า 12,000 สาขาทั่วประเทศ
ล่าสุดเซเว่นฯได้เปิดตัวโครงการ “Circular Bin จาก Application Green2Get” 7 มหาวิทยาลัย ร่วมกับ 7 GO Green และลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป เพื่อประสานความร่วมมือผลักดันโครงการนวัตกรรมที่เกิดจากไอเดียของคนรุ่นใหม่นำไปสู่การรณรงค์ให้เกิดการแยกขยะที่ถูกต้อง โครงการดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่าง เพจลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป , เซเว่น อีเลฟเว่น และ 7 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM)ร่วมกันนำร่องเปลี่ยนถังขยะหน้าร้านเซเว่น อีเลฟเว่นแบบเดิมกว่า 40 แห่งเป็นถังขยะอัจฉริยะ หรือ Circular Bin ทำงานร่วมกับแอฟพลิเคชั่นกรีนทูเก็ท (Green2Get Application) โดยผู้ใช้สแกนบาร์โค้ดสินค้าใดๆ บริเวณหน้าถัง แอปฯ จะบอกวิธีการคัดแยกและถังที่ควรทิ้งให้ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้ขยะพลาสติกเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือ Circular Economy อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเซเว่นฯขอเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันและส่งเสริมไอเดีย แนวคิดเพื่อให้เกิดการกระตุ้นให้เยาวชนคนรุ่นใหม่คิดค้นนวัตกรรมที่ช่วยในเรื่องของการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมตามปณิธานของซีพี ออลล์ “ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสต่อกัน”
ด้าน เปรม พฤกษ์ทยานนท์ เจ้าของเพจ ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป กล่าวว่า ได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากหน่วยบริหารและจัดการต้นทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ภายใต้การกำกับของสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เพื่อให้เป็นเครื่องมือสำหรับผู้บริโภคในการช่วยคัดแยกขยะให้ง่ายขึ้น เพียงผู้ใช้งานสแกนบาร์โค้ดสินค้าก็จะพบวิธีการคัดแยกรวมถึงวัสดุที่แยกได้และสามารถหาผู้รีไซเคิลที่ต้องการวัสดุนั้นๆที่อยู่ใกล้ตัวได้ เบื้องต้นคู่มือการคัดแยกขยะจะถูกสร้างขึ้นโดยผู้ใช้งานช่วยกันทำฐานข้อมูลสินค้า ซึ่งปัจจุบันมีสินค้าพร้อมวิธีการคัดแยกขยะ จำนวนกว่า 25,000 ชิ้น ในระบบ ในอนาคตจะเปิดให้ผู้ผลิตซึ่งเป็นเจ้าของสินค้านั้นๆเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเองและเป็นผู้สนับสนุนการหมุนเวียนสินค้าของตนเองได้ และหลังจากทางผู้ออกแบบจะนำผลทการทดลองใช้จริงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาฟีเจอร์ใหม่เพื่อใช้ข้อมูลที่มีอยู่ตอบโจทย์การคัดแยกขยะให้กับคนทั่วไปต่อไป
ทั้งนี้ในงานเปิดตัวโครงการฯได้รับเกียรติจาก นางจงรักษ์ ฐินะกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมและเผยแพร่ และผู้อำนวยการกองส่งเสริมความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ ดร.ชัยพล จันทะวัง ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมกิจการเยาวชนและลูกเสือ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมด้วยและยังมีตัวแทนน้องเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่มีทั้งความรู้ ความสามารถและได้รับคัดเลือกจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เข้ารับรางวัล ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน เนื่องในโอกาสวันเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี 2564 มิกซ์ สหภาพ วงศ์ราษฎร์ ศิลปินในสังกัด GMM มาร่วมพูดคุยถึงวิธีการคัดแยะขยะพลาสติกง่ายๆด้วยตัวเอง พร้อมเชิญชวนนิสิตนักศึกษาร่วมทดลองใช้แอพลิเคชั่น กรีนทูเก็ท (Green2Get) เพื่อลุ้นเป็นส่วนหนึ่งในงานแฟนมีตติ้ง ปลูกต้นไม้ในช่วงเดือนมกราคม 2565 อีกด้วย ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลด แอพลิเคชั่น กรีนทูเก็ท (Green2Get) ได้ทาง App Store และ Play Store
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น