เมื่อวันที่ 26 ตค.64 นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมเพื่อกำหนดมาตรการด้านคมนาคมทางน้ำรองรับการเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 และติดตามความคืบหน้านโยบายที่สำคัญของกรมเจ้าท่าที่ได้ดำเนินการในปี 64 และเตรียมการสำหรับปี 65 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2564 ณ ห้องประชุมกรมเจ้าท่า สรุปได้ดังนี้
1. ปรับปรุงท่าเรือโดยสารแม่น้ำเจ้าพระยา(Smart Pier)
- ภายในสิ้นปี 64 : จะแล้วเสร็จจำนวน 3 ท่า ได้แก่ ท่าช้าง ท่าราชินี และท่าเตียน
- ภายในปี 65 : ท่าบางโพ ท่าเกียกกาย และท่าพระราม7
2. การขุดลอก
- ปี 64 : โดยกรมเจ้าท่า 138 แห่ง ปริมาณดินรวม 21,342,471 ลบ.ม. / ขุดลอกต่างตอบแทนและอื่นๆ ปริมาณ 18,006,764 ลบ.ม. ประหยัดงบประมาณ 990 ล้านบาท
- ปี 65 : กรมเจ้าท่าเตรียมดำเนินการจำนวน 132 แห่ง ปริมาณดินรวม 18,160,500 ลบ.ม. / ขุดลอกต่างตอบแทนและอื่นๆ (ออกใบอนุญาตแล้ว) รวม 506,541 ลบ.ม.
3. เรือไฟฟ้า
- แม่น้ำเจ้าพระยา : ปัจจุบันให้บริการอยู่จำนวน 8 ลำ เตรียมให้บริการเพิ่มเติมภายในสิ้นปี 2564 รวม 23 ลำ
- คลองแสนแสบ : อยู่ระหว่างการปรับปรุงเทคโนโลยีให้เหมาะสม เร่งรัดเพื่อออกให้บริการภายในปี 2565
- คลองดำเนินสะดวก : ให้กรมเจ้าท่าสนับสนุนเอกชนนำเรือไฟฟ้าต้นแบบพัฒนาและใช้งานในพื้นที่เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
4. องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO)
- ดำเนินการขอเสียงสนับสนุนจากประเทศสมาชิกเพื่อให้ประเทศไทยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีองค์การทางทะเลระหว่างประเทศอีกสมัยในเดือนธันวาคม 2564
- เตรียมความพร้อมตามแผนการตรวจประเมินจากองค์กรทางทะเลระหว่างประเทศ(IMO)ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566
5. ให้กำหนดมาตรการรองรับการเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 จำนวน 17 จังหวัด ซึ่งมีพื่นที่แหล่งท่องเที่ยวทางน้ำจำนวน 10 จังหวัด โดยให้กรมเจ้าท่าดำเนินการ
1) เพิ่มมาตรการความปลอดภัยให้มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ประสานผู้ที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน
2) ขอความร่วมมือผู้ประกอบการเพิ่มคุณภาพการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวให้เป็นชื่อเสียงที่ดีของประเทศ
3) ประสานความเชื่อมโยงด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในทุกมิติ ในการดูแลนักท่องเที่ยว เช่น ผู้ปฏิบัติงานกรมอุทยานแห่งชาติ และหน่วยงานอื่นๆ
4) ให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด - 19 (ศบค.) โดยคำนึงถึงความสะดวกของนักท่องเที่ยวให้มีผลกระทบน้อยที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น