เมื่อวันที่ 16 พย. 64 ณ ห้องประชุมโภคีธรา โรงแรมโซฟิเทล กระบี่ โภคีธรา กอล์ฟ แอนด์ สปา รีสอร์ท ตำบลหนองทะเล อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2564 ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ พ.ศ. ....
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 รวม 3 ฉบับ
3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ฉบับที่ ..
เศรษฐกิจ สังคม 4. เรื่อง การขออนุมัติกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
5. เรื่อง การนำเสนอแหล่งมรดกทางธรรมชาติ พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน เข้าสู่ บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก
6. เรื่อง เรื่อง ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ในพื้นที่ป่าชายเลนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และ 2563 ในท้องที่จังหวัดชายฝั่งทะเล 21 จังหวัด
7. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 14/2564
6. เรื่อง เรื่อง ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ในพื้นที่ป่าชายเลนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และ 2563 ในท้องที่จังหวัดชายฝั่งทะเล 21 จังหวัด
7. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 14/2564
8. เรื่อง แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมปีท่องเที่ยวไทย 2565 (Visit Thailand Year 2022)
9. เรื่อง ขออนุมัติดำเนินงานโครงการประมูลสิทธิ์งานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 และ จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572
ต่างประเทศ 10. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 21
11. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมแสดงเจตจำนงว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟ ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
12. เรื่อง ร่างบันทึกการประชุม (Agreed Minutes) ของการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย – เวียดนาม ครั้งที่ 4
แต่งตั้ง 13. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)
14. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ)
15. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้)
16. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์)
กฎหมาย1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ พ.ศ. .... ที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ กก. รับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ กก. เสนอว่า
1. เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยว ธุรกิจการท่องเที่ยวเกิดความชะงัก ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างหนัก ทำให้ขาดรายได้แต่ยังรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจหรือประกอบอาชีพ ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ในระยะเร่งด่วน เพื่อให้สามารถหล่อเลี้ยงธุรกิจและการประกอบอาชีพอาชีพในภาวะวิกฤต จึงเห็นควรยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 ลงชั่วคราว และเพื่อให้การยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ดังกล่าวเป็นไปตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ซึ่งบัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงฉบับนี้
2. คณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ในการประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบการยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้ว
3. กก. ได้รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยรายงานว่า ตามมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 กำหนดให้เงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว และค่าธรรมเนียมอื่นที่เรียกเก็บตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นเงินและทรัพย์สินของกองทุนคุ้มครองธุรกิจนำเที่ยว ซึ่งให้ตกเป็นของกรมการท่องเที่ยวเพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของกองทุน โดยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังเพื่อเป็นรายได้ของแผ่นดิน ซึ่งการยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว เป็นระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ จะทำให้กองทุนไม่ได้รับเงินจากค่าธรรมเนียม ประมาณ 18,900,000 บาท และการยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ เป็นระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ จะทำให้กองทุนไม่ได้รับเงินค่าธรรมเนียมประมาณ 13,850,600 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 32,750,600 บาท ซึ่งการยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ และเป็นการพยุงสถานะของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ให้มีการประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวครั้งละ 2,000 บาท และการต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวสาขา ครั้งละ 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
2. กำหนดให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ครั้งละ 200 บาท เป็นระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 รวม 3 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงออกตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 รวม 3 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงรวม 3 ฉบับ ตามที่ กษ. เสนอ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตให้ประกอบกิจการฆ่าสัตว์ และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และมาตรฐานในการประกอบกิจการฆ่าสัตว์ และมาตรฐานการขนส่งสัตว์และเนื้อสัตว์ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 และเพื่อให้การประกอบกิจการฆ่าสัตว์มีสุขอนามัย รวมทั้งเพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการฆ่าสัตว์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบกิจการฆ่าสัตว์ พ.ศ. .... เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตให้ประกอบกิจการฆ่าสัตว์ โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1) การขออนุญาตและการออกใบอนุญาต
ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการฆ่าสัตว์ต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียน พร้อมด้วยแผนงานการประกอบกิจการฆ่าสัตว์ รวมทั้งข้อมูลเอกสาร หรือหลักฐาน หากถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้นายทะเบียนเสนอแผนงานการประกอบกิจการฆ่าสัตว์ต่อคณะกรรมการประจำจังหวัดที่โรงฆ่าสัตว์นั้นตั้งอยู่เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
2) การต่ออายุใบอนุญาต
ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอต่อนายทะเบียนก่อนใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสามเดือน แต่ไม่เกินหกเดือน พร้อมด้วยแผนงานการประกอบกิจการฆ่าสัตว์และเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ
3) การโอนใบอนุญาต
ผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะโอนใบอนุญาตให้บุคคลอื่น ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ โดยให้ผู้อนุญาตออกใบอนุญาตใหม่ตามใบอนุญาตเดิมและให้ประทับตรา “โอน” ไว้ด้านบนขวามือของใบอนุญาต
4) การออกใบแทนใบอนุญาต
กรณีใบอนุญาตสูญหาย เสียหาย หรือถูกทำลาย ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ใบอนุญาตสูญหาย เสียหาย หรือถูกทำลาย พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ
5) การยื่นคำขอ
การยื่นคำขอ การออกใบอนุญาต การอนุญาต และการแจ้งตามกฎกระทรวงนี้ให้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก แต่ถ้าไม่สามารถดำเนินการได้ สำหรับกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานปศุสัตว์พื้นที่กรุงเทพมหานคร และสำหรับจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดแห่งท้องที่ที่โรงฆ่าสัตว์นั้นตั้งอยู่
2. ร่างกฎกระทรวงการประกอบกิจการฆ่าสัตว์ พ.ศ. .... เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และมาตรฐานในการประกอบกิจการฆ่าสัตว์ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) สถานที่ตั้งโรงฆ่าสัตว์ต้องมีรั้วกั้นหรือมาตรการอื่นใดในการป้องกันสัตว์อื่น และบุคคลภายนอกมิให้เข้าไปในในโรงฆ่าสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาต มีมาตรการป้องกันสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคมิให้เข้าไปในอาคารโรงฆ่าสัตว์ มีระบบระบายน้ำ ระบายอากาศที่มีประสิทธิภาพ
2) โรงพักสัตว์ต้องมีพื้นที่เพียงพอสำหรับสัตว์ที่จะทำการฆ่าในแต่ละรอบ มีพื้นที่สำหรับแยกสัตว์ป่วยหรือสงสัยว่าป่วย มีระบบระบายอากาศ ระบบระบายน้ำ และของเสียจากสัตว์ที่ไม่ก่อให้เกิดการสะสมของสิ่งปฏิกูล
3) เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในโรงฆ่าสัตว์ต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่มีส่วนผสมที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
4) ผู้รับใบอนุญาตต้องงดให้อาหารสัตว์และจัดให้มีการพักสัตว์ภายในระยะเวลาที่เหมาะสมก่อนทำการฆ่า และจัดให้มีการตรวจสัตว์โดยพนักงานตรวจโรคสัตว์ภายใน 24 ชั่วโมง ก่อนทำการฆ่าและต้องทำให้สัตว์สลบก่อนทำการฆ่า
5) บริเวณชำแหละและตัดแต่งเนื้อสัตว์ต้องทำความสะอาดได้ง่าย และในขณะที่มีการตัดแต่งเนื้อสัตว์ต้องไม่ให้เนื้อสัตว์สัมผัสพื้นและผนัง มีมาตรการป้องกันสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคมิให้เข้าไปในสถานที่ตัดแต่งเนื้อสัตว์
3. ร่างกฎกระทรวงการขนส่งสัตว์และเนื้อสัตว์ พ.ศ. .... เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และมาตรฐานการขนส่งสัตว์และเนื้อสัตว์ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) ผู้ขนส่งสัตว์ต้องทำด้วยความระมัดระวังไม่ทำให้สัตว์ตื่นตกใจ ได้รับบาดเจ็บ หรือได้รับความทรมาน ซึ่งในการขนส่งสัตว์ ห้ามขนส่งสัตว์ต่างประเภทรวมกัน
2) ยานพาหนะต้องมีการระบายอากาศที่ดี ป้องกันการกระแทกในระหว่างการขนส่ง มีการป้องกันมิให้มูลฝอยและสิ่งปฏิกูลตกลงสู่พื้นผิวถนน ยานพาหนะขนส่งสัตว์และภาชนะบรรจุสัตว์ต้องล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยวิธีการที่เหมาะสมก่อนและหลังการขนส่งสัตว์
3) ผู้ขนส่งเนื้อสัตว์ต้องมีเอกสารที่แสดงว่าได้รับอนุญาตให้เคลื่อนย้ายเนื้อสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ มีใบรับรองให้จำหน่ายเนื้อสัตว์ หรือขนส่งเนื้อสัตว์ที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่มีตรารับรองให้จำหน่ายเนื้อสัตว์
4) ยานพาหนะขนส่งเนื้อสัตว์ ต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง สามารถทำความสะอาดและฆ่าเชื้อได้ง่าย มีการป้องกันมิให้มูลฝอยและสิ่งปฏิกูลลงสู่ผิวถนน
3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ฉบับที่ ..)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ฉบับที่ ..) ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ โดยให้ ตช. รับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ร่างประกาศฯ ที่ ตช. เสนอ เป็นการแก้ไขและบรรเทาผลกระทบแก่คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามประเภทการตรวจลงตรา (รวมทั้งการตรวจลงตรา Visa on Arrival) คนต่างด้าวที่ได้รับสิทธิการยกเว้นการตรวจลงตรา และคนต่างด้าวที่ได้รับสิทธิตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยให้ได้รับการขยายระยะเวลาอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและการแจ้งที่พักอาศัยต่อไปได้ ตั้งแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (3 สิงหาคม 2564) ที่ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ออกใบอนุญาตหรือรับแจ้งไปดำเนินการแก้ไขกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรเทาผลกระทบของประชาชนในการติดต่อราชการเพื่อขออนุญาตกับหน่วยงานของรัฐจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
สาระสำคัญของร่างประกาศ
1. ให้ขยายระยะเวลาอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าว ดังต่อไปนี้
(1) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามประเภทการตรวจลงตรา (รวมทั้งการตรวจลงตรา Visa on Arrival)
(2) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามสิทธิการยกเว้นการตรวจลงตราตามข้อ 13 แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(3) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวซึ่งได้รับสิทธิตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งระยะเวลาอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวดังกล่าวจะสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับเป็นต้นไป โดยให้ขยายระยะเวลาอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรต่อไปได้ตั้งแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564
2. ให้ขยายระยะเวลาการแจ้งที่พักอาศัยตามมาตรา 37 (5) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 หรือตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้องสำหรับคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน แล้วครบกำหนดระยะเวลาการแจ้งที่พักอาศัย ตั้งแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564
3. ให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประกาศกำหนดระยะเวลาให้คนต่างด้าวดำเนินการตามมาตรา 35 และมาตรา 37 (5) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องให้เสร็จสิ้น ระหว่างวันที่ 1 – 31 ธันวาคม 2564
เศรษฐกิจ สังคม4. เรื่อง การขออนุมัติกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินกู้เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
2. เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์การกู้เงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตามที่ พน. เสนอ
3. สำหรับการอนุมัติการกู้ยืมเงิน ให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง โดยให้สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงดำเนินการกู้เฉพาะวงเงิน 20,000 ล้านบาท ตามกรอบของกฎหมายกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีอยู่ และจะดำเนินการกู้เงินเพิ่มเติมวงเงิน 10,000 ล้านบาท ได้ต่อเมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 1. มีผลบังคับใช้แล้ว
4. ให้สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ เรื่องที่ พน. เสนอ เป็นการดำเนินการเพื่อให้สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงกู้ยืมเงินเพื่อนำมาเสริมสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของประชาชน ซึ่ง พน. ยืนยันว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 และเป็นไปตามแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง โดยการตราร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อเปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินกู้เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ เป็นจำนวนไม่เกิน 30,000 ล้านบาท (ปัจจุบันกำหนดไว้ 20,000 ล้านบาท) และกำหนดหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยกำหนดให้ในการกู้ยืมเงินแต่ละคราวให้ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเสนอเหตุลความจำเป็นในการกู้เงิน รายละเอียดการกู้เงิน ซึ่งประกอบด้วยแผนการกู้เงิน แผนการใช้จ่ายเงินกู้ และแผนการชำระหนี้ ต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติต่อไป โดยสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง สำหรับแผนการกู้ยืมเงินและแผนการชำระหนี้ของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นการกำหนดรายละเอียดของการกู้ยืมเงินและระยะเวลาหรือช่วงเวลาในการดำเนินการต่าง ๆ ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้มีมติเห็นชอบให้เปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินกู้ หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และแผนการกู้ยืมเงินและแผนการชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 โดยแผนการเบิกจ่ายเงินกู้ที่สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณการไว้จะเริ่มเบิกเงินกู้ประมาณเดือนมิถุนายน 2565
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงิน และแผนการกู้ยืมเงินและแผนการชำระหนี้
1. ร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินกู้เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการเปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินกู้เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศเป็นจำนวนไม่เกิน 30,000 ล้านบาท (ปัจจุบันกำหนดไว้ 20,000 ล้านบาท)
2. หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ในการกู้ยืมเงินแต่ละคราวให้ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเสนอเหตุผลความจำเป็นในการกู้เงิน รายละเอียดการกู้เงินซึ่งประกอบด้วยแผนการกู้เงิน แผนการใช้จ่ายเงินกู้ และแผนการชำระหนี้ ต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติต่อไป ทั้งนี้ วงเงินกู้จะต้องไม่เกิน 20,000 ล้านบาท หรือวงเงินอื่นที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกา การกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงถือเป็นการก่อหนี้สาธารณะ สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย
3. แผนการกู้ยืมเงินและแผนการชำระหนี้ของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียดของการกู้ยืมเงิน เช่น ผู้กู้ วัตถุประสงค์ในการกู้ยืม วงเงินกู้ยืม อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาชำระคืน แผนการเบิกเงิน แผนการชำระคืนเงินกู้ และเงื่อนไขอื่น เป็นต้น และแผนการกู้ยืมเงินซึ่งมีการกำหนดระยะเวลาหรือช่วงเวลาในการดำเนินการต่าง ๆ เช่น สถาบันการเงินพิจารณาการกู้ยืมเงินในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ลงนามในสัญญาเงินกู้กับสถาบันการเงินในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม และเบิกเงินกู้ยืมในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน เป็นต้น
5. เรื่อง การนำเสนอแหล่งมรดกทางธรรมชาติ พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบเอกสารบัญชีรายชื่อเบื้องต้น พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันเพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก
2. เห็นชอบให้ ทส. (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) นำเสนอแหล่งมรดกทางธรรมชาติพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันเพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกเข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้นของศูนย์มรดกโลกต่อศูนย์มรดกโลก ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส
สาระสำคัญของเรื่อง
ทส. เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ “เอกสารบัญชีรายชื่อเบื้องต้น พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก” ซึ่งจะใช้นำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 (วันที่ 15 เมษายน 2565) เพื่อให้การรับรองการเข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก โดยพื้นที่ที่นำเสนอขึ้นทะเบียนประกอบด้วย 6 พื้นที่อุทยาน และ 1 พื้นที่ป่าชายเลน ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด (จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต) พื้นที่รวม 2,908 ตารางกิโลเมตร (ประกอบด้วยพื้นที่นำเสนอ 1,159.55 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่กันชน 1,748.45 ตารางกิโลเมตร) โดยแบ่งตามลักษณะทางระบบนิเวศเป็น 3 ลักษณะ รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
9. เรื่อง ขออนุมัติดำเนินงานโครงการประมูลสิทธิ์งานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 และ จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572
ต่างประเทศ 10. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 21
11. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมแสดงเจตจำนงว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟ ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
12. เรื่อง ร่างบันทึกการประชุม (Agreed Minutes) ของการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย – เวียดนาม ครั้งที่ 4
แต่งตั้ง 13. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)
14. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ)
15. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้)
16. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์)
กฎหมาย1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ พ.ศ. .... ที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ กก. รับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ กก. เสนอว่า
1. เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยว ธุรกิจการท่องเที่ยวเกิดความชะงัก ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างหนัก ทำให้ขาดรายได้แต่ยังรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจหรือประกอบอาชีพ ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ในระยะเร่งด่วน เพื่อให้สามารถหล่อเลี้ยงธุรกิจและการประกอบอาชีพอาชีพในภาวะวิกฤต จึงเห็นควรยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 ลงชั่วคราว และเพื่อให้การยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ดังกล่าวเป็นไปตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ซึ่งบัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงฉบับนี้
2. คณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ในการประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบการยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้ว
3. กก. ได้รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยรายงานว่า ตามมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 กำหนดให้เงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว และค่าธรรมเนียมอื่นที่เรียกเก็บตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นเงินและทรัพย์สินของกองทุนคุ้มครองธุรกิจนำเที่ยว ซึ่งให้ตกเป็นของกรมการท่องเที่ยวเพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของกองทุน โดยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังเพื่อเป็นรายได้ของแผ่นดิน ซึ่งการยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว เป็นระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ จะทำให้กองทุนไม่ได้รับเงินจากค่าธรรมเนียม ประมาณ 18,900,000 บาท และการยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ เป็นระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ จะทำให้กองทุนไม่ได้รับเงินค่าธรรมเนียมประมาณ 13,850,600 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 32,750,600 บาท ซึ่งการยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ และเป็นการพยุงสถานะของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ให้มีการประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวครั้งละ 2,000 บาท และการต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวสาขา ครั้งละ 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
2. กำหนดให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ครั้งละ 200 บาท เป็นระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 รวม 3 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงออกตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 รวม 3 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงรวม 3 ฉบับ ตามที่ กษ. เสนอ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตให้ประกอบกิจการฆ่าสัตว์ และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และมาตรฐานในการประกอบกิจการฆ่าสัตว์ และมาตรฐานการขนส่งสัตว์และเนื้อสัตว์ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 และเพื่อให้การประกอบกิจการฆ่าสัตว์มีสุขอนามัย รวมทั้งเพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการฆ่าสัตว์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบกิจการฆ่าสัตว์ พ.ศ. .... เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตให้ประกอบกิจการฆ่าสัตว์ โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1) การขออนุญาตและการออกใบอนุญาต
ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการฆ่าสัตว์ต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียน พร้อมด้วยแผนงานการประกอบกิจการฆ่าสัตว์ รวมทั้งข้อมูลเอกสาร หรือหลักฐาน หากถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้นายทะเบียนเสนอแผนงานการประกอบกิจการฆ่าสัตว์ต่อคณะกรรมการประจำจังหวัดที่โรงฆ่าสัตว์นั้นตั้งอยู่เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
2) การต่ออายุใบอนุญาต
ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอต่อนายทะเบียนก่อนใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสามเดือน แต่ไม่เกินหกเดือน พร้อมด้วยแผนงานการประกอบกิจการฆ่าสัตว์และเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ
3) การโอนใบอนุญาต
ผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะโอนใบอนุญาตให้บุคคลอื่น ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ โดยให้ผู้อนุญาตออกใบอนุญาตใหม่ตามใบอนุญาตเดิมและให้ประทับตรา “โอน” ไว้ด้านบนขวามือของใบอนุญาต
4) การออกใบแทนใบอนุญาต
กรณีใบอนุญาตสูญหาย เสียหาย หรือถูกทำลาย ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ใบอนุญาตสูญหาย เสียหาย หรือถูกทำลาย พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ
5) การยื่นคำขอ
การยื่นคำขอ การออกใบอนุญาต การอนุญาต และการแจ้งตามกฎกระทรวงนี้ให้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก แต่ถ้าไม่สามารถดำเนินการได้ สำหรับกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานปศุสัตว์พื้นที่กรุงเทพมหานคร และสำหรับจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดแห่งท้องที่ที่โรงฆ่าสัตว์นั้นตั้งอยู่
2. ร่างกฎกระทรวงการประกอบกิจการฆ่าสัตว์ พ.ศ. .... เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และมาตรฐานในการประกอบกิจการฆ่าสัตว์ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) สถานที่ตั้งโรงฆ่าสัตว์ต้องมีรั้วกั้นหรือมาตรการอื่นใดในการป้องกันสัตว์อื่น และบุคคลภายนอกมิให้เข้าไปในในโรงฆ่าสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาต มีมาตรการป้องกันสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคมิให้เข้าไปในอาคารโรงฆ่าสัตว์ มีระบบระบายน้ำ ระบายอากาศที่มีประสิทธิภาพ
2) โรงพักสัตว์ต้องมีพื้นที่เพียงพอสำหรับสัตว์ที่จะทำการฆ่าในแต่ละรอบ มีพื้นที่สำหรับแยกสัตว์ป่วยหรือสงสัยว่าป่วย มีระบบระบายอากาศ ระบบระบายน้ำ และของเสียจากสัตว์ที่ไม่ก่อให้เกิดการสะสมของสิ่งปฏิกูล
3) เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในโรงฆ่าสัตว์ต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่มีส่วนผสมที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
4) ผู้รับใบอนุญาตต้องงดให้อาหารสัตว์และจัดให้มีการพักสัตว์ภายในระยะเวลาที่เหมาะสมก่อนทำการฆ่า และจัดให้มีการตรวจสัตว์โดยพนักงานตรวจโรคสัตว์ภายใน 24 ชั่วโมง ก่อนทำการฆ่าและต้องทำให้สัตว์สลบก่อนทำการฆ่า
5) บริเวณชำแหละและตัดแต่งเนื้อสัตว์ต้องทำความสะอาดได้ง่าย และในขณะที่มีการตัดแต่งเนื้อสัตว์ต้องไม่ให้เนื้อสัตว์สัมผัสพื้นและผนัง มีมาตรการป้องกันสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคมิให้เข้าไปในสถานที่ตัดแต่งเนื้อสัตว์
3. ร่างกฎกระทรวงการขนส่งสัตว์และเนื้อสัตว์ พ.ศ. .... เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และมาตรฐานการขนส่งสัตว์และเนื้อสัตว์ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) ผู้ขนส่งสัตว์ต้องทำด้วยความระมัดระวังไม่ทำให้สัตว์ตื่นตกใจ ได้รับบาดเจ็บ หรือได้รับความทรมาน ซึ่งในการขนส่งสัตว์ ห้ามขนส่งสัตว์ต่างประเภทรวมกัน
2) ยานพาหนะต้องมีการระบายอากาศที่ดี ป้องกันการกระแทกในระหว่างการขนส่ง มีการป้องกันมิให้มูลฝอยและสิ่งปฏิกูลตกลงสู่พื้นผิวถนน ยานพาหนะขนส่งสัตว์และภาชนะบรรจุสัตว์ต้องล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยวิธีการที่เหมาะสมก่อนและหลังการขนส่งสัตว์
3) ผู้ขนส่งเนื้อสัตว์ต้องมีเอกสารที่แสดงว่าได้รับอนุญาตให้เคลื่อนย้ายเนื้อสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ มีใบรับรองให้จำหน่ายเนื้อสัตว์ หรือขนส่งเนื้อสัตว์ที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่มีตรารับรองให้จำหน่ายเนื้อสัตว์
4) ยานพาหนะขนส่งเนื้อสัตว์ ต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง สามารถทำความสะอาดและฆ่าเชื้อได้ง่าย มีการป้องกันมิให้มูลฝอยและสิ่งปฏิกูลลงสู่ผิวถนน
3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ฉบับที่ ..)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ฉบับที่ ..) ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ โดยให้ ตช. รับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ร่างประกาศฯ ที่ ตช. เสนอ เป็นการแก้ไขและบรรเทาผลกระทบแก่คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามประเภทการตรวจลงตรา (รวมทั้งการตรวจลงตรา Visa on Arrival) คนต่างด้าวที่ได้รับสิทธิการยกเว้นการตรวจลงตรา และคนต่างด้าวที่ได้รับสิทธิตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยให้ได้รับการขยายระยะเวลาอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและการแจ้งที่พักอาศัยต่อไปได้ ตั้งแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (3 สิงหาคม 2564) ที่ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ออกใบอนุญาตหรือรับแจ้งไปดำเนินการแก้ไขกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรเทาผลกระทบของประชาชนในการติดต่อราชการเพื่อขออนุญาตกับหน่วยงานของรัฐจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
สาระสำคัญของร่างประกาศ
1. ให้ขยายระยะเวลาอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าว ดังต่อไปนี้
(1) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามประเภทการตรวจลงตรา (รวมทั้งการตรวจลงตรา Visa on Arrival)
(2) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามสิทธิการยกเว้นการตรวจลงตราตามข้อ 13 แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(3) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวซึ่งได้รับสิทธิตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งระยะเวลาอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวดังกล่าวจะสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับเป็นต้นไป โดยให้ขยายระยะเวลาอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรต่อไปได้ตั้งแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564
2. ให้ขยายระยะเวลาการแจ้งที่พักอาศัยตามมาตรา 37 (5) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 หรือตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้องสำหรับคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน แล้วครบกำหนดระยะเวลาการแจ้งที่พักอาศัย ตั้งแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564
3. ให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประกาศกำหนดระยะเวลาให้คนต่างด้าวดำเนินการตามมาตรา 35 และมาตรา 37 (5) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องให้เสร็จสิ้น ระหว่างวันที่ 1 – 31 ธันวาคม 2564
เศรษฐกิจ สังคม4. เรื่อง การขออนุมัติกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินกู้เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
2. เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์การกู้เงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตามที่ พน. เสนอ
3. สำหรับการอนุมัติการกู้ยืมเงิน ให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง โดยให้สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงดำเนินการกู้เฉพาะวงเงิน 20,000 ล้านบาท ตามกรอบของกฎหมายกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีอยู่ และจะดำเนินการกู้เงินเพิ่มเติมวงเงิน 10,000 ล้านบาท ได้ต่อเมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 1. มีผลบังคับใช้แล้ว
4. ให้สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ เรื่องที่ พน. เสนอ เป็นการดำเนินการเพื่อให้สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงกู้ยืมเงินเพื่อนำมาเสริมสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของประชาชน ซึ่ง พน. ยืนยันว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 และเป็นไปตามแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง โดยการตราร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อเปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินกู้เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ เป็นจำนวนไม่เกิน 30,000 ล้านบาท (ปัจจุบันกำหนดไว้ 20,000 ล้านบาท) และกำหนดหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยกำหนดให้ในการกู้ยืมเงินแต่ละคราวให้ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเสนอเหตุลความจำเป็นในการกู้เงิน รายละเอียดการกู้เงิน ซึ่งประกอบด้วยแผนการกู้เงิน แผนการใช้จ่ายเงินกู้ และแผนการชำระหนี้ ต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติต่อไป โดยสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง สำหรับแผนการกู้ยืมเงินและแผนการชำระหนี้ของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นการกำหนดรายละเอียดของการกู้ยืมเงินและระยะเวลาหรือช่วงเวลาในการดำเนินการต่าง ๆ ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้มีมติเห็นชอบให้เปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินกู้ หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และแผนการกู้ยืมเงินและแผนการชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 โดยแผนการเบิกจ่ายเงินกู้ที่สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณการไว้จะเริ่มเบิกเงินกู้ประมาณเดือนมิถุนายน 2565
