สืบเนื่องจากเมื่อช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา องค์กรสมาชิกของสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ถูกบุคคลแสดงตนว่าเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ สังกัดกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ (DSI) ขอเข้าตรวจค้นโดยไม่ได้มีหนังสือหมายเชิญให้ถ้อยคำหรือขอให้ส่งเอกสารใด ๆ เพื่อตรวจสอบล่วงหน้า อีกทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวได้แสดงพฤติกรรม ที่ สอบ. เห็นว่าอาจจะมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จึงได้ทำจดหมายถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับการตอบกลับใด ๆ นั้น
เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.00 - 12.00 น. สอบ. และองค์กรสมาชิก ได้จัดแถลงข่าว ‘สภาองค์กรของผู้บริโภค เรียกร้อง ยธ. ตรวจสอบกรณีบุคคลอาจอ้าง DSI บุกตรวจสอบองค์กรสมาชิก’ โดยบุญยืน ศิริธรรม ประธาน สอบ. กล่าวว่า สมาคมผู้บริโภคภาคตะวันตก เป็นองค์กรแรกที่ถูกบุคคลแสดงตัวเป็นดีเอสไอเข้าไปตรวจค้น และหลังจากนั้นได้ทราบว่ามีองค์กรสมาชิกของ สอบ. ในหลายจังหวัด เช่น นครนายก ฉะเชิงเทรา ที่ถูกกลุ่มบุคคลดังกล่าวเข้าไปตรวจสอบอีก ซึ่งองค์กรที่ถูกตรวจสอบนั้นล้วนเป็นองค์กรที่ผ่านการรับรองจากสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) แล้วทั้งสิ้น
“เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น กรรมการในองค์กรที่ถูกตรวจสอบเกิดความเข้าใจผิดและไม่เข้าใจกัน หรือบางองค์กรยังถูกประชาชนหรือหน่วยงานในพื้นที่จับตามอง ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กรนั้น ๆ นอกจากนี้ ยังทำให้องค์กรสมาชิกอื่น ๆ เกิดความตื่นตระหนกและรู้สึกไม่ปลอดภัยอีกด้วย” บุญยืนกล่าว
“เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น กรรมการในองค์กรที่ถูกตรวจสอบเกิดความเข้าใจผิดและไม่เข้าใจกัน หรือบางองค์กรยังถูกประชาชนหรือหน่วยงานในพื้นที่จับตามอง ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กรนั้น ๆ นอกจากนี้ ยังทำให้องค์กรสมาชิกอื่น ๆ เกิดความตื่นตระหนกและรู้สึกไม่ปลอดภัยอีกด้วย” บุญยืนกล่าว
สุภาวดี วิเวก หัวหน้าหน่วยงานประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ระบุว่า ตอนที่มีเจ้าหน้าที่ดีเอสไอเข้ามาตรวจสอบ บุคคลเหล่านั้นไม่ได้แสดงเอกสารหลักฐานว่าการเข้ามาตรวจสอบในครั้งนี้มีที่ไปที่มาอย่างไร หรือใครร้องเรียน ดังนั้น เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานประจำจังหวัดฯ จึงไม่ให้เข้าตรวจค้น และแจ้งกลับไปว่าหากต้องการตรวจต้องมีเอกสารการตรวจค้นมาด้วย บุคคลดังกล่าวจึงไม่ได้ข้อมูลกลับไป อย่างไรก็ตาม หน่วยประจำจังหวัดได้ไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้ เนื่องจากรู้สึกไม่ปลอดภัยที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น
ส่วน รี โฉมสำอางค์ ตัวแทนองค์กรผู้บริโภค จังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า ได้รับโทรศัพท์จากบุคคลที่แสดงตัวว่าเป็นดีเอสไอ โดยใช้วิธีสุ่มโทรศัพท์หากรรมการขององค์กรเพื่อเข้ามาสอบถามข้อมูล ซึ่งมองว่าไม่ใช่แนวทางปกติของหน่วยงานราชการที่ควรปฏิบัติ จึงตั้งข้อสงสัยถึงวิธีการปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ องค์กรฯ ได้ดำเนินการแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้แล้วเช่นกัน เนื่องจากข้อมูลที่พูดคุยกันทางโทรศัพท์ มีข้อมูลส่วนตัวที่ควรจะเป็นความลับ
ด้าน อารีวรรณ จตุทอง นักกฎหมาย และ อนุกรรมการพิจารณาคดีของ สอบ. ระบุว่า ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ได้บัญญัติและให้อำนาจในการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษต้องเป็นคดีความผิดทางอาญาตามที่ระบุไว้ในมาตรา 21
(1) คดีที่มีความผิดทางอาญาตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้และที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยการเสนอแนะของคณะกรรมการคดีพิเศษ ซึ่งต้องมีลักษณะเป็นคดีอาญาที่มีความซับซ้อน หรือเป็นคดีอาญาที่มีผลกระทบรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดี ความมั่นคง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือระบบเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ หรือเป็นคดีอาญาที่มีการกระทำความผิดข้ามชาติที่สำคัญหรือเป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรมทหรือเป็นคดีอาญาที่มีผู้มีอิทธิพลเป็นตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน หรือเป็นความผิดทางอาญาที่มีพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้ต้องสงสัย
