รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานคร มีส่วนร่วมในการสร้างวิถีใหม่ เพื่อเด็กและเยาวชนไทยในด้านต่างๆ ทุกมิติ อาทิ ด้านพนักงานเจ้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 กับกระบวนการช่วยเหลือเด็กในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยกทม.มีพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองเด็กตามพระราชบัญญัติฯ ซึ่งเป็นนักสังคมสงเคราะห์ในสังกัดสำนักพัฒนาสังคม สำนักการแพทย์ และสำนักอนามัย ประสานความร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์( พม.)ในการฝึกอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ และการต่ออายุบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งกระบวนการช่วยเหลือเด็กที่จำเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์ หรือคุ้มครองสวัสดิภาพได้ดำเนินการตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน ดังนี้
1.สำนักการแพทย์ มีศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี (Oscc) ประจำโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 11 แห่ง เพื่อทำหน้าที่ในการช่วยเหลือเด็กที่ถูกทำร้าย ถูกทารุณกรรม ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ทางจิตใจ หรือเลี้ยงดูไม่เหมาะสม โดยมีนักสังคมสงเคราะห์ แพทย์ พยาบาล จิตแพทย์ คอยให้การช่วยเหลือเป็นทีม มีการประชุมสหวิชาชีพและประสานส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. สำนักอนามัย มีศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ในพื้นที่ทั้ง 50 เขต และมีนักสังคมสงเคราะห์ประจำทุกศูนย์ฯ เพื่อทำหน้าที่ในการสนับสนุนช่วยเหลือ ลงพื้นที่ในการติดตามเฝ้าระวังและให้การช่วยเหลือกรณีมีเด็กที่จำเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์และคุ้มครอง โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. สำนักงานเขต 50 เขต โดยผู้อำนวยการเขตเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ระดับเขต มีอำนาจหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ 4. สำนักพัฒนาสังคม มีภารกิจในการขับเคลื่อนกลไกการคุ้มครองเด็กระดับจังหวัด ด้วยการเป็นหลักในการจัดประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานคร มีนักสังคมสงเคราะห์ประสานความร่วมมือและลงพื้นที่ในการช่วยเหลือเด็กร่วมกับสำนักงานเขตในพื้นที่ กรณีเด็กจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครอง จะมีการประสานงานศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประชุมทีมสหวิชาชีพ เพื่อหาแนวทางการช่วยเหลือที่เหมาะสมและมีการนำรายละเอียดการช่วยเหลือเด็กเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานครเพื่อร่วมกันหาแนวทางการดำเนินการในการปกป้องคุ้มครองเด็ก รวมถึงมีการช่วยเหลือเด็กในด้านสวัสดิการตามระเบียบว่าด้วยการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ พ.ศ. 2557 และกองทุนคุ้มครองเด็ก
ด้านการดำเนินงานด้านเด็กของศูนย์สร้างโอกาสเด็กกรุงเทพมหานคร โดยกทม.มีศูนย์สร้างโอกาสเด็กกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ จำนวน 7 แห่ง ดังนี้ 1.ศูนย์สร้างโอกาสเด็กสวนลุมพินี เขตปทุมวัน 2. ศูนย์สร้างโอกาสเด็กทุ่งครุ เขตทุ่งครุ 3.ศูนย์สร้างโอกาสเด็กพระราม 8 เขตบางพลัด 4. ศูนย์สร้างโอกาสเด็กจตุจักร เขตจตุจักร 5. ศูนย์สร้างโอกาสเด็กสะพานพระปกเกล้า เขตคลองสาน 6. ศูนย์สร้างโอกาสเด็กพฤกษชาติคลองจั่น เขตบางกะปิ และ 7. ศูนย์สร้างโอกาสเด็กใต้สะพานยกระดับราชพฤกษ์ เขตธนบุรี (อยู่ระหว่างการของบประมาณในการปรับปรุง)
ด้านการดำเนินงานด้านเด็กของศูนย์สร้างโอกาสเด็กกรุงเทพมหานคร โดยกทม.มีศูนย์สร้างโอกาสเด็กกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ จำนวน 7 แห่ง ดังนี้ 1.ศูนย์สร้างโอกาสเด็กสวนลุมพินี เขตปทุมวัน 2. ศูนย์สร้างโอกาสเด็กทุ่งครุ เขตทุ่งครุ 3.ศูนย์สร้างโอกาสเด็กพระราม 8 เขตบางพลัด 4. ศูนย์สร้างโอกาสเด็กจตุจักร เขตจตุจักร 5. ศูนย์สร้างโอกาสเด็กสะพานพระปกเกล้า เขตคลองสาน 6. ศูนย์สร้างโอกาสเด็กพฤกษชาติคลองจั่น เขตบางกะปิ และ 7. ศูนย์สร้างโอกาสเด็กใต้สะพานยกระดับราชพฤกษ์ เขตธนบุรี (อยู่ระหว่างการของบประมาณในการปรับปรุง)
โดยทุกศูนย์ฯมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการแก่กลุ่มเด็กเร่ร่อน เด็กในภาวะยากลำบาก เด็กกลุ่มเสี่ยงและเด็กที่ถูกละเมิดสิทธิ์ ให้ได้รับสวัสดิการ การสงเคราะห์และการคุ้มครองสวัสดิภาพ ตามความต้องการขั้นพื้นฐานและสิทธิ์ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นศูนย์ที่ทำงานเชิงป้องกัน แก้ไขและให้ความช่วยเหลือแก่เด็กเร่ร่อน เด็กในภาวะยากลำบากในชุมชนและเด็กด้อยโอกาสอื่นๆ โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างทักษะชีวิต การป้องกันเด็กกลุ่มเสี่ยงที่จะออกมาเร่ร่อน การพัฒนาและการฟื้นฟู ซึ่งเป็นการทำงานเชิงรุกสู่กลุ่มเป้าหมาย ทั้งด้านการปกป้องคุ้มครอง สงเคราะห์ช่วยเหลือเด็กและครอบครัวด้วยการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ โดยมีนักพัฒนาสังคม (ครูข้างถนน) ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ในการดูแล ให้คำปรึกษา แนะนำและให้ความช่วยเหลือเด็กและครอบครัว เป็นการทำงานร่วมกับเครือข่ายทำงานด้านเด็ก โดยนักสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร ศูนย์บริการสาธารณสุข นักพัฒนาสังคม ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขต และองค์กรภาคเอกชน เพื่อการให้ความช่วยเหลือเด็กและครอบครัว รวมถึงมีการส่งต่อและติดตามประเมินผลได้อย่างเป็นระบบและครบวงจร
------------------
------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น