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงิน และแผนการกู้ยืมเงินและแผนการชำระหนี้
1. ร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินกู้เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการเปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินกู้เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศเป็นจำนวนไม่เกิน 30,000 ล้านบาท (ปัจจุบันกำหนดไว้ 20,000 ล้านบาท)
2. หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ในการกู้ยืมเงินแต่ละคราวให้ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเสนอเหตุผลความจำเป็นในการกู้เงิน รายละเอียดการกู้เงินซึ่งประกอบด้วยแผนการกู้เงิน แผนการใช้จ่ายเงินกู้ และแผนการชำระหนี้ ต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติต่อไป ทั้งนี้ วงเงินกู้จะต้องไม่เกิน 20,000 ล้านบาท หรือวงเงินอื่นที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกา การกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงถือเป็นการก่อหนี้สาธารณะ สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย
3. แผนการกู้ยืมเงินและแผนการชำระหนี้ของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียดของการกู้ยืมเงิน เช่น ผู้กู้ วัตถุประสงค์ในการกู้ยืม วงเงินกู้ยืม อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาชำระคืน แผนการเบิกเงิน แผนการชำระคืนเงินกู้ และเงื่อนไขอื่น เป็นต้น และแผนการกู้ยืมเงินซึ่งมีการกำหนดระยะเวลาหรือช่วงเวลาในการดำเนินการต่าง ๆ เช่น สถาบันการเงินพิจารณาการกู้ยืมเงินในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ลงนามในสัญญาเงินกู้กับสถาบันการเงินในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม และเบิกเงินกู้ยืมในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน เป็นต้น
5. เรื่อง การนำเสนอแหล่งมรดกทางธรรมชาติ พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบเอกสารบัญชีรายชื่อเบื้องต้น พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันเพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก
2. เห็นชอบให้ ทส. (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) นำเสนอแหล่งมรดกทางธรรมชาติพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันเพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกเข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้นของศูนย์มรดกโลกต่อศูนย์มรดกโลก ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส
สาระสำคัญของเรื่อง
ทส. เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ “เอกสารบัญชีรายชื่อเบื้องต้น พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก” ซึ่งจะใช้นำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 (วันที่ 15 เมษายน 2565) เพื่อให้การรับรองการเข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก โดยพื้นที่ที่นำเสนอขึ้นทะเบียนประกอบด้วย 6 พื้นที่อุทยาน และ 1 พื้นที่ป่าชายเลน ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด (จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต) พื้นที่รวม 2,908 ตารางกิโลเมตร (ประกอบด้วยพื้นที่นำเสนอ 1,159.55 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่กันชน 1,748.45 ตารางกิโลเมตร) โดยแบ่งตามลักษณะทางระบบนิเวศเป็น 3 ลักษณะ รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
พื้นที่
ลักษณะเด่น ข้อมูลภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง ขนาดพื้นที่นำเสนอ (ตารางกิโลเมตร)
1. ป่าชายเลนและกลุ่มเกาะชายฝั่ง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง - เป็นป่าชายเลนผืนใหญ่ที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์และอาจเป็นป่าชายเลนดั้งเดิมที่ไม่ถูกรบกวนผืนใหญ่ที่สุดในมหาสมุทรอินเดียตะวันออก
- เป็นพื้นที่ที่มีการบริหารจัดการในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของคนในชุมชน
จังหวัดระนอง 272.00
อุทยานแห่งชาติแหลมสน 315.00
ป่าชายเลนจังหวัดระนอง 142.30
2. หมู่เกาะทะเลลึก
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ - มีปะการังที่สวยงามและมีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ
- สามารถพบสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ที่หายาก เช่น ฉลามวาฬ กระเบนราหู โลมา ได้เป็นประจำ
ลักษณะเด่น ข้อมูลภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง ขนาดพื้นที่นำเสนอ (ตารางกิโลเมตร)
1. ป่าชายเลนและกลุ่มเกาะชายฝั่ง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง - เป็นป่าชายเลนผืนใหญ่ที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์และอาจเป็นป่าชายเลนดั้งเดิมที่ไม่ถูกรบกวนผืนใหญ่ที่สุดในมหาสมุทรอินเดียตะวันออก
- เป็นพื้นที่ที่มีการบริหารจัดการในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของคนในชุมชน
จังหวัดระนอง 272.00
อุทยานแห่งชาติแหลมสน 315.00
ป่าชายเลนจังหวัดระนอง 142.30
2. หมู่เกาะทะเลลึก
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ - มีปะการังที่สวยงามและมีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ
- สามารถพบสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ที่หายาก เช่น ฉลามวาฬ กระเบนราหู โลมา ได้เป็นประจำ
จังหวัดพังงา 141.25
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน 140.00
3. ชายหาดและป่าสันทรายชายฝั่ง
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี – หาดท้ายเหมือง - มีแนวปะการังทอดตัวยาวขนานกับชายฝั่งถึงเกาะภูเก็ตทางใต้ (เปรียบเทียบได้กับแนวปะการังเกรตแบริเออร์รีฟ ในเครือรัฐออสเตรเลีย ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งมรดกโลก)
- เป็นแหล่งวางไข่ที่สำคัญของเต่ามะเฟืองที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวบนชายฝั่งแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย
จังหวัดพังงา 72.00
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
จังหวัดภูเก็ต 77.00
รวม 1,159.55
รวมพื้นที่กันชน 1,748.45 ตารางกิโลเมตร 2,908.00
ทั้งนี้ การเสนอพื้นที่เพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกจะต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1. จัดทำบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งรวบรวมสถานที่ที่มีความสำคัญทั้งหมดภายในประเทศ
* โดย ทส. ได้เสนอเอกสารบัญชีรายชื่อเบื้องต้นให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกเพื่อให้ได้รับการรับรองการเข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) (ตามที่ ทส. เสนอมาในครั้งนี้)
2. เลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้นเพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File)
3. แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และสหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ (World Conservation Union) ซึ่งเป็นองค์กรที่ปรึกษาอยู่ภายใต้คณะกรรมการมรดกโลก (World Heritage Committee) ก่อนให้ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก**
** โดย ทส. จะเสนอเอกสารเพื่อเข้าสู่บัญชีรายชื่อมรดกโลกให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและมอบหมายให้ประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกเป็นผู้ลงนามในเอกสารนำเสนอการเข้าสู่บัญชีรายชื่อมรดกโลก ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส
4. คณะกรรมการจะจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ (World Heritage Committee Session) ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่ได้รับการเสนอชื่อแห่งใดที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ
โดยที่ขณะนี้การนำเสนอแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ พื้นที่อนุรักษ์ทะเลอันดามันอยู่ในขั้นตอนที่ (1) การจัดทำบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งหากประเทศไทยดำเนินการจัดส่ง “เอกสารบัญชีรายชื่อเบื้องต้น พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก” ให้ศูนย์มรดกโลกได้ภายในวันที่ 15 เมษายน 2565 จะได้รับการนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 เพื่อให้ได้การรับรองการเข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลกและจะสามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปเพื่อจัดส่งเอกสารการนำเสนอเป็นมรดกโลกได้ในปี 2566
6. เรื่อง ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ในพื้นที่ป่าชายเลน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และ 2563 ในท้องที่จังหวัดชายฝั่งทะเล 21 จังหวัด
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ในพื้นที่ป่าชายเลนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และ 2563 ในท้องที่จังหวัดชายฝั่งทะเล 21 จังหวัด เพื่อนำที่ดินที่เป็นป่าชายเลน เนื้อที่รวม 4,105 – 0 – 04 ไร่ ไปดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
สาระสำคัญ
ทส. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้ยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้ระงับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนโดยเด็ดขาด (มติคณะรัฐมนตรี 23 กรกฎาคม 2534 22 สิงหาคม 2543 และ 17 ตุลาคม 2543) เพื่อนำที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลนเนื้อที่รวม 4,105 – 0 – 04 ไร่ ในท้องที่จังหวัดชายฝั่งทะเล 21 จังหวัด (จังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต สตูล และตรัง) ไปดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ซึ่ง คทช. ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 มีมติรับทราบด้วยแล้ว โดยในส่วนของค่าใช้จ่ายในการปลูกและบำรุงป่าชายเลนทดแทนไม่น้อยกว่า 20 เท่าของพื้นที่ป่าชายเลนที่ใช้ประโยชน์ ทส. จะดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่าด้วยการปลูกและบำรุงป่าชายเลนทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อม กรณี การดำเนินการโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน พ.ศ. 2556 ต่อไป
อนึ่ง พื้นที่เป้าหมายในการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชนในพื้นที่ป่าชายเลนในครั้งนี้เป็นพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบและอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ ทส. ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ไม่ได้ทับซ้อนกับพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นและไม่กระทบต่อการปฏิบัติตามกฎหมายในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่น และเมื่อได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายแล้วเจ้าหน้าที่จะลงสำรวจพื้นที่ร่วมกับผู้นำหรือผู้แทนชุมชน และมีผู้ที่อยู่อาศัยใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นผู้นำตรวจและนำชี้เป็นรายแปลง
เนื่องจากพื้นที่ป่าชายเลนมีมติคณะรัฐมนตรีห้ามมิให้ใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนในทุกกรณีทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้น การจะเข้าใช้ประโยชน์หรือกระทำการใด จึงต้องขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีก่อน
7. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 14/2564
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน 140.00
3. ชายหาดและป่าสันทรายชายฝั่ง
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี – หาดท้ายเหมือง - มีแนวปะการังทอดตัวยาวขนานกับชายฝั่งถึงเกาะภูเก็ตทางใต้ (เปรียบเทียบได้กับแนวปะการังเกรตแบริเออร์รีฟ ในเครือรัฐออสเตรเลีย ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งมรดกโลก)
- เป็นแหล่งวางไข่ที่สำคัญของเต่ามะเฟืองที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวบนชายฝั่งแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย
จังหวัดพังงา 72.00
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
จังหวัดภูเก็ต 77.00
รวม 1,159.55
รวมพื้นที่กันชน 1,748.45 ตารางกิโลเมตร 2,908.00
ทั้งนี้ การเสนอพื้นที่เพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกจะต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1. จัดทำบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งรวบรวมสถานที่ที่มีความสำคัญทั้งหมดภายในประเทศ
* โดย ทส. ได้เสนอเอกสารบัญชีรายชื่อเบื้องต้นให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกเพื่อให้ได้รับการรับรองการเข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) (ตามที่ ทส. เสนอมาในครั้งนี้)
2. เลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้นเพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File)
3. แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และสหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ (World Conservation Union) ซึ่งเป็นองค์กรที่ปรึกษาอยู่ภายใต้คณะกรรมการมรดกโลก (World Heritage Committee) ก่อนให้ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก**
** โดย ทส. จะเสนอเอกสารเพื่อเข้าสู่บัญชีรายชื่อมรดกโลกให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและมอบหมายให้ประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกเป็นผู้ลงนามในเอกสารนำเสนอการเข้าสู่บัญชีรายชื่อมรดกโลก ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส
4. คณะกรรมการจะจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ (World Heritage Committee Session) ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่ได้รับการเสนอชื่อแห่งใดที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ
โดยที่ขณะนี้การนำเสนอแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ พื้นที่อนุรักษ์ทะเลอันดามันอยู่ในขั้นตอนที่ (1) การจัดทำบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งหากประเทศไทยดำเนินการจัดส่ง “เอกสารบัญชีรายชื่อเบื้องต้น พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก” ให้ศูนย์มรดกโลกได้ภายในวันที่ 15 เมษายน 2565 จะได้รับการนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 เพื่อให้ได้การรับรองการเข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลกและจะสามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปเพื่อจัดส่งเอกสารการนำเสนอเป็นมรดกโลกได้ในปี 2566
6. เรื่อง ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ในพื้นที่ป่าชายเลน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และ 2563 ในท้องที่จังหวัดชายฝั่งทะเล 21 จังหวัด
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ในพื้นที่ป่าชายเลนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และ 2563 ในท้องที่จังหวัดชายฝั่งทะเล 21 จังหวัด เพื่อนำที่ดินที่เป็นป่าชายเลน เนื้อที่รวม 4,105 – 0 – 04 ไร่ ไปดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
สาระสำคัญ
ทส. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้ยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้ระงับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนโดยเด็ดขาด (มติคณะรัฐมนตรี 23 กรกฎาคม 2534 22 สิงหาคม 2543 และ 17 ตุลาคม 2543) เพื่อนำที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลนเนื้อที่รวม 4,105 – 0 – 04 ไร่ ในท้องที่จังหวัดชายฝั่งทะเล 21 จังหวัด (จังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต สตูล และตรัง) ไปดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ซึ่ง คทช. ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 มีมติรับทราบด้วยแล้ว โดยในส่วนของค่าใช้จ่ายในการปลูกและบำรุงป่าชายเลนทดแทนไม่น้อยกว่า 20 เท่าของพื้นที่ป่าชายเลนที่ใช้ประโยชน์ ทส. จะดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่าด้วยการปลูกและบำรุงป่าชายเลนทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อม กรณี การดำเนินการโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน พ.ศ. 2556 ต่อไป