(2) คดีความผิดทางอาญาอื่นที่คณะกรรมการคดีพิเศษมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสาม อีกทั้งคดีดังกล่าวควรเป็นที่มีคดีสำคัญมีผลกระทบกับประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งองค์กรผู้บริโภคที่ถูกตรวจสอบกลับไม่เคยได้รับทราบข้อกล่าวหาว่าองค์กรได้กระทำความผิดอาญาใดที่เข้าข่ายเป็นคดีพิเศษ
นอกจากนั้นในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดีพิเศษตามมาตรา 24 วรรคสอง (2) นั้นได้กำหนดหลักไว้ว่า การใช้อำนาจตามวรรคหนึ่ง (1) คือ การเข้าไปในเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เพื่อตรวจค้น ซึ่งนอกจากเจ้าพนักงานสอบสวนคดีพิเศษต้องดำเนินการวิธีการค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว พนักงานสอบสวนยังต้องแสดงความบริสุทธิ์ก่อนเข้าค้น บันทึกเหตุสงสัยตามสมควรและเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้สามารถเข้าค้นได้ โดยให้เป็นหนังสือไว้แก่ผู้ครอบครองเคหสถานหรือสถานที่ค้น
อารีวรรณ กล่าวอีกว่า กรณียังไม่ทราบแน่ชัดว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมดีเอสไอได้ทำนั้นเป็นวิธีปฏิบัติราชการในการสืบสวนหรือสอบสวนหรือเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นเพื่อตรวจสอบว่าสามารถเป็นคดีพิเศษและจะเตรียมขออนุมัติจากคณะกรรมการคดีพิเศษหรือไม่อย่างไรนั้น คงจะต้องสอบถามผู้บริหารของกรมด้วย เนื่องจากการลงพื้นที่ได้นั้นจะต้องมีการขออนุมัติการเดินทางไปราชการตามระเบียบข้าราชการ
ส่วน รี โฉมสำอางค์ ตัวแทนองค์กรผู้บริโภค จังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า ได้รับโทรศัพท์จากบุคคลที่แสดงตัวว่าเป็นดีเอสไอ โดยใช้วิธีสุ่มโทรศัพท์หากรรมการขององค์กรเพื่อเข้ามาสอบถามข้อมูล ซึ่งมองว่าไม่ใช่แนวทางปกติของหน่วยงานราชการที่ควรปฏิบัติ จึงตั้งข้อสงสัยถึงวิธีการปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ องค์กรฯ ได้ดำเนินการแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้แล้วเช่นกัน เนื่องจากข้อมูลที่พูดคุยกันทางโทรศัพท์ มีข้อมูลส่วนตัวที่ควรจะเป็นความลับ
ด้าน อารีวรรณ จตุทอง นักกฎหมาย และ อนุกรรมการพิจารณาคดีของ สอบ. ระบุว่า ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ได้บัญญัติและให้อำนาจในการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษต้องเป็นคดีความผิดทางอาญาตามที่ระบุไว้ในมาตรา 21
(1) คดีที่มีความผิดทางอาญาตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้และที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยการเสนอแนะของคณะกรรมการคดีพิเศษ ซึ่งต้องมีลักษณะเป็นคดีอาญาที่มีความซับซ้อน หรือเป็นคดีอาญาที่มีผลกระทบรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดี ความมั่นคง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือระบบเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ หรือเป็นคดีอาญาที่มีการกระทำความผิดข้ามชาติที่สำคัญหรือเป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรมทหรือเป็นคดีอาญาที่มีผู้มีอิทธิพลเป็นตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน หรือเป็นความผิดทางอาญาที่มีพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้ต้องสงสัย
(2) คดีความผิดทางอาญาอื่นที่คณะกรรมการคดีพิเศษมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสาม อีกทั้งคดีดังกล่าวควรเป็นที่มีคดีสำคัญมีผลกระทบกับประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งองค์กรผู้บริโภคที่ถูกตรวจสอบกลับไม่เคยได้รับทราบข้อกล่าวหาว่าองค์กรได้กระทำความผิดอาญาใดที่เข้าข่ายเป็นคดีพิเศษ
