สำหรับการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และการประชุมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล) ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 6 จังหวัด พร้อมด้วยผู้แทนภาคเอกชนนั้น ถือว่าเกิดผลสำเร็จในหลายประการ เช่น
1. การอนุญาตให้ใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยแก่ชุมชน เนื้อที่รวม 4,105 ไร่ ใน 21 จังหวัด โดยมีพื้นที่ภาคใต้ 12 จังหวัด เพื่อลดความขัดแย้งในเรื่องการบุกรุกครอบครองผืนป่าชายเลน แล้วเพิ่มการส่งเสริมพัฒนาอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชายเลนต่อไป
2. การผลักดันโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วน สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี จำนวน 7 โครงการ วงเงิน 494 กว่าล้านบาท ได้แก่ (1) โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล (2) โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์ฟื้นฟูพะยูนและสัตว์ทะเลหายาก จังหวัดตรัง (3) โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และสิ่งแวดล้อม จังหวัดระนอง (4) โครงการ Phuket Health Sandbox จังหวัดภูเก็ต (5) โครงการศูนย์กลางการท่องเที่ยวและนันทนาการชายฝั่งแห่งเมืองพังงา จังหวัดพังงา (The Park Khaolak) (6) โครงการปรับปรุงท่าเทียบเรือโดยสาร-ท่องเที่ยวปากคลองจิหลาด จังหวัดกระบี่ และ (7) โครงการพัฒนาแหล่งสปาวารีบำบัดน้ำพุร้อนคลองท่อมเมืองสปา จังหวัดกระบี่ ซึ่งทั้ง 7 โครงการนี้ จะช่วยสร้างความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นในจังหวัดภาคใต้ตามนโยบายเปิดประเทศ
3. การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการงานเมกะอีเว้นท์ รวม 3 รายการ ได้แก่ (1) งาน Expo2028 Phuket-Thailand ในปี 2571 เพื่อผลักดันบทบาทของประเทศไทยและภูเก็ตให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) และเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก (2-3) มหกรรมพืชสวนโลก 2 ครั้ง ที่จังหวัดอุดรธานี ในปี 2569 และจังหวัดนครราชสีมา ในปี 2572 เพื่อแสดงศักยภาพในการวิจัย พัฒนา และเทคโนโลยี ด้านพืชสวนแบบครบวงจรของไทย ให้เป็นที่ประจักษ์ระดับโลก และต่อยอดเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน และศูนย์กลางนวัตกรรมด้านการเกษตร ในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (GMS) ที่สามารถต่อยอดสู่เศรษฐกิจ BCG Model
1. การอนุญาตให้ใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยแก่ชุมชน เนื้อที่รวม 4,105 ไร่ ใน 21 จังหวัด โดยมีพื้นที่ภาคใต้ 12 จังหวัด เพื่อลดความขัดแย้งในเรื่องการบุกรุกครอบครองผืนป่าชายเลน แล้วเพิ่มการส่งเสริมพัฒนาอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชายเลนต่อไป
2. การผลักดันโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วน สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี จำนวน 7 โครงการ วงเงิน 494 กว่าล้านบาท ได้แก่ (1) โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล (2) โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์ฟื้นฟูพะยูนและสัตว์ทะเลหายาก จังหวัดตรัง (3) โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และสิ่งแวดล้อม จังหวัดระนอง (4) โครงการ Phuket Health Sandbox จังหวัดภูเก็ต (5) โครงการศูนย์กลางการท่องเที่ยวและนันทนาการชายฝั่งแห่งเมืองพังงา จังหวัดพังงา (The Park Khaolak) (6) โครงการปรับปรุงท่าเทียบเรือโดยสาร-ท่องเที่ยวปากคลองจิหลาด จังหวัดกระบี่ และ (7) โครงการพัฒนาแหล่งสปาวารีบำบัดน้ำพุร้อนคลองท่อมเมืองสปา จังหวัดกระบี่ ซึ่งทั้ง 7 โครงการนี้ จะช่วยสร้างความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นในจังหวัดภาคใต้ตามนโยบายเปิดประเทศ
3. การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการงานเมกะอีเว้นท์ รวม 3 รายการ ได้แก่ (1) งาน Expo2028 Phuket-Thailand ในปี 2571 เพื่อผลักดันบทบาทของประเทศไทยและภูเก็ตให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) และเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก (2-3) มหกรรมพืชสวนโลก 2 ครั้ง ที่จังหวัดอุดรธานี ในปี 2569 และจังหวัดนครราชสีมา ในปี 2572 เพื่อแสดงศักยภาพในการวิจัย พัฒนา และเทคโนโลยี ด้านพืชสวนแบบครบวงจรของไทย ให้เป็นที่ประจักษ์ระดับโลก และต่อยอดเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน และศูนย์กลางนวัตกรรมด้านการเกษตร ในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (GMS) ที่สามารถต่อยอดสู่เศรษฐกิจ BCG Model
ทั้งนี้ หากประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพ เมกะอีเว้นท์ทั้ง 3 งาน ประเมินได้ว่าจะสามารถสร้างการจ้างงาน 230,442 คน สร้างเงินสะพัดในประเทศรวม 100,173 ล้านบาท เก็บภาษีเข้ารัฐ 20,641 ล้านบาท และผลักดันการเติบโตให้จีดีพีได้ 68,520 ล้านบาท
นอกจากนี้ ครม.ยังได้เห็นชอบให้เสนอแหล่งมรดกทางธรรมชาติ พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ระนอง พังงา และภูเก็ต ประกอบด้วย 6 พื้นที่อุทยาน และ 1 พื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่รวมกว่า 2,908 ตารางกิโลเมตร ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ซึ่งล้วนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เชิงอนุรักษ์ที่สำคัญ ที่นอกจากสร้างรายได้หล่อเลี้ยงชาวชุมชนแล้ว ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หายาก เช่น ชะนีมือขาว ค้างคาวแม่ไก่เกาะ กระเบนราหู วาฬหัวทุย โลมา เต่ามะเฟือง เต่าหญ้า ที่นับวันจะลดลงไปมาก ดังนั้น เราต้องรักษาระบบนิเวศเหล่านี้ไว้ให้ดี เพื่ออนุรักษ์สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ไว้ให้ลูกหลานไทยได้ภาคภูมิใจต่อไป
นอกจากนี้ ครม.ยังได้เห็นชอบให้เสนอแหล่งมรดกทางธรรมชาติ พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ระนอง พังงา และภูเก็ต ประกอบด้วย 6 พื้นที่อุทยาน และ 1 พื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่รวมกว่า 2,908 ตารางกิโลเมตร ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ซึ่งล้วนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เชิงอนุรักษ์ที่สำคัญ ที่นอกจากสร้างรายได้หล่อเลี้ยงชาวชุมชนแล้ว ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หายาก เช่น ชะนีมือขาว ค้างคาวแม่ไก่เกาะ กระเบนราหู วาฬหัวทุย โลมา เต่ามะเฟือง เต่าหญ้า ที่นับวันจะลดลงไปมาก ดังนั้น เราต้องรักษาระบบนิเวศเหล่านี้ไว้ให้ดี เพื่ออนุรักษ์สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ไว้ให้ลูกหลานไทยได้ภาคภูมิใจต่อไป
"ผมเชื่อว่าในการลงมาประชุม ครม.สัญจร ที่ภาคใต้ในครั้งนี้ จะเป็นการส่งสัญญาณต่อทั้งพี่น้องชาวไทยในประเทศ รวมถึงทั่วโลก ว่าประเทศไทยเราพร้อมที่จะกลับมาเดินทาง และเปิดรับนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจอีกครั้ง ภายใต้การควบคุมโรคที่เหมาะสม และประเทศไทยพร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ เพื่อพลิกโฉมประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การเกษตร สิ่งแวดล้อม นวัตกรรม โลจิสติกส์ การคมนาคมขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานในทุกภูมิภาคของประเทศ ผมขอให้พวกเราทุกคนมาร่วมมือช่วยกัน ทำให้เป้าหมายนี้เป็นจริงโดยเร็ว เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของพี่น้องชาวไทยทุกคนครับ"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น