อนึ่ง พื้นที่เป้าหมายในการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชนในพื้นที่ป่าชายเลนในครั้งนี้เป็นพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบและอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ ทส. ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ไม่ได้ทับซ้อนกับพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นและไม่กระทบต่อการปฏิบัติตามกฎหมายในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่น และเมื่อได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายแล้วเจ้าหน้าที่จะลงสำรวจพื้นที่ร่วมกับผู้นำหรือผู้แทนชุมชน และมีผู้ที่อยู่อาศัยใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นผู้นำตรวจและนำชี้เป็นรายแปลง
เนื่องจากพื้นที่ป่าชายเลนมีมติคณะรัฐมนตรีห้ามมิให้ใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนในทุกกรณีทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้น การจะเข้าใช้ประโยชน์หรือกระทำการใด จึงต้องขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีก่อน
7. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 14/2564
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 14/2564 เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 ดังนี้
1. อนุมัติให้นำวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา 5 (2)1 มาใช้เพื่อการตามมาตรา 5 (1)2 เพิ่มเติม (ครั้งที่ 1) จำนวน 20,000 ล้านบาท เพื่อรองรับความต้องการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 สำหรับการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด-19) ของหน่วยงานรับผิดชอบ
2. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบที่ได้รับอนุมัติดำเนินโครงการ โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563) และพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ เร่งดำเนินการคืนเงินกู้เหลือจ่ายและรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการเสนอกระทรวงการคลัง (กค.) ตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ กู้เงิน พ.ศ. 2563) และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ กู้เงิน เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สามารถบริหารกรอบวงเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 และพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. อนุมัติโครงการค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (โครงการฯ) ปี 2564 รอบที่ 5 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแห่งชาติ (สปสช.) กรอบวงเงิน 20,829.2340 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เพื่อเป็นค่าชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ/สถานพยาบาลตามเกณฑ์ที่กำหนดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รอบที่ 5 ทั้งนี้ สปสช. และหน่วยงานรับผิดชอบต้องตรวจสอบรายการค่าใช้จ่ายดังกล่าวว่าเป็นการชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการให้บริการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด 19 ตามวัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 และไม่มีความซ้ำซ้อนกับแหล่งเงินงบประมาณและแหล่งเงินอื่น ๆ
4. มอบหมายให้ สปสช. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการฯ ปี 2564 รอบที่ 5 และดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้ สบน. สามารถจัดหาเงินกู้พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ กู้เงิน เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 อย่างเคร่งครัดตามขั้นตอนต่อไป
สาระสำคัญ
โครงการฯ ปี 2564 รอบที่ 5 ของ สปสช. เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564 สธ. โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอเรื่องโครงการฯ ปี 2564 รอบที่ 5 ของ สปสช. โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. อนุมัติให้นำวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา 5 (2)1 มาใช้เพื่อการตามมาตรา 5 (1)2 เพิ่มเติม (ครั้งที่ 1) จำนวน 20,000 ล้านบาท เพื่อรองรับความต้องการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 สำหรับการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด-19) ของหน่วยงานรับผิดชอบ
2. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบที่ได้รับอนุมัติดำเนินโครงการ โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563) และพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ เร่งดำเนินการคืนเงินกู้เหลือจ่ายและรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการเสนอกระทรวงการคลัง (กค.) ตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ กู้เงิน พ.ศ. 2563) และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ กู้เงิน เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สามารถบริหารกรอบวงเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 และพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. อนุมัติโครงการค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (โครงการฯ) ปี 2564 รอบที่ 5 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแห่งชาติ (สปสช.) กรอบวงเงิน 20,829.2340 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เพื่อเป็นค่าชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ/สถานพยาบาลตามเกณฑ์ที่กำหนดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รอบที่ 5 ทั้งนี้ สปสช. และหน่วยงานรับผิดชอบต้องตรวจสอบรายการค่าใช้จ่ายดังกล่าวว่าเป็นการชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการให้บริการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด 19 ตามวัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 และไม่มีความซ้ำซ้อนกับแหล่งเงินงบประมาณและแหล่งเงินอื่น ๆ
4. มอบหมายให้ สปสช. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการฯ ปี 2564 รอบที่ 5 และดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้ สบน. สามารถจัดหาเงินกู้พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ กู้เงิน เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 อย่างเคร่งครัดตามขั้นตอนต่อไป
สาระสำคัญ
โครงการฯ ปี 2564 รอบที่ 5 ของ สปสช. เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564 สธ. โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอเรื่องโครงการฯ ปี 2564 รอบที่ 5 ของ สปสช. โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น รายละเอียด
วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุข สำหรับการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด 19 ปี 2564 ที่หน่วยบริการ/สถานพยาบาลได้ให้บริการไปแล้วภายในปีงบประมาณ 2564 อาทิ ค่าบริการตรวจคัดกรอง ค่าบริการรักษาพยาบาล ค่าบริการฉีดวัคซีน และค่าตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากการรับวัคซีนโควิด 19 (Vaccine-induced Immune Thrombotic Thrombocytopenia : VITT)3
กลุ่มเป้าหมาย หน่วยบริการหรือสถานพยาบาลที่จัดบริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงผู้ให้บริการสาธารณสุขทั่วประเทศ
วงเงินและแหล่งเงิน 20,829.2340 ล้านบาท โดยขอใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานหรือโครงการกลุ่มที่ 1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564
ระยะเวลาดำเนินงาน 1 เดือน (เดือนตุลาคม 2564)
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ หน่วยบริการ/สถานพยาบาลได้รับการจ่ายชดเชยค่าบริการตรวจคัดกรอง บริการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ บริการรักษาพยาบาล บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ตามผลการบริการที่เกิดขึ้นจริง
1 เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย ให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2 เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
3 คือ การเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันกับเกล็ดเลือดต่ำที่พบได้หลังจากการฉีดวัคซีนโควิด 19 มีการรายงานพบภาวะ VITT ได้หลังการฉีดวัคซีน 2 ชนิดคือ AstraZenaca และ Johnson & Johnson โดยองค์ประกอบของวัคซีนบางส่วนทำให้ร่างกายของผู้ที่ได้รับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาไปกระตุ้นเกล็ดเลือด จนทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันและเกล็ดเลือดต่ำ โดยผู้ป่วยจากภาวะดังกล่าวจะมีอาการตั้งแต่มึนศีรษะ ปวดศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน ตามัว แขนขาอ่อนแรง ไปจนถึงมีลิ่มเลือดอุดตันในช่องท้อง
8. เรื่อง แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมปีท่องเที่ยวไทย 2565 (Visit Thailand Year 2022)
คณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมปีท่องเที่ยวไทย 2565 (Visit Thailand Year 2022) ภายใต้แนวคิด Visit Thailand Year 2022 : Amazing New Chapters ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เสนอ
สาระสำคัญ
1. วัตถุประสงค์การดำเนินงานปีท่องเที่ยวไทย 2565
1. เพื่อให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจในการนำรายได้เข้าประเทศ เพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจภาพรวมและสังคมของประเทศไทย
2. เพื่อประกาศความพร้อมของประเทศไทยในการพลิกโฉม เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวในปี 2565
3. สร้างจุดขายที่แตกต่างให้กับประเทศไทย พร้อมยกระดับภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยในฐานะ Quality Leisure Destination สู่การเป็น Preferred Destination
4. เพื่อดึงดูด เชิญชวน และกระตุ้นการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมายให้เกิดความสนใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย
2. แนวคิดการนำเสนอปีท่องเที่ยวไทย
1. พลิกโฉมประเทศไทย ผ่านการสื่อสารการตลาดในแคมเปญ Visit Thailand Year 2022 : Amazing New Chapters
2. นำเสนอสินค้า บริการ และกิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวจะได้รับในแนวคิด From A to Z Amazing Thailand Has it All โดยแบ่งการนำเสนอขายครอบคลุมการดำเนินงานทั้งปี 2565 ผ่านตัวอักษร A ถึง Z
3. กำหนดแนวทางการสื่อสารแคมเปญ Visit Thailand Year 2022 : Amazing New Chapters โดยแบ่งแนวทางการนำเสนอสินค้า บริการ และกิจกรรมทางการท่องเที่ยว เป็น Chapter ได้แก่
Chapter ที่ 1 : The First Chapter นำเสนอประสบการณ์และสร้างความรู้สึกใหม่ให้กับนักท่องเที่ยวผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส พร้อมทั้งมอบประสบการณ์ท่องเที่ยวที่เหนือความคาดหมายที่นักท่องเที่ยวจะได้รับ โดยนำเสนอตัวอย่างตัวอักษรชุดแรก ได้แก่
A-Awaken Your Senses
B-Beyond Expectation
C-Craft Your Imagination
Chapter ที่ 2 : The One You Love เพื่อเชิญชวนคนที่คุณรัก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มครอบครัว คู่รัก หรือกลุ่มเพื่อน ให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทย เพื่อสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวที่น่าประทับใจ ร่วมกัน โดยนำเสนอตัวอย่างตัวอักษร ได้แก่
N-New Expressions of Romance
O-Overjoyed with Excitement
P-Pump Your Heart with Flames of Passion
Chapter ที่ 3 : The Earth We Care นำเสนอประเทศไทยและแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิดเป็นภาพของ Responsible Tourism พร้อมทั้งนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม และอุดมสมบูรณ์มากขึ้นของประเทศไทยที่รอนักท่องเที่ยวมาสัมผัส และร่วมกันรักษาแหล่งท่องเที่ยวไปด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวในวิถีชีวิต ชุมชนท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ของไทย โดยนำเสนอตัวอย่างตัวอักษร ได้แก่
R-Reconnect with Nature
S-Submerge Yourself in Local Culture
ทั้งนี้ ในการดำเนินงานสื่อสารการตลาดประเทศไทยจะมี New Chapters นำเสนอขายสินค้า บริการ และกิจกรรมทางการท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาค้นหาและสัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ มากกว่าที่เคยตลอดปี 2565
3. แนวคิดการดำเนินงาน
3.1 กลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมาย
นักท่องเที่ยวต่างประเทศ
3.2 รูปแบบการดำเนินงาน
ด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างการรับรู้ โดยเสนอภาพประเทศไทยผ่านสินค้า บริการ และกิจกรรมทางการท่องเที่ยว โดยใช้แคมเปญ Visit Thailand Year 2022 : Amazing New Chapters พร้อมนำเสนอสินค้า บริการ และกิจกรรมทางการท่องเที่ยว ผ่านตัวอักษร A ถึง Z ใน แนวคิด From A to Z Amazing Thailand Has It All
1) ออกแบบสร้างสรรค์ และผลิตชิ้นงานภาพยนตร์โฆษณา ความยาว 2 นาที เพื่อสื่อสารแนวคิด
2) ดำเนินการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในงานส่งเสริมการขายต่างประเทศ อาทิ
- การเปิดตัวแคมเปญ Visit Thailand Year 2022 : Amazing New Chapters ในงานส่งเสริมการขาย World Travel Market 2021 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ในเดือนพฤศจิกายน 2564 ซึ่งเป็นงานส่งเสริมการขายทางการท่องเที่ยวที่มีความสำคัญที่สุดระดับโลกในตลาดท่องเที่ยว พร้อมทั้งจัดกิจกรรม Press Conference เพื่อสร้างการรับรู้ และสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย ไปยังกลุ่มเป้าหมายกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว สื่อมวลชน และนักท่องเที่ยวต่างชาติ
- จัดกิจกรรม Visit Thailand Year 2022 Welcome Reception with Friends of Thailand ณ JW Marriott Marquis Dubai ในช่วงงาน Expo 2020 Dubai พร้อมเปิดตัวแคมเปญ Visit Thailand Year 2022, Amazing New Chapters ให้แก่ผู้เข้าร่วมงานเป็นกลุ่มชาวเอมิเรตส์ (Emiratis) รวมถึงเป็น influencer ที่มีความสำคัญในแวดวงสังคม
3) จัดทำแผนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และดำเนินการผ่านการสื่อสารทุกช่องทาง เพื่อก่อให้เกิดการรับรู้สู่กลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างแพร่หลาย อาทิ
- สื่อโทรทัศน์
- สื่อสิ่งพิมพ์ (หนังสือพิมพ์ และนิตยสารชั้นนำ)
- สื่อวิทยุ
- สื่อออนไลน์ในเว็บไซต์ยอดนิยม และเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ของ ททท. Blogger Celebrity Social Media ฯลฯ
- สื่อพิเศษ (บิลบอร์ด จอ LED Wraps รถตู้ ททท. ฯลฯ)
4) เชิญสื่อมวลชน และผู้ประกอบการท่องเที่ยวต่างประเทศ เข้าร่วมสำรวจสินค้าด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่เป้าหมายต่าง ๆ (Mega-Fam Trip)
5) ประสานงานพันธมิตรในและนอกอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โฆษณา ประชาสัมพันธ์แคมเปญผ่านช่องทางต่าง ๆ ของพันธมิตร อาทิ พันธมิตรทางสายการบิน
ด้านส่งเสริมตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ มุ่งเน้นการดำเนินการสื่อสารตลาดแบบบูรณาการและส่งเสริมการขายร่วมกับพันธมิตรทั้งภายในและภายนอกอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยเสนอขายสินค้า บริการและกิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายหลักในแต่ละภูมิภาค
ด้านสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว
1. เริ่มการดำเนินงานในจังหวัดท่องเที่ยวพื้นที่นำร่อง 17 จังหวัด ในพื้นที่ Bluezone ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดกระบี่ จังหวัดชลบุรี (เฉพาะอำเภอบางละมุง เมืองพัทยา อำเภอศรีราชา อำเภอเกาะสีชัง และ อำเภอสัตหีบเฉพาะตำบลนาจอมเทียนและตำบลบางเสร่) จังหวัดเชียงใหม่ (เฉพาะอำเภอเมืองเชียงใหม่ อำเภอดอยเด่า อำเภอแม่ริม และอำเภอแม่แตง จังหวัดตราด (เฉพาะอำเภอเกาะช้าง) จังหวัดบุรีรัมย์ (เฉพาะอำเภอเมืองบุรีรัมย์) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (เฉพาะตำบลหัวหินและตำบลหนองแก) จังหวัดพังงา จังหวัดเพชรบุรี (เฉพาะเทศบาลเมืองชะอำ) จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง (เฉพาะเกาะพยาม) จังหวัดระยอง (เฉพาะเกาะเสม็ด) จังหวัดเลย (เฉพาะอำเภอเชียงคาน) จังหวัดสมุทรปราการ (เฉพาะบริเวณพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เฉพาะเกาะสมุย เกาะพงัน และเกาะเต่า) จังหวัดหนองคาย (เฉพาะอำเภอเมืองหนองคาย อำเภอสังคม อำเภอศรีเชียงใหม่ และ อำเภอท่าบ่อ) จังหวัดอุดรธานี (เฉพาะอำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอบ้านดุง อำเภอกุมภวาปี อำเภอนายูง อำเภอหนองหาน และ อำเภอประจักษ์ศิลปาคม)
2. ขยายการดำเนินงานไปยังจังหวัดท่องเที่ยวอื่นทั่วประเทศ พร้อมนำเสนอแหล่งท่องเที่ยว สินค้า บริการทางการท่องเที่ยว กิจกรรมและเทศกาลประเพณี ตามแนวคิดและสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดของ ททท.
