เมื่อวันที่ 1 พ.ย.64 ณ Victor Club Samyan Mitrtown สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย แถลงข่าว ระบุว่า ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2563 ต่อเนื่องมายังปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทย ประเทศต่างๆ ทั่วโลกประสบกับการแพร่ระบาดของ COVID-19
ในส่วนของภาคการผลิตสินค้าเกษตร ประเทศไทยต้องนำเข้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตรจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเมล็ดพันธุ์บางชนิด สารอารักขาพืช และ “ปุ๋ยเคมี” ผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจนในช่วงแรกๆ คือการนำเข้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตรและการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังต่างประเทศ รวมทั้งธุรกิจด้านโลจิสติกส์ได้รับผลกระทบโดยตรง จากการปิดเมืองสำคัญ รวมถึงการปิดประเทศ
ทั้งนี้ภาพรวมของธุรกิ
จภาคการเกษตรได้รับผลกระทบต่
อเนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยการผลิ
ตทางการเกษตร คือ “ปุ๋ยเคมี” ประเทศไทยต้องนำเข้าปุ๋ยเคมี
จากต่างประเทศ ประมาณ 90-95 % เพื่อผลิตและจำหน่ายปุ๋ยให้เพี
ยงพอต่อความต้องการภายในประเทศ
โดยในช่วงปลาย ปี พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน ราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยเคมี มีระดับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาจากหลายๆ ปัจจัย จากวิกฤตเศรษฐกิจที่ตกต่ำทั่วโลกจาก COVID-19 ทำให้หลายๆ ประเทศเริ่มตระหนักถึงความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ซึ่งส่งผลต่อการผลิตพืชอาหาร
ดังนั้น ปุ๋ยเคมี จึงเป็นปัจจัยการผลิตที่มีความจำเป็นและมีความต้องการมากขึ้น โดยปัจจัยที่ทำให้ปุ๋ยเคมี มีระดับราคาที่สูงขึ้นประกอบด้วย1.สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตร2.ราคาผลผลิตทางการเกษตรในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น3.การกำหนดนโยบายความมั่นคงทางด้านอาหารของแต่ละประเทศ4.นโยบายการชะลอการส่งออกปุ๋ยเคมีของประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ ตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 25645.วิกฤตราคาพลังงานน้ำมัน ส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติสูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนการผลิตปุ๋ยไนโตรเจน6.วิกฤตการขนส่ง (Logistic) ระหว่างประเทศส่งผลให้ค่าขนส่งสินค้าทางเรืออยู่ในระดับราคาสูง7.ความผันผวนของค่าเงินในตลาดโลกจากปัจจัยดังกล่าวล้วนส่งผลต่อความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยต้องนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เช่น ประเทศจีน ซาอุดีอาระเบีย รัสเซีย เป็นต้น ทั้งนี้การนำเข้าวัตถุดิบปุ๋ยเคมี แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ประกอบด้วย ปุ๋ยไนโตรเจน (Nitrogen) การผลิตปุ๋ยไนโตรเจนจะมีสารตั้งต้นคือสารแอมโมเนียซึ่งมีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนซึ่งส่วนใหญ่ได้จากก๊าซธรรมชาติในกระบวนการปิโตรเคมี หรือกระบวนการผลิตถ่านหิน สารแอมโมเนียนั้นใช้ในการผลิตปุ๋ยไนโตรเจนต่าง ๆ ได้แก่ ยูเรีย (46-0-0) และแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) ซึ่งราคาน้ำมัน ถ่านหินจะส่งผลกระทบต่อการผลิตปุ๋ยไนโตรเจน
วัตถุดิบตัวถัดไป ปุ๋ยฟอสฟอรัส (Phosphorus) ซึ่งทำมาจากหินชนิดหนึ่งเรียกว่า หินฟอสเฟต วิธีการผลิตปุ๋ยฟอสฟอรัสที่นิยมกัน ก็คือนำหินฟอสเฟตมาบดละเอียดและมาทำปฏิกิริยากับกรดกำมะถันก็จะได้กรดฟอสฟอริก กรดฟอสฟอริกนี้ถือเป็นตัวต้นน้ำของปุ๋ยฟอสฟอรัส กรดฟอสฟอริกเป็นของเหลวซึ่งยากต่อการใช้ การเก็บรักษาและการขนส่ง จึงได้นำกรดฟอสฟอริกไปทำปฏิกิริยากับแอมโมเนีย กลายเป็นแม่ปุ๋ย DAP (Diammonium Phosphate) สูตร 18-46-0 แม่ปุ๋ย MAP (Monoammonium Phosphate) สูตร 11-52-0 หรือใช้กระบวนการผลิตเดียวกันนี้ผลิตเป็นปุ๋ย N-P-K สูตรต่าง ๆ สำหรับปุ๋ยฟอสฟอรัสนั้น กรณีที่หินฟอสเฟตแพง ปุ๋ยฟอสฟอรัสก็จะแพงด้วย และถ้ากรดกำมะถัน (sulfuric acid) แพงปุ๋ยฟอสฟอรัสก็จะแพงด้วยเช่นกันวัตถุดิบอีกตัวหนึ่งคือ ปุ๋ยโพแทสเซียม (Potassium) เป็นแร่ที่ขุดจากดินได้โดยตรง ที่เรียกกันว่าแร่โพแทช ประเทศไทยมีแหล่งแร่โพแทชขนาดใหญ่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดชัยภูมิและจังหวัดอุดรธานี หากโครงการพัฒนาเหมืองดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ก็จะได้แม่ปุ๋ยโพแทสเซียมใช้ในประเทศ ทดแทนการนำเข้าปีละประมาณ 600,000-800,000 ตันต่อปี
ปัจจุบัน ปัญหาราคาปัจจัยการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อเกษตรกรทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ปัจจุบันมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรระยะสั้นที่ภาครัฐบาลและเอกชนร่วมกันช่วยเหลือเกษตรกรคือ การขายปุ๋ยเคมีในราคาพิเศษ ผ่านสหกรณ์การเกษตร และกลุ่มสถาบันเกษตรกร โดยเริ่มตั้งแต่ครั้งแรก ในระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม และมีการขยายเป็นครั้งที่สองจนถึงเดือนตุลาคม 2564 โดยทางสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย ช่วยเหลือปุ๋ยเคมีราคาพิเศษกับเกษตรกร 201,106 ตัน หรือ 4,022,120 กระสอบจากมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรระยะสั้นดังกล่าวเป็นมาตรการที่ดีที่ภาครัฐร่วมกับภาคเอกชนช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงที่ปุ๋ยมีราคาแพง เนื่องจากปุ๋ยเคมีเป็นตัวแปรสำคัญในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและสร้างรายได้ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกร
แต่อย่างไรก็ตามวิธีการที่ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ ควรทำอย่างระมัดระวัง ผู้กำหนดนโยบายควรเข้าใจธุรกิจและอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีอย่างลึกซึ้ง ควรศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านก่อนตัดสินใจออกนโยบาย มิฉะนั้นอาจส่งผลกระทบต่อทั้งเกษตรกรเองและผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเกษตร และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแทรกแซงกลไกของตลาด โดยทั่วไปแล้วจะทำให้เกิดสิ่งที่ทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “การสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ (Deadweight loss)” ดังนั้นภาครัฐควรประเมินผลกระทบอย่างรอบคอบก่อนที่จะทำการแทรกแซง ว่ามีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าต้องการทำไปเพื่ออะไร ตอบโจทย์การช่วยเหลือเกษตรกรจริงหรือไม่ และที่สำคัญ ได้ผลดีมากกว่าผลเสียหรือเปล่า
ดังนั้นนโยบายภาคการเกษตรของประเทศไทยจะต้องมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น มีทิศทางและแนวทางที่ปฏิบัติได้จริงและสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ดีขึ้น หลายปีที่ผ่านมาภาครัฐบาลมีนโยบายที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลก และเป็นผู้ผลิตอาหารปลอดภัยเป็นที่ยอมรับต่อประเทศต่างๆ แต่สิ่งที่จะรองรับนโยบายดังกล่าว คือ ผลผลิตทางการเกษตร ที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด มีความจำเป็นต้องใช้ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรเพื่อปรับแต่งพืชผลตามที่ต้องการ เช่น เร่งการเจริญเติบโตของใบและต้น เร่งการออกดอกออกผล เพิ่มขนาดและคุณภาพผลผลิต ซึ่งส่วนนี้ “ปุ๋ยเคมี” ถือว่าเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ รวมทั้งการใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพก็ควรใส่ปุ๋ยให้ถูกชนิด ถูกสูตร ถูกอัตรา ถูกเวลาและถูกวิธี และต้องมีหน่วยงานที่เชี่ยวชาญให้คำแนะนำอย่างถูกต้องแก่เกษตรกร การวิเคราะห์ดิน-พืช ซึ่งเป็นมาตราการที่จะต้องนำมาใช้อย่างจริงจัง รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานการเพาะปลูกพืช เช่น GAP การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับพืช (Good Agricultural Practice) เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบันและเป็นสิ่งที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
สำหรับคณะกรรมการสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย ที่เข้าร่วมแถลงข่าว ประกอบด้วย นายกองเอก เปล่งศักดิ์ นายประกาศ เภสัช นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย นายวชิรศักดิ์ อรรจนานนท์ ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์นายศุภชัย ปานดำ กรรมการฝ่ายวิชาการนายรัสชัย เหรียญพาณิชย์ กรรมการบริหารสมาคม นายทวีสุข เมฆธวัชชัยกุล รองประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ นายสุภัค เหล่าดี เลขานุการฝ่ายวิชาการส่วนประวัติสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย เริ่มก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช 2514 โดยการรวมตัวของผู้ประกอบการค้าปุ๋ยเคมี เมล็ดพันธุ์ และสารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเดิมใช้ชื่อว่า “สมาคมการค้าและการสั่งปุ๋ยไทย” และมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับขั้นตอนการขออนุญาตนำเข้า ปุ๋ยเคมีตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พุทธศักราช 2518 ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมกำกับดูแลของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาชิกของสมาคมจะต้องเป็นนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจ
ด้านการเกษตรวิสัยทัศน์ (Vision) เป็นองค์กรที่ยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตร ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศผู้ผลิตอื่นๆ เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับเศรษฐกิจ สังคมภาคการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศไทยมีพันธกิจ (Mission) ภายใต้การรวมตัวของกลุ่มผู้ประกอบการด้านปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เราจะเป็นสมาคมที่ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม ธรรมาภิบาล และจะทำนุบำรุงอุตสาหกรรมธุรกิจการเกษตรของประเทศในระยะยาว สมาคมฯ มีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้ภาคการเกษตรของไทยมีการใช้ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเผยแพร่ทางสื่อต่างๆ รวมทั้งให้ความร่วมมือในการทำงานค้นคว้าวิจัยร่วมกับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยหวังผลให้เป็นการเพิ่มพูนองค์ความรู้ในด้านการเกษตรของประเทศ
สมาคมฯ มุ่งดำเนินการเพื่อก่อให้เกิดการสานผลประโยชน์ของสมชิกโดยส่วนรวมตามวิสัยทัศน์และปณิธานของสมาคมฯ เพื่อส่งเสริมให้การประกอบธุรกิจของสมาชิก สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการมีส่วนสนับสนุนนโยบายจากรัฐในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรของประเทศไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น