นอกจากนั้นในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดีพิเศษตามมาตรา 24 วรรคสอง (2) นั้นได้กำหนดหลักไว้ว่า การใช้อำนาจตามวรรคหนึ่ง (1) คือ การเข้าไปในเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เพื่อตรวจค้น ซึ่งนอกจากเจ้าพนักงานสอบสวนคดีพิเศษต้องดำเนินการวิธีการค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว พนักงานสอบสวนยังต้องแสดงความบริสุทธิ์ก่อนเข้าค้น บันทึกเหตุสงสัยตามสมควรและเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้สามารถเข้าค้นได้ โดยให้เป็นหนังสือไว้แก่ผู้ครอบครองเคหสถานหรือสถานที่ค้น
อารีวรรณ กล่าวอีกว่า กรณียังไม่ทราบแน่ชัดว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมดีเอสไอได้ทำนั้นเป็นวิธีปฏิบัติราชการในการสืบสวนหรือสอบสวนหรือเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นเพื่อตรวจสอบว่าสามารถเป็นคดีพิเศษและจะเตรียมขออนุมัติจากคณะกรรมการคดีพิเศษหรือไม่อย่างไรนั้น คงจะต้องสอบถามผู้บริหารของกรมด้วย เนื่องจากการลงพื้นที่ได้นั้นจะต้องมีการขออนุมัติการเดินทางไปราชการตามระเบียบข้าราชการ
“พฤติการณ์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่พึงปฏิบัติต่อประชาชนควรต้องใช้ความระมัดระวังเนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กร และเรื่องในลักษณะเช่นนี้ สอบ. มีสิทธิเสนอให้กรมดีเอสไอตรวจสอบพฤติกรรมที่อาจเกี่ยวข้องกับวินัยข้าราชการพลเรือนทั่วไป หากพบว่าข้าราชการของกรมมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการติดต่อกับประชาชน” อารีวรรณ กล่าว
ขณะที่ สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการ สอบ. ระบุว่า สอบ. ทำจดหมายถึงดีเอสไอ ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา เพื่อให้ตรวจสอบว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ดีเอสไอที่ได้รับมอบหมายอำนาจมาหรือไม่ และเป็นการกระทำโดยชอบตามพระราชบัญญัติกรมสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 หรือไม่ แต่กลับไม่ได้รับคำตอบ สอบ. จึงมีข้อเรียกร้องดังนี้
ขณะที่ สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการ สอบ. ระบุว่า สอบ. ทำจดหมายถึงดีเอสไอ ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา เพื่อให้ตรวจสอบว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ดีเอสไอที่ได้รับมอบหมายอำนาจมาหรือไม่ และเป็นการกระทำโดยชอบตามพระราชบัญญัติกรมสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 หรือไม่ แต่กลับไม่ได้รับคำตอบ สอบ. จึงมีข้อเรียกร้องดังนี้
1.ขอให้กระทรวงยุติธรรม ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลดีเอสไอ ตรวจสอบและจัดการปัญหาดังกล่าวโดยเร็ว เนื่องจากปัจจุบันยังมีองค์กรสมาชิกของ สอบ. ที่ถูกบุคคลที่แสดงตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่อีเอสไอขอเข้าตรวจคนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบั่นทอนกำลังใจผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ รวมถึงการทำงานขององค์กรสมาชิกของ สอบ. ด้วย
2. หากกรณีดังกล่าวเข้าข่ายประพฤติผิดวินัย ขอให้มีการดำเนินการตามวินัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
3. ขอให้ทั้ง 2 หน่วยงานออกมาชี้แจงต่อสาธารณะถึงกรณีดังกล่าวเพื่อให้เกิดความกระจ่าง และเป็นการสร้างความยุติธรรมต่อองค์กรผู้บริโภคและสภาของผู้บริโภค
สภาองค์กรของผู้บริโภคขอให้สื่อมวลชนติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องของประชาชนและหน่ยงานในพื้นที่ อันเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้บริโภค
หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ คุณมุนินทร์ 080-025 8848
2. หากกรณีดังกล่าวเข้าข่ายประพฤติผิดวินัย ขอให้มีการดำเนินการตามวินัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
3. ขอให้ทั้ง 2 หน่วยงานออกมาชี้แจงต่อสาธารณะถึงกรณีดังกล่าวเพื่อให้เกิดความกระจ่าง และเป็นการสร้างความยุติธรรมต่อองค์กรผู้บริโภคและสภาของผู้บริโภค
สภาองค์กรของผู้บริโภคขอให้สื่อมวลชนติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องของประชาชนและหน่ยงานในพื้นที่ อันเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้บริโภค
หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ คุณมุนินทร์ 080-025 8848
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น