9. เรื่อง ขออนุมัติดำเนินงานโครงการประมูลสิทธิ์งานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 และจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการยื่นประมูลสิทธิ์การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 (ระดับ B) และจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 (ระดับ A1) ต่อสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ International Association of Horticultural Producers (AIPH) โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
สาระสำคัญ
โครงการประมูลสิทธิ์การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 และจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 มีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ระยะเวลา และสถานที่ ของการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก รายละเอียดโดยสรุป ดังนี้
1. จังหวัดอุดรธานี (จัดงานระดับ B)
1) วัตถุประสงค์
1.1 แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาด้านพืชสวนของไทยรวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำและสมุนไพร ตลอดจนการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและเทคโนโลยีด้านพืชสวน ในระดับชาติ และระดับนานาชาติ
1.2 ลดความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้ ด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศด้านธุรกิจ ด้านการนำเข้า-ส่งออก ผลิตผลการเกษตร ธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรมและธุรกิจด้านการบริการด้านต่าง ๆ
1.3 ส่งเสริมการพัฒนาและต่อยอดการเกษตรด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อสร้างพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ให้เป็นศูนย์กลางด้านการค้าการลงทุนของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)
1.4 สร้างจังหวัดอุดรธานีให้เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมด้านการเกษตรของภูมิภาคลุ่มน้ำโขง GMS เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิต วิจัย และการต่อยอดสู่ BCG Model (Bio Economy, Circular Economy, Green Economy) เศรษฐกิจชีวภาพ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และระบบเศรษฐกิจสีเขียว สร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ
การเฉลิมฉลองที่สำคัญของประเทศและจังหวัดอุดรธานี
(1) ในปี พ.ศ. 2569 เป็นปีที่ประชาชนชาวไทยจะมีโอกาสได้ร่วมเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 10 ปี ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดมบรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุครบ 6 รอบ หรือ 72 พรรษา
(3) เฉลิมฉลองการก่อตั้งจังหวัดอุดรธานี ครบ 134 ปี โดยกรมพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมพระผู้สถาปนาเมืองอุดรธานี
2) เป้าหมาย จำนวนผู้เข้าชมงาน 3.6 ล้านคน (แบ่งเป็นชาวไทย ร้อยละ 70 และชาวต่างประเทศ ร้อยละ 30) จำนวนประเทศที่เข้าร่วมงานไม่น้อยกว่า 20 ประเทศ/องค์กร/สมาคม
3) ระยะเวลาจัดงาน 134 วัน ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2569 - 14 มีนาคม 2570
4) สถานที่จัดงาน พื้นที่ชุ่มน้ำหนองแด ตำบลกุดสระ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี พื้นที่รวม 1,030 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่น้ำ 400 ไร่ และพื้นดิน 630 ไร่
5) ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดอุดรธานี และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
2. จังหวัดนครราชสีมา (จัดงานระดับ A1)
1) วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อแสดงความก้าวหน้าด้านพันธุ์พืช เทคโนโลยี และนวัตกรรมการผลิตพืชสวน การแปรรูปและผลิตภัณฑ์แบบครบวงจร การเป็นฐานเกษตร และอาหารที่เข้มแข็งบนพื้นฐานของการพัฒนา รวมทั้งการสร้างสมดุลทางธรรมชาติด้านการวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทย
1.2 เพื่อให้เกิดการยกระดับและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อมูลข่าวสารทางด้านพืชสวนและการเกษตรกับนานาประเทศที่มาร่วมงาน และส่งเสริมให้เกิดการขยายตลาดสินค้าการเกษตรให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนและระดมสมองเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในระยะกลางและระยะยาว และสร้างเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศและกับนานาชาติ
1.3 เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ กระจายความเจริญ โอกาสที่จะนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำในเชิงพื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมาและประเทศไทย โดยสร้างตัวแบบหลักการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่สามารถตอบโจทย์ตามยุทธศาสตร์ชาติ
การเฉลิมฉลองที่สำคัญของประเทศและจังหวัดนครราชสีมา
(1) เฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดมบรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชาภิเษก ครบรอบ 1 ทศวรรษ และเฉลิมฉลองทรงมีพระชนมายุครบ 77 พรรษา
(2) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุครบ 74 พรรษา
(3) เฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 203 ปี วีรกรรมท้าวสุรนารี
(4) เฉลิมฉลองการก่อตั้งจังหวัดนครราชสีมา ครบรอบ 355 ปี โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
2) เป้าหมาย จำนวนผู้เข้าชมงาน 2.6 ล้านคน โดยร้อยละ 15 เป็นชาวต่างประเทศจำนวนประเทศที่เข้าร่วมงาน 30 ประเทศ
3) สถานที่จัดงาน พื้นที่ป่าสาธารณประโยชน์โคกหนองรังกา ตำบลเทพาลัย อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 678 ไร่ ประกอบด้วยพื้นที่จัดแสดง (Exhibited area) 523 ไร่ และพื้นที่จอดรถ (Parking area) 155 ไร่
4) ระยะเวลาการจัดงาน 110 วัน ระหว่างวันที่ 10 พฤศจิกายน 2572 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2573
5) ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
ผลกระทบ
1. ด้านเศรษฐกิจ
ตลอดระยะเวลาในการจัดงานของจังหวัดอุดรธานี มีมูลค่าการสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) กว่า 20,000 ล้านบาท สร้างการจ้างงานกว่า 81,000 อัตรา รายได้จากการเก็บภาษีกว่า 7,700 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้จังหวัดอุดรธานี เกิดรายได้สะพัดกว่า 32,000 ล้านบาท
ตลอดระยะเวลาในการจัดงานของจังหวัดนครราชสีมา มีมูลค่าการสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) กว่า 9,163 ล้านบาท สร้างการจ้างงานกว่า 36,003 อัตรา และรายได้จากการเก็บภาษีกว่า 3,429 ล้านบาท ซึ่งทำให้จังหวัดนครราชสีมา เกิดรายได้สะพัดกว่า 18,942.64 ล้านบาท
2. ด้านการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของประเทศ สามารถเผยแพร่ให้นานาชาติเห็นถึงการพัฒนาด้านการเกษตรของประเทศ ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถี การอยู่ร่วมกันของคนไทยกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งเผยแพร่พระราชดำริด้านการเกษตรในการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนสู่ประชาคมโลก
3. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ องค์กรนานาชาติ สามารถกระชับความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ และ องค์กรนานาชาติ ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมในงานมากกว่า 20 ประเทศ/องค์กร
4. ด้านสังคม สามารถสร้างงานและกระจายรายได้ให้กับคนในพื้นที่และจังหวัดข้างเคียง ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านพืชสวนและการเกษตรให้กับท้องถิ่น เช่น การศึกษาวิจัย รวมไปถึงกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการต่อยอด ประชาชนชาวไทยจะได้มีโอกาสร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่สำคัญ และลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาเมือง
5. ด้านการเกษตร สามารถแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและเป็นแหล่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพ สามารถผลิตอาหารที่มีความปลอดภัยและได้มาตรฐานสากล มีวัฒนธรรมการบริโภคที่มีความหลากหลาย มีศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีที่ล้ำค่า รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เชิงอนุรักษ์การเกษตร
6. ด้านการเพิ่มพูนประสบการณ์และองค์ความรู้ มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระดับนานาชาติร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อต่อยอดงานวิจัยและการพัฒนาพืชสวนของไทย อันจะเป็นโอกาสให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐ เอกชน ได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางด้านพืชสวน และรูปแบบการจัดนิทรรศการในประเทศและนานาชาติ เนื่องจากในงานจะเป็นจุดรวมเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านพืชสวนของประเทศที่มาร่วมงาน รวมทั้งการเปิดโอกาสให้เกษตรกรและผู้ประกอบการ ประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และเพื่อร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมด้านพืชสวนต่อไป
ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มาของงบประมาณ
1. ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มาของงบประมาณการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 และจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้ดำเนินการในขั้นตอนของบประมาณตามกฎหมายต่อไป
2. สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ได้จัดสรรงบประมาณการประมูลสิทธิ์ที่ได้รับจัดสรรจากงบยุทธศาสตร์ประจำปี 2565
จำนวน 15 ล้านบาท ตามรายละเอียด ดังนี้
(1) ค่าประกันสิทธิ์ (Financial Guarantee) ในปี 2565
จำนวนเงิน 10 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น
- จังหวัดอุดรธานี จำนวน 4 ล้านบาท
- จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 6 ล้านบาท
(2) ค่าดำเนินการสำรวจพื้นที่จังหวัดอุดรธานีในเดือนมกราคม และจังหวัดนครราชสีมา ของคณะกรรมการ AIPH (AIPH Site inspection) ในปี พ.ศ. 2565 จำนวน 5 ล้านบาท
ต่างประเทศ10. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 21
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ธากาเพื่อเป็นผลลัพธ์ของการประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 21 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างแถลงการณ์ธากาในการประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 21 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
สาระสำคัญ
1. ร่างแถลงการณ์ธากาเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 21 เพื่อแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองระดับรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกในการขับเคลื่อนความร่วมมือในภูมิภาค สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ (1) ยินดีต่อการรับตำแหน่งประธานของบังกลาเทศ (2) รับทราบถึงการทำหน้าที่อย่างดียิ่งของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธาน ระหว่างปี 2562 – 2564 (3) ส่งเสริมความร่วมมือและสนับสนุนให้สมาคมฯ มีบทบาทหลักในการใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรอินเดียอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และการรับมือกับความท้าทายและประเด็นสำคัญอื่น ๆ โดยเฉพาะการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโรคโควิด-19 (4) รับทราบผลการคัดเลือกเลขาธิการสมาคมฯ คนใหม่ (5) รับรองสหพันธรัฐรัสเซียและซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศคู่เจรจา ลำดับที่ 10 และ 11 ของสมาคมฯ (6) รับทราบการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย (ค.ศ. 2017-2021) และผลการจัดทำแผนปฏิบัติการสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดียฉบับที่สอง (ค.ศ. 2022-2027) และ (7) รับทราบการปรับปรุงการบริหารจัดการของสมาคมฯ
2. ร่างแถลงการณ์ธากาไม่มีถ้อยคำและบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ กอปรกับไม่มีการลงนามในเอกสารดังกล่าว จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
(ไทยจะรับรองร่างแถลงการณ์ธากาในการประชุมสภารัฐมนตรีอาเซียนสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดียครั้งที่ 21 ในวันที่ 17 พ.ย. 64 ผ่านระบบการประชุมทางไกล)
11. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมแสดงเจตจำนงว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟ ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมแสดงเจตจำนงว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟ ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (ร่างความตกลงว่าด้วยการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุง แก้ไขร่างความตกลงว่าด้วยการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญก่อนการลงนาม และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้อยู่ในดุลยพินิจของกระทรวงคมนาคม โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยสำหรับการลงนามดังกล่าว ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
คค. รายงานว่า
1. แถลงการณ์ร่วมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและกระชับความร่วมมือด้านระบบราง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาการขนส่งทางรถไฟและระบบขนส่งมวลชนในเมือง ภายใต้กลไกคณะทำงานร่วมระบบรางไทย – เยอรมนี และคณะทำงานกลุ่มย่อยตามกิจกรรมความร่วมมือใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ด้านการวิจัยและพัฒนา (2) ด้านการประกอบการเดินรถ และ (3) ด้านอุตสาหกรรมระบบราง และมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น สาระสำคัญ
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและกระชับความร่วมมือด้านระบบราง
ขอบเขตความร่วมมือทางวิชาการ - สนับสนุนความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมระบบราง ผู้ให้บริการเดินรถภายในประเทศ และผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ องค์กรที่อยู่ในภาคส่วนของระบบราง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่าย เช่น การหาความเป็นไปได้ที่จะแลกเปลี่ยน ให้ความรู้ และฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และเจ้าหน้าที่ทางเทคนิค
- สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมระบบรางสำหรับโครงการความร่วมมือในขอบเขตการขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชนในเมือง เช่น การสนับสนุนให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมให้ระบบรางในประเทศไทยมีความทันสมัยอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ค่าใช้จ่าย แต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินการตามแถลงการณ์ร่วมฯ ของตนเอง เว้นแต่จะมีการตกลงกันโดยทั้งสองฝ่ายเป็นการล่วงหน้า
บททั่วไป ไม่มีเจตนาให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายใด ๆ
การมีผลใช้บังคับ ระยะเวลาการสิ้นสุดและการแก้ไข - มีผลใช้บังคับในวันที่ทั้งสองฝ่ายลงนาม
- แถลงการณ์ร่วมฯ มีอายุ 3 ปี
- อาจมีการต่ออายุได้อีกคราวละ 2 ปี ตามความเห็นชอบร่วมกันของทั้งสองฝ่ายเป็นลายลักษณ์อักษร [ตามข้อ 5 (2) ในแถลงการณ์ร่วมฯ]
- สามารถแก้ไขเพิ่มเติมและยกเลิกได้โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
- การสิ้นสุดของแถลงการณ์ร่วมฯ จะไม่กระทบต่อกิจกรรมซึ่งดำเนินการแล้ว หรือได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองฝ่ายแล้วทั้งนี้ แถลงการณ์ร่วมดังกล่าวได้สิ้นสุดการมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562
2. ต่อมา คค. และกระทรวงคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมฯ (ครั้งที่ 1) เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2563 โดยให้ความตกลงว่าด้วยการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมฯ เริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2562 ถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งที่ผ่านมาฝ่ายไทยและฝ่ายเยอรมนีได้ร่วมกันจัดกิจกรรมและดำเนินการต่าง ๆ ภายใต้แถลงการณ์ร่วมดังกล่าว เช่น
2.1 การจัดตั้งสมาคมระบบรางไทย – เยอรมนี (German – Thai Railway Association: GTRA) เพื่อเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความรู้ การพัฒนาบุคลากรและการวิจัยต่าง ๆ รวมทั้งขับเคลื่อนความร่วมมือด้านระบบรางให้มีความยั่งยืนและเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ สมาคมดังกล่าวได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564
2.2 ความร่วมมือทางวิชาการ เช่น (1) การจัดทำหลักสูตรปริญญาโทร่วม สาขาวิศวกรรมระบบรางและโครงสร้างพื้นฐาน (หลักสูตรนานาชาติ) ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัย RWTH Aachen แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และ (2) ความร่วมมือในการแปลตำราทางวิชาการภาษาเยอรมันเป็นตำราภาษาไทย ชื่อ “วิศวกรรมเทคโนโลยีระบบราง” (Schienenfahrzeugtechnik) ซึ่งตีพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2.3 การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้และบุคลากร โดยมีภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย ผู้ประกอบการด้านรถไฟฟ้า และบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
2.4 การจัดเสวนาทางไกลเพื่อหารือเกี่ยวกับการกระชับความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างบริษัทไทยและเยอรมนีเพื่อยกระดับระบบรถไฟของประเทศไทย
3. เพื่อให้การดำเนินงาน กิจกรรม และโครงการภายใต้การพัฒนาความร่วมมือเป็นไปอย่างต่อเนื่อง คค. จึงเสนอให้มีการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวต่อเนื่องไปอีก 2 ปี (เป็นการต่ออายุครั้งที่ 2) โดยได้ระบุให้ความตกลงว่าด้วยการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมฯ เริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566
4. คค. เห็นว่า ร่างความตกลงว่าด้วยการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงาน กิจกรรมและโครงการภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการ รวมถึงความร่วมมือและการลงทุนด้านอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศไทย โดยไม่มีพันธะผูกพันทางกฎหมายในระดับสากล จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
12. เรื่อง ร่างบันทึกการประชุม (Agreed Minutes) ของการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย – เวียดนาม ครั้งที่ 4
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกการประชุม (Agreed Minutes) ของการประชุม JCBC ไทย - เวียดนาม ครั้งที่ 4 ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างบันทึกการประชุมฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก โดยให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมรับรองร่างบันทึกการประชุมฯ ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
สาระสำคัญ
กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้ร่วมกันจัดทำร่างบันทึกการประชุมฯ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างบันทึกการประชุมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมของรัฐบาลทั้งสองประเทศที่จะส่งเสริมความร่วมมืออย่างรอบด้านทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี โดยเฉพาะการส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมและมองไปข้างหน้าในบริบทของการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของทั้งสองประเทศจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ไทย - เวียดนามในฐานะ “หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็ง (Strengthened Strategic Partnership)” ให้มีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและตอบสนองต่อผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ โดยเน้นความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการเจริญเติบโต ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพ และความเป็นหุ้นส่วนเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
2. ร่างบันทึกการประชุมฯ ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน มีเนื้อหาที่สะท้อนเจตนารมณ์ของทั้งสองฝ่ายที่จะผลักดันความร่วมมือที่ใกล้ชิดในด้านต่าง ๆ อาทิ (1) ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง (2) ความร่วมมือด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (3) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน (4) ความร่วมมือด้านสังคม วัฒนธรรม และประชาชน (5) ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และ (6) ความร่วมมือในกรอบพหุภาคีต่าง ๆ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้ขอรับความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
3. ร่างบันทึกการประชุมฯ เป็นการบันทึกผลการประชุมของคณะกรรมาธิการร่วมฯ ที่แสดงวิสัยทัศน์และเจตนารมณ์ร่วมกันของฝ่ายไทยและเวียดนามในการพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีในสาขาความร่วมมือด้านต่าง ๆ ตามนัยข้อ 2 โดยไม่มีการลงนาม และมิได้มีรูปแบบ ถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น ร่างบันทึกการประชุมฯ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
ทั้งนี้ ร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ เป็นการกำหนดทิศทางความร่วมมือระหว่างไทยกับเวียดนามในระยะต่อไป ในฐานะ “หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็ง” โดยเฉพาะความร่วมมือในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของทั้งสองประเทศจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นด้วย
แต่งตั้ง13. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง จำนวน 4 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างและสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้
1. นายชุตินทร คงศักดิ์ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ สาธารณรัฐสิงคโปร์
2. นางวิลาวรรณ มังคละธนะกุล อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
3. นายปิยภักดิ์ ศรีเจริญ เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมานามา ราชอาณาจักรบาห์เรน
4. นายทวีเกียรติ เจนประจักษ์ อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ณ ไทเป
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศตามข้อ 1. และ 3. ได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ
14. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี ศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 10 สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
15. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เสนอรับโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงมหาดไทย และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง สังกัดศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
1. นายศรัทธา คชพลายุกต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. นายบุญพาศ รักนุ้ย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป โดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนแล้ว
16. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เพื่อเป็นการสับเปลี่ยนหมุนเวียนและเพื่อทดแทนผู้ที่เกษียณอายุราชการ ดังนี้
1. นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
2. นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ
3. นายวันชัย วราวิทย์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุข สำหรับการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด 19 ปี 2564 ที่หน่วยบริการ/สถานพยาบาลได้ให้บริการไปแล้วภายในปีงบประมาณ 2564 อาทิ ค่าบริการตรวจคัดกรอง ค่าบริการรักษาพยาบาล ค่าบริการฉีดวัคซีน และค่าตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากการรับวัคซีนโควิด 19 (Vaccine-induced Immune Thrombotic Thrombocytopenia : VITT)3
กลุ่มเป้าหมาย หน่วยบริการหรือสถานพยาบาลที่จัดบริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงผู้ให้บริการสาธารณสุขทั่วประเทศ
วงเงินและแหล่งเงิน 20,829.2340 ล้านบาท โดยขอใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานหรือโครงการกลุ่มที่ 1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564
ระยะเวลาดำเนินงาน 1 เดือน (เดือนตุลาคม 2564)
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ หน่วยบริการ/สถานพยาบาลได้รับการจ่ายชดเชยค่าบริการตรวจคัดกรอง บริการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ บริการรักษาพยาบาล บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ตามผลการบริการที่เกิดขึ้นจริง
1 เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย ให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2 เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
3 คือ การเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันกับเกล็ดเลือดต่ำที่พบได้หลังจากการฉีดวัคซีนโควิด 19 มีการรายงานพบภาวะ VITT ได้หลังการฉีดวัคซีน 2 ชนิดคือ AstraZenaca และ Johnson & Johnson โดยองค์ประกอบของวัคซีนบางส่วนทำให้ร่างกายของผู้ที่ได้รับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาไปกระตุ้นเกล็ดเลือด จนทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันและเกล็ดเลือดต่ำ โดยผู้ป่วยจากภาวะดังกล่าวจะมีอาการตั้งแต่มึนศีรษะ ปวดศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน ตามัว แขนขาอ่อนแรง ไปจนถึงมีลิ่มเลือดอุดตันในช่องท้อง
8. เรื่อง แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมปีท่องเที่ยวไทย 2565 (Visit Thailand Year 2022)
คณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมปีท่องเที่ยวไทย 2565 (Visit Thailand Year 2022) ภายใต้แนวคิด Visit Thailand Year 2022 : Amazing New Chapters ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เสนอ
สาระสำคัญ
1. วัตถุประสงค์การดำเนินงานปีท่องเที่ยวไทย 2565
1. เพื่อให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจในการนำรายได้เข้าประเทศ เพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจภาพรวมและสังคมของประเทศไทย
2. เพื่อประกาศความพร้อมของประเทศไทยในการพลิกโฉม เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวในปี 2565
3. สร้างจุดขายที่แตกต่างให้กับประเทศไทย พร้อมยกระดับภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยในฐานะ Quality Leisure Destination สู่การเป็น Preferred Destination
4. เพื่อดึงดูด เชิญชวน และกระตุ้นการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมายให้เกิดความสนใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย
2. แนวคิดการนำเสนอปีท่องเที่ยวไทย
1. พลิกโฉมประเทศไทย ผ่านการสื่อสารการตลาดในแคมเปญ Visit Thailand Year 2022 : Amazing New Chapters
2. นำเสนอสินค้า บริการ และกิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวจะได้รับในแนวคิด From A to Z Amazing Thailand Has it All โดยแบ่งการนำเสนอขายครอบคลุมการดำเนินงานทั้งปี 2565 ผ่านตัวอักษร A ถึง Z
3. กำหนดแนวทางการสื่อสารแคมเปญ Visit Thailand Year 2022 : Amazing New Chapters โดยแบ่งแนวทางการนำเสนอสินค้า บริการ และกิจกรรมทางการท่องเที่ยว เป็น Chapter ได้แก่
Chapter ที่ 1 : The First Chapter นำเสนอประสบการณ์และสร้างความรู้สึกใหม่ให้กับนักท่องเที่ยวผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส พร้อมทั้งมอบประสบการณ์ท่องเที่ยวที่เหนือความคาดหมายที่นักท่องเที่ยวจะได้รับ โดยนำเสนอตัวอย่างตัวอักษรชุดแรก ได้แก่
A-Awaken Your Senses
B-Beyond Expectation
C-Craft Your Imagination
Chapter ที่ 2 : The One You Love เพื่อเชิญชวนคนที่คุณรัก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มครอบครัว คู่รัก หรือกลุ่มเพื่อน ให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทย เพื่อสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวที่น่าประทับใจ ร่วมกัน โดยนำเสนอตัวอย่างตัวอักษร ได้แก่
N-New Expressions of Romance
O-Overjoyed with Excitement
P-Pump Your Heart with Flames of Passion
Chapter ที่ 3 : The Earth We Care นำเสนอประเทศไทยและแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิดเป็นภาพของ Responsible Tourism พร้อมทั้งนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม และอุดมสมบูรณ์มากขึ้นของประเทศไทยที่รอนักท่องเที่ยวมาสัมผัส และร่วมกันรักษาแหล่งท่องเที่ยวไปด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวในวิถีชีวิต ชุมชนท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ของไทย โดยนำเสนอตัวอย่างตัวอักษร ได้แก่
