โดย นายสุชาติ กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การบริหารของท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และท่านรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้ให้ความห่วงใยและติดตามผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในด้านเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน ได้สั่งการให้ทุกกระทรวงทำงานบูรณาการร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เป็นความเดือดร้อนเร่งด่วนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม รวดเร็ว และทันเหตุการณ์
นายสุชาติ กล่าวต่อว่า ผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และการดูแลคุณภาพชีวิตของพี่น้องผู้ใช้แรงงาน โดยแฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์ มุ่งเป้าหมายที่โรงงานภาคการผลิตส่งออกขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นกลไกหลักที่พยุงเศรษฐกิจประเทศ สำหรับจังหวัดชลบุรี มีสถานประกอบการ 11 แห่งที่ดำเนินโครงการแฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์ มีผู้ประกันตน 12,836 คน โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดชลบุรี สาธารณสุขชลบุรี และโรงพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคม ได้ร่วมดำเนินการตรวจสถานประกอบกิจการดำเนินการตรวจ RT – PCR แล้ว และในวันนี้ได้ดำเนินการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ประกันตนที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท เอดับเบิ้ลยู (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท แวนด้าแพค จำกัด
จากนั้น รมว.แรงงาน และคณะ ได้พบปะพูดคุยกับสมาคมนักลงทุนชาวญี่ปุ่น (CRJA) ซึ่งทางสมาคมได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลและกระทรวงแรงงานที่ได้ดำเนินการเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้แก่ผู้ประกันตน เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะการที่ประเทศไทยมีมาตรการในการดูแลคนงานของบริษัทเป็นอย่างดี รวมทั้งมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้แรงงานและทำให้ภาคธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้
“ผมขอชื่นชมผู้บริหารของบริษัท เอดับเบิ้ลยู (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท แวนด้าแพค จำกัด ที่ได้ดำเนินกิจกรรมของบริษัทตามแนวทางแฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์ ซึ่งมีหัวใจหลัก คือ ตรวจ รักษา ควบคุม และดูแล โดยดำเนินการในลักษณะ “เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข” คือ การดำเนินการควบคู่กันระหว่าง “สาธารณสุข” และ “เศรษฐกิจ” เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้พนักงานและสร้างความเชื่อมั่นในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ นับเป็นการช่วยประเทศชาติให้ก้าวพ้นวิกฤตโควิดนี้ไปด้วยกัน” นายสุชาติ กล่าวในท้ายสุด
ผู้วื่อข่าวรายงานว่า สำหรับโครงการแฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์ เป็นมาตรการการป้องการและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน ในพื้นที่เฉพาะ ร่วมมือดำเนินการโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีหัวใจหลักในการดำเนินงาน ตรวจ รักษา ควบคุม และดูแล ให้กับผู้ใช้แรงงานในโรงงานภาคการผลิตส่งออกหลักขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นกลไกที่พยุงเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งมี 4 sector ได้แก่ ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาหาร และอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับโรงงานขนาดใหญ่ที่มีผู้ประกันตน 500 คนขึ้นไป โดยมีโครงการนำร่องการป้องการและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) ในเฟสแรกดำเนินการไปแล้วใน 4 จังหวัด ประกอบด้วย นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร และชลบุรี สำหรับในเฟส 2 จะขยายไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ ในช่วงต้นเดือนกันยายน 2564 ที่จะถึงนี้ต่อไป
นายสุชาติ กล่าวต่อว่า ผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และการดูแลคุณภาพชีวิตของพี่น้องผู้ใช้แรงงาน โดยแฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์ มุ่งเป้าหมายที่โรงงานภาคการผลิตส่งออกขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นกลไกหลักที่พยุงเศรษฐกิจประเทศ สำหรับจังหวัดชลบุรี มีสถานประกอบการ 11 แห่งที่ดำเนินโครงการแฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์ มีผู้ประกันตน 12,836 คน โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดชลบุรี สาธารณสุขชลบุรี และโรงพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคม ได้ร่วมดำเนินการตรวจสถานประกอบกิจการดำเนินการตรวจ RT – PCR แล้ว และในวันนี้ได้ดำเนินการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ประกันตนที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท เอดับเบิ้ลยู (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท แวนด้าแพค จำกัด
จากนั้น รมว.แรงงาน และคณะ ได้พบปะพูดคุยกับสมาคมนักลงทุนชาวญี่ปุ่น (CRJA) ซึ่งทางสมาคมได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลและกระทรวงแรงงานที่ได้ดำเนินการเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้แก่ผู้ประกันตน เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะการที่ประเทศไทยมีมาตรการในการดูแลคนงานของบริษัทเป็นอย่างดี รวมทั้งมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้แรงงานและทำให้ภาคธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้
“ผมขอชื่นชมผู้บริหารของบริษัท เอดับเบิ้ลยู (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท แวนด้าแพค จำกัด ที่ได้ดำเนินกิจกรรมของบริษัทตามแนวทางแฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์ ซึ่งมีหัวใจหลัก คือ ตรวจ รักษา ควบคุม และดูแล โดยดำเนินการในลักษณะ “เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข” คือ การดำเนินการควบคู่กันระหว่าง “สาธารณสุข” และ “เศรษฐกิจ” เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้พนักงานและสร้างความเชื่อมั่นในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ นับเป็นการช่วยประเทศชาติให้ก้าวพ้นวิกฤตโควิดนี้ไปด้วยกัน” นายสุชาติ กล่าวในท้ายสุด
ผู้วื่อข่าวรายงานว่า สำหรับโครงการแฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์ เป็นมาตรการการป้องการและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน ในพื้นที่เฉพาะ ร่วมมือดำเนินการโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีหัวใจหลักในการดำเนินงาน ตรวจ รักษา ควบคุม และดูแล ให้กับผู้ใช้แรงงานในโรงงานภาคการผลิตส่งออกหลักขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นกลไกที่พยุงเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งมี 4 sector ได้แก่ ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาหาร และอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับโรงงานขนาดใหญ่ที่มีผู้ประกันตน 500 คนขึ้นไป โดยมีโครงการนำร่องการป้องการและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) ในเฟสแรกดำเนินการไปแล้วใน 4 จังหวัด ประกอบด้วย นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร และชลบุรี สำหรับในเฟส 2 จะขยายไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ ในช่วงต้นเดือนกันยายน 2564 ที่จะถึงนี้ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น