R-Reconnect with Nature
S-Submerge Yourself in Local Culture
ทั้งนี้ ในการดำเนินงานสื่อสารการตลาดประเทศไทยจะมี New Chapters นำเสนอขายสินค้า บริการ และกิจกรรมทางการท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาค้นหาและสัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ มากกว่าที่เคยตลอดปี 2565
3. แนวคิดการดำเนินงาน
3.1 กลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมาย
นักท่องเที่ยวต่างประเทศ
3.2 รูปแบบการดำเนินงาน
ด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างการรับรู้ โดยเสนอภาพประเทศไทยผ่านสินค้า บริการ และกิจกรรมทางการท่องเที่ยว โดยใช้แคมเปญ Visit Thailand Year 2022 : Amazing New Chapters พร้อมนำเสนอสินค้า บริการ และกิจกรรมทางการท่องเที่ยว ผ่านตัวอักษร A ถึง Z ใน แนวคิด From A to Z Amazing Thailand Has It All
1) ออกแบบสร้างสรรค์ และผลิตชิ้นงานภาพยนตร์โฆษณา ความยาว 2 นาที เพื่อสื่อสารแนวคิด
2) ดำเนินการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในงานส่งเสริมการขายต่างประเทศ อาทิ
- การเปิดตัวแคมเปญ Visit Thailand Year 2022 : Amazing New Chapters ในงานส่งเสริมการขาย World Travel Market 2021 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ในเดือนพฤศจิกายน 2564 ซึ่งเป็นงานส่งเสริมการขายทางการท่องเที่ยวที่มีความสำคัญที่สุดระดับโลกในตลาดท่องเที่ยว พร้อมทั้งจัดกิจกรรม Press Conference เพื่อสร้างการรับรู้ และสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย ไปยังกลุ่มเป้าหมายกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว สื่อมวลชน และนักท่องเที่ยวต่างชาติ
- จัดกิจกรรม Visit Thailand Year 2022 Welcome Reception with Friends of Thailand ณ JW Marriott Marquis Dubai ในช่วงงาน Expo 2020 Dubai พร้อมเปิดตัวแคมเปญ Visit Thailand Year 2022, Amazing New Chapters ให้แก่ผู้เข้าร่วมงานเป็นกลุ่มชาวเอมิเรตส์ (Emiratis) รวมถึงเป็น influencer ที่มีความสำคัญในแวดวงสังคม
3) จัดทำแผนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และดำเนินการผ่านการสื่อสารทุกช่องทาง เพื่อก่อให้เกิดการรับรู้สู่กลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างแพร่หลาย อาทิ
- สื่อโทรทัศน์
- สื่อสิ่งพิมพ์ (หนังสือพิมพ์ และนิตยสารชั้นนำ)
- สื่อวิทยุ
- สื่อออนไลน์ในเว็บไซต์ยอดนิยม และเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ของ ททท. Blogger Celebrity Social Media ฯลฯ
- สื่อพิเศษ (บิลบอร์ด จอ LED Wraps รถตู้ ททท. ฯลฯ)
4) เชิญสื่อมวลชน และผู้ประกอบการท่องเที่ยวต่างประเทศ เข้าร่วมสำรวจสินค้าด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่เป้าหมายต่าง ๆ (Mega-Fam Trip)
5) ประสานงานพันธมิตรในและนอกอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โฆษณา ประชาสัมพันธ์แคมเปญผ่านช่องทางต่าง ๆ ของพันธมิตร อาทิ พันธมิตรทางสายการบิน
ด้านส่งเสริมตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ มุ่งเน้นการดำเนินการสื่อสารตลาดแบบบูรณาการและส่งเสริมการขายร่วมกับพันธมิตรทั้งภายในและภายนอกอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยเสนอขายสินค้า บริการและกิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายหลักในแต่ละภูมิภาค
ด้านสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว
1. เริ่มการดำเนินงานในจังหวัดท่องเที่ยวพื้นที่นำร่อง 17 จังหวัด ในพื้นที่ Bluezone ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดกระบี่ จังหวัดชลบุรี (เฉพาะอำเภอบางละมุง เมืองพัทยา อำเภอศรีราชา อำเภอเกาะสีชัง และ อำเภอสัตหีบเฉพาะตำบลนาจอมเทียนและตำบลบางเสร่) จังหวัดเชียงใหม่ (เฉพาะอำเภอเมืองเชียงใหม่ อำเภอดอยเด่า อำเภอแม่ริม และอำเภอแม่แตง จังหวัดตราด (เฉพาะอำเภอเกาะช้าง) จังหวัดบุรีรัมย์ (เฉพาะอำเภอเมืองบุรีรัมย์) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (เฉพาะตำบลหัวหินและตำบลหนองแก) จังหวัดพังงา จังหวัดเพชรบุรี (เฉพาะเทศบาลเมืองชะอำ) จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง (เฉพาะเกาะพยาม) จังหวัดระยอง (เฉพาะเกาะเสม็ด) จังหวัดเลย (เฉพาะอำเภอเชียงคาน) จังหวัดสมุทรปราการ (เฉพาะบริเวณพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เฉพาะเกาะสมุย เกาะพงัน และเกาะเต่า) จังหวัดหนองคาย (เฉพาะอำเภอเมืองหนองคาย อำเภอสังคม อำเภอศรีเชียงใหม่ และ อำเภอท่าบ่อ) จังหวัดอุดรธานี (เฉพาะอำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอบ้านดุง อำเภอกุมภวาปี อำเภอนายูง อำเภอหนองหาน และ อำเภอประจักษ์ศิลปาคม)
2. ขยายการดำเนินงานไปยังจังหวัดท่องเที่ยวอื่นทั่วประเทศ พร้อมนำเสนอแหล่งท่องเที่ยว สินค้า บริการทางการท่องเที่ยว กิจกรรมและเทศกาลประเพณี ตามแนวคิดและสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดของ ททท.
9. เรื่อง ขออนุมัติดำเนินงานโครงการประมูลสิทธิ์งานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 และจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการยื่นประมูลสิทธิ์การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 (ระดับ B) และจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 (ระดับ A1) ต่อสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ International Association of Horticultural Producers (AIPH) โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
สาระสำคัญ
โครงการประมูลสิทธิ์การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 และจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 มีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ระยะเวลา และสถานที่ ของการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก รายละเอียดโดยสรุป ดังนี้
1. จังหวัดอุดรธานี (จัดงานระดับ B)
1) วัตถุประสงค์
1.1 แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาด้านพืชสวนของไทยรวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำและสมุนไพร ตลอดจนการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและเทคโนโลยีด้านพืชสวน ในระดับชาติ และระดับนานาชาติ
1.2 ลดความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้ ด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศด้านธุรกิจ ด้านการนำเข้า-ส่งออก ผลิตผลการเกษตร ธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรมและธุรกิจด้านการบริการด้านต่าง ๆ
1.3 ส่งเสริมการพัฒนาและต่อยอดการเกษตรด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อสร้างพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ให้เป็นศูนย์กลางด้านการค้าการลงทุนของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)
1.4 สร้างจังหวัดอุดรธานีให้เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมด้านการเกษตรของภูมิภาคลุ่มน้ำโขง GMS เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิต วิจัย และการต่อยอดสู่ BCG Model (Bio Economy, Circular Economy, Green Economy) เศรษฐกิจชีวภาพ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และระบบเศรษฐกิจสีเขียว สร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ
การเฉลิมฉลองที่สำคัญของประเทศและจังหวัดอุดรธานี
(1) ในปี พ.ศ. 2569 เป็นปีที่ประชาชนชาวไทยจะมีโอกาสได้ร่วมเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 10 ปี ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดมบรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุครบ 6 รอบ หรือ 72 พรรษา
(3) เฉลิมฉลองการก่อตั้งจังหวัดอุดรธานี ครบ 134 ปี โดยกรมพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมพระผู้สถาปนาเมืองอุดรธานี
2) เป้าหมาย จำนวนผู้เข้าชมงาน 3.6 ล้านคน (แบ่งเป็นชาวไทย ร้อยละ 70 และชาวต่างประเทศ ร้อยละ 30) จำนวนประเทศที่เข้าร่วมงานไม่น้อยกว่า 20 ประเทศ/องค์กร/สมาคม
3) ระยะเวลาจัดงาน 134 วัน ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2569 - 14 มีนาคม 2570
4) สถานที่จัดงาน พื้นที่ชุ่มน้ำหนองแด ตำบลกุดสระ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี พื้นที่รวม 1,030 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่น้ำ 400 ไร่ และพื้นดิน 630 ไร่
5) ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดอุดรธานี และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
2. จังหวัดนครราชสีมา (จัดงานระดับ A1)
1) วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อแสดงความก้าวหน้าด้านพันธุ์พืช เทคโนโลยี และนวัตกรรมการผลิตพืชสวน การแปรรูปและผลิตภัณฑ์แบบครบวงจร การเป็นฐานเกษตร และอาหารที่เข้มแข็งบนพื้นฐานของการพัฒนา รวมทั้งการสร้างสมดุลทางธรรมชาติด้านการวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทย
1.2 เพื่อให้เกิดการยกระดับและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อมูลข่าวสารทางด้านพืชสวนและการเกษตรกับนานาประเทศที่มาร่วมงาน และส่งเสริมให้เกิดการขยายตลาดสินค้าการเกษตรให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนและระดมสมองเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในระยะกลางและระยะยาว และสร้างเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศและกับนานาชาติ
1.3 เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ กระจายความเจริญ โอกาสที่จะนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำในเชิงพื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมาและประเทศไทย โดยสร้างตัวแบบหลักการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่สามารถตอบโจทย์ตามยุทธศาสตร์ชาติ
การเฉลิมฉลองที่สำคัญของประเทศและจังหวัดนครราชสีมา
(1) เฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดมบรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชาภิเษก ครบรอบ 1 ทศวรรษ และเฉลิมฉลองทรงมีพระชนมายุครบ 77 พรรษา
(2) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุครบ 74 พรรษา
(3) เฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 203 ปี วีรกรรมท้าวสุรนารี
(4) เฉลิมฉลองการก่อตั้งจังหวัดนครราชสีมา ครบรอบ 355 ปี โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
2) เป้าหมาย จำนวนผู้เข้าชมงาน 2.6 ล้านคน โดยร้อยละ 15 เป็นชาวต่างประเทศจำนวนประเทศที่เข้าร่วมงาน 30 ประเทศ
3) สถานที่จัดงาน พื้นที่ป่าสาธารณประโยชน์โคกหนองรังกา ตำบลเทพาลัย อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 678 ไร่ ประกอบด้วยพื้นที่จัดแสดง (Exhibited area) 523 ไร่ และพื้นที่จอดรถ (Parking area) 155 ไร่
4) ระยะเวลาการจัดงาน 110 วัน ระหว่างวันที่ 10 พฤศจิกายน 2572 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2573
5) ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
ผลกระทบ
1. ด้านเศรษฐกิจ
ตลอดระยะเวลาในการจัดงานของจังหวัดอุดรธานี มีมูลค่าการสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) กว่า 20,000 ล้านบาท สร้างการจ้างงานกว่า 81,000 อัตรา รายได้จากการเก็บภาษีกว่า 7,700 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้จังหวัดอุดรธานี เกิดรายได้สะพัดกว่า 32,000 ล้านบาท
ตลอดระยะเวลาในการจัดงานของจังหวัดนครราชสีมา มีมูลค่าการสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) กว่า 9,163 ล้านบาท สร้างการจ้างงานกว่า 36,003 อัตรา และรายได้จากการเก็บภาษีกว่า 3,429 ล้านบาท ซึ่งทำให้จังหวัดนครราชสีมา เกิดรายได้สะพัดกว่า 18,942.64 ล้านบาท
2. ด้านการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของประเทศ สามารถเผยแพร่ให้นานาชาติเห็นถึงการพัฒนาด้านการเกษตรของประเทศ ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถี การอยู่ร่วมกันของคนไทยกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งเผยแพร่พระราชดำริด้านการเกษตรในการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนสู่ประชาคมโลก
3. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ องค์กรนานาชาติ สามารถกระชับความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ และ องค์กรนานาชาติ ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมในงานมากกว่า 20 ประเทศ/องค์กร
4. ด้านสังคม สามารถสร้างงานและกระจายรายได้ให้กับคนในพื้นที่และจังหวัดข้างเคียง ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านพืชสวนและการเกษตรให้กับท้องถิ่น เช่น การศึกษาวิจัย รวมไปถึงกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการต่อยอด ประชาชนชาวไทยจะได้มีโอกาสร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่สำคัญ และลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาเมือง
5. ด้านการเกษตร สามารถแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและเป็นแหล่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพ สามารถผลิตอาหารที่มีความปลอดภัยและได้มาตรฐานสากล มีวัฒนธรรมการบริโภคที่มีความหลากหลาย มีศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีที่ล้ำค่า รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เชิงอนุรักษ์การเกษตร
6. ด้านการเพิ่มพูนประสบการณ์และองค์ความรู้ มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระดับนานาชาติร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อต่อยอดงานวิจัยและการพัฒนาพืชสวนของไทย อันจะเป็นโอกาสให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐ เอกชน ได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางด้านพืชสวน และรูปแบบการจัดนิทรรศการในประเทศและนานาชาติ เนื่องจากในงานจะเป็นจุดรวมเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านพืชสวนของประเทศที่มาร่วมงาน รวมทั้งการเปิดโอกาสให้เกษตรกรและผู้ประกอบการ ประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และเพื่อร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมด้านพืชสวนต่อไป
ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มาของงบประมาณ
1. ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มาของงบประมาณการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 และจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้ดำเนินการในขั้นตอนของบประมาณตามกฎหมายต่อไป
2. สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ได้จัดสรรงบประมาณการประมูลสิทธิ์ที่ได้รับจัดสรรจากงบยุทธศาสตร์ประจำปี 2565
จำนวน 15 ล้านบาท ตามรายละเอียด ดังนี้
(1) ค่าประกันสิทธิ์ (Financial Guarantee) ในปี 2565
จำนวนเงิน 10 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น
- จังหวัดอุดรธานี จำนวน 4 ล้านบาท
- จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 6 ล้านบาท
(2) ค่าดำเนินการสำรวจพื้นที่จังหวัดอุดรธานีในเดือนมกราคม และจังหวัดนครราชสีมา ของคณะกรรมการ AIPH (AIPH Site inspection) ในปี พ.ศ. 2565 จำนวน 5 ล้านบาท
ต่างประเทศ10. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 21
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ธากาเพื่อเป็นผลลัพธ์ของการประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 21 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างแถลงการณ์ธากาในการประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 21 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
สาระสำคัญ
1. ร่างแถลงการณ์ธากาเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 21 เพื่อแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองระดับรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกในการขับเคลื่อนความร่วมมือในภูมิภาค สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ (1) ยินดีต่อการรับตำแหน่งประธานของบังกลาเทศ (2) รับทราบถึงการทำหน้าที่อย่างดียิ่งของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธาน ระหว่างปี 2562 – 2564 (3) ส่งเสริมความร่วมมือและสนับสนุนให้สมาคมฯ มีบทบาทหลักในการใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรอินเดียอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และการรับมือกับความท้าทายและประเด็นสำคัญอื่น ๆ โดยเฉพาะการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโรคโควิด-19 (4) รับทราบผลการคัดเลือกเลขาธิการสมาคมฯ คนใหม่ (5) รับรองสหพันธรัฐรัสเซียและซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศคู่เจรจา ลำดับที่ 10 และ 11 ของสมาคมฯ (6) รับทราบการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย (ค.ศ. 2017-2021) และผลการจัดทำแผนปฏิบัติการสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดียฉบับที่สอง (ค.ศ. 2022-2027) และ (7) รับทราบการปรับปรุงการบริหารจัดการของสมาคมฯ
2. ร่างแถลงการณ์ธากาไม่มีถ้อยคำและบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ กอปรกับไม่มีการลงนามในเอกสารดังกล่าว จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
(ไทยจะรับรองร่างแถลงการณ์ธากาในการประชุมสภารัฐมนตรีอาเซียนสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดียครั้งที่ 21 ในวันที่ 17 พ.ย. 64 ผ่านระบบการประชุมทางไกล)
11. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมแสดงเจตจำนงว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟ ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมแสดงเจตจำนงว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟ ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (ร่างความตกลงว่าด้วยการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุง แก้ไขร่างความตกลงว่าด้วยการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญก่อนการลงนาม และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้อยู่ในดุลยพินิจของกระทรวงคมนาคม โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยสำหรับการลงนามดังกล่าว ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
คค. รายงานว่า
1. แถลงการณ์ร่วมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและกระชับความร่วมมือด้านระบบราง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาการขนส่งทางรถไฟและระบบขนส่งมวลชนในเมือง ภายใต้กลไกคณะทำงานร่วมระบบรางไทย – เยอรมนี และคณะทำงานกลุ่มย่อยตามกิจกรรมความร่วมมือใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ด้านการวิจัยและพัฒนา (2) ด้านการประกอบการเดินรถ และ (3) ด้านอุตสาหกรรมระบบราง และมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น สาระสำคัญ
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและกระชับความร่วมมือด้านระบบราง
ขอบเขตความร่วมมือทางวิชาการ - สนับสนุนความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมระบบราง ผู้ให้บริการเดินรถภายในประเทศ และผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ องค์กรที่อยู่ในภาคส่วนของระบบราง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่าย เช่น การหาความเป็นไปได้ที่จะแลกเปลี่ยน ให้ความรู้ และฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และเจ้าหน้าที่ทางเทคนิค
- สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมระบบรางสำหรับโครงการความร่วมมือในขอบเขตการขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชนในเมือง เช่น การสนับสนุนให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมให้ระบบรางในประเทศไทยมีความทันสมัยอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ค่าใช้จ่าย แต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินการตามแถลงการณ์ร่วมฯ ของตนเอง เว้นแต่จะมีการตกลงกันโดยทั้งสองฝ่ายเป็นการล่วงหน้า
บททั่วไป ไม่มีเจตนาให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายใด ๆ
การมีผลใช้บังคับ ระยะเวลาการสิ้นสุดและการแก้ไข - มีผลใช้บังคับในวันที่ทั้งสองฝ่ายลงนาม
- แถลงการณ์ร่วมฯ มีอายุ 3 ปี
- อาจมีการต่ออายุได้อีกคราวละ 2 ปี ตามความเห็นชอบร่วมกันของทั้งสองฝ่ายเป็นลายลักษณ์อักษร [ตามข้อ 5 (2) ในแถลงการณ์ร่วมฯ]
- สามารถแก้ไขเพิ่มเติมและยกเลิกได้โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
- การสิ้นสุดของแถลงการณ์ร่วมฯ จะไม่กระทบต่อกิจกรรมซึ่งดำเนินการแล้ว หรือได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองฝ่ายแล้วทั้งนี้ แถลงการณ์ร่วมดังกล่าวได้สิ้นสุดการมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562
2. ต่อมา คค. และกระทรวงคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมฯ (ครั้งที่ 1) เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2563 โดยให้ความตกลงว่าด้วยการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมฯ เริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2562 ถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งที่ผ่านมาฝ่ายไทยและฝ่ายเยอรมนีได้ร่วมกันจัดกิจกรรมและดำเนินการต่าง ๆ ภายใต้แถลงการณ์ร่วมดังกล่าว เช่น
2.1 การจัดตั้งสมาคมระบบรางไทย – เยอรมนี (German – Thai Railway Association: GTRA) เพื่อเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความรู้ การพัฒนาบุคลากรและการวิจัยต่าง ๆ รวมทั้งขับเคลื่อนความร่วมมือด้านระบบรางให้มีความยั่งยืนและเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ สมาคมดังกล่าวได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564
2.2 ความร่วมมือทางวิชาการ เช่น (1) การจัดทำหลักสูตรปริญญาโทร่วม สาขาวิศวกรรมระบบรางและโครงสร้างพื้นฐาน (หลักสูตรนานาชาติ) ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัย RWTH Aachen แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และ (2) ความร่วมมือในการแปลตำราทางวิชาการภาษาเยอรมันเป็นตำราภาษาไทย ชื่อ “วิศวกรรมเทคโนโลยีระบบราง” (Schienenfahrzeugtechnik) ซึ่งตีพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2.3 การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้และบุคลากร โดยมีภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย ผู้ประกอบการด้านรถไฟฟ้า และบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
2.4 การจัดเสวนาทางไกลเพื่อหารือเกี่ยวกับการกระชับความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างบริษัทไทยและเยอรมนีเพื่อยกระดับระบบรถไฟของประเทศไทย
3. เพื่อให้การดำเนินงาน กิจกรรม และโครงการภายใต้การพัฒนาความร่วมมือเป็นไปอย่างต่อเนื่อง คค. จึงเสนอให้มีการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวต่อเนื่องไปอีก 2 ปี (เป็นการต่ออายุครั้งที่ 2) โดยได้ระบุให้ความตกลงว่าด้วยการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมฯ เริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566
4. คค. เห็นว่า ร่างความตกลงว่าด้วยการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงาน กิจกรรมและโครงการภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการ รวมถึงความร่วมมือและการลงทุนด้านอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศไทย โดยไม่มีพันธะผูกพันทางกฎหมายในระดับสากล จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
12. เรื่อง ร่างบันทึกการประชุม (Agreed Minutes) ของการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย – เวียดนาม ครั้งที่ 4
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกการประชุม (Agreed Minutes) ของการประชุม JCBC ไทย - เวียดนาม ครั้งที่ 4 ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างบันทึกการประชุมฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก โดยให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมรับรองร่างบันทึกการประชุมฯ ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
สาระสำคัญ
กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้ร่วมกันจัดทำร่างบันทึกการประชุมฯ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างบันทึกการประชุมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมของรัฐบาลทั้งสองประเทศที่จะส่งเสริมความร่วมมืออย่างรอบด้านทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี โดยเฉพาะการส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมและมองไปข้างหน้าในบริบทของการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของทั้งสองประเทศจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ไทย - เวียดนามในฐานะ “หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็ง (Strengthened Strategic Partnership)” ให้มีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและตอบสนองต่อผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ โดยเน้นความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการเจริญเติบโต ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพ และความเป็นหุ้นส่วนเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
2. ร่างบันทึกการประชุมฯ ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน มีเนื้อหาที่สะท้อนเจตนารมณ์ของทั้งสองฝ่ายที่จะผลักดันความร่วมมือที่ใกล้ชิดในด้านต่าง ๆ อาทิ (1) ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง (2) ความร่วมมือด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (3) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน (4) ความร่วมมือด้านสังคม วัฒนธรรม และประชาชน (5) ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และ (6) ความร่วมมือในกรอบพหุภาคีต่าง ๆ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้ขอรับความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
3. ร่างบันทึกการประชุมฯ เป็นการบันทึกผลการประชุมของคณะกรรมาธิการร่วมฯ ที่แสดงวิสัยทัศน์และเจตนารมณ์ร่วมกันของฝ่ายไทยและเวียดนามในการพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีในสาขาความร่วมมือด้านต่าง ๆ ตามนัยข้อ 2 โดยไม่มีการลงนาม และมิได้มีรูปแบบ ถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น ร่างบันทึกการประชุมฯ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
ทั้งนี้ ร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ เป็นการกำหนดทิศทางความร่วมมือระหว่างไทยกับเวียดนามในระยะต่อไป ในฐานะ “หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็ง” โดยเฉพาะความร่วมมือในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของทั้งสองประเทศจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นด้วย
แต่งตั้ง13. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง จำนวน 4 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างและสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้
1. นายชุตินทร คงศักดิ์ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ สาธารณรัฐสิงคโปร์
2. นางวิลาวรรณ มังคละธนะกุล อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
3. นายปิยภักดิ์ ศรีเจริญ เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมานามา ราชอาณาจักรบาห์เรน
4. นายทวีเกียรติ เจนประจักษ์ อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ณ ไทเป
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศตามข้อ 1. และ 3. ได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ
14. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี ศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 10 สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
15. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เสนอรับโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงมหาดไทย และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง สังกัดศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
1. นายศรัทธา คชพลายุกต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. นายบุญพาศ รักนุ้ย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป โดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนแล้ว
16. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เพื่อเป็นการสับเปลี่ยนหมุนเวียนและเพื่อทดแทนผู้ที่เกษียณอายุราชการ ดังนี้
1. นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
2. นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ
3. นายวันชัย วราวิทย์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น