เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางแค ร่วมกับ สำนักงานประมงจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ประกอบด้วยจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี จัดงาน “เทศกาลกินของดี อร่อย 3 บุรี ตอน กินกุ้งใหญ่ไปสามบุรี” กับมหกรรมสินค้าประมงดี เด่น ดัง จาก 3 จังหวัดกลุ่มภาคกลางตอนล่าง ยกขบวนความอร่อย ส่งตรงจากเกษตรกรถึงผู้บริโภค กับสุดยอดอาหารเลื่องชื่อ พร้อมช้อปของดี ชิมของเด่น ประจำจังหวัด งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 30 มิถุนายน 2567 ที่ ลาน M GREEN PARK & M LIFESTYLE HALL ชั้น G เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางแค อิ่มอร่อยไปกับอาหารขึ้นชื่อประจำจังหวัดหาทานยาก ที่ยกทัพมาเสริฟความอร่อยกันถึงที่
จังหวัดสุพรรณบุรี
- ปลาสลิดดอนกำยาน “ของดีที่ไม่อยากให้ลืม” ปลาสลิดดอนกำยานมีรสชาติอร่อยกว่าพื้นที่อื่น เนื่องจากจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพื้นที่น้ำท่วมทุกปีและท่วมขังเป็นเวลานาน ประกอบกับตำบลดอนกำยานมีต้นกำยานซึ่งเป็นพืชจำพวก ไม้เลื้อยพบได้ทั่วไปเป็นจำนวนมาก และส่วนราก มีกลิ่นหอมมีความเชื่อกันว่าปลาสลิดในพื้นที่น้ำท่วม จะไปกินส่วนรากของตันกำยานจึงทำให้ปลาสลิดดอนกำยาน มีกลิ่นหอม และรสชาติอร่อย
· ปลาม้า ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง นั้นพบได้มากที่ จ.สุพรรณบุรี และกลายเป็นปลาที่มีชื่อเสียงอย่างมากของจังหวัดนี้ ถึงขั้นมีชื่ออำเภอบางปลาม้า ปลาม้าแดดเดียว, ต้มยำปลาม้า นั้นถือว่าเป็นเมนูอาหารท้องถิ่นที่ต้องตรงมาชิมที่ จ.สุพรรณบุรี กันเลยทีเดียว
· ปลาชะโด เป็นปลาที่เลี้ยงโดยเกษตรกรของจังหวัดสุพรรณบุรี เจ้าเดียวโดยจะนำปลาที่มีขนาด 3-5 กิโลกรัม ลักษณะเนื้อขาว เนื้อแน่น รสชาตดีเนื่องจากนำวัตถุดิบที่สดๆมาแปรรูปเป็นเมนูเด็ด เช่น เมนูชะโดลวกจิ้ม, สเต็กชะโด,ซาซิมิชะโด เมนูที่ต้องลอง
· กุ้งก้ามกราม สด สะอาด ปลอดภัย เกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่กุ้งก้ามกราม มีผลผลิตทั้งปี และฟาร์มเลี้ยงผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP มกษ 7436-3563
จังหวัดราชบุรี
· กุ้งก้ามกราม บางแพ ของดีประจำ จ.ราชบุรี ที่มีการจัดงานประจำปีอย่างต่อเนื่อง
“สืบสานประเพณีเทศกาลกินกุ้งและของดีอำเภอบางแพ” กุ้งขนาดใหญ่พอดี จากแหล่งน้ำสะอาด เพื่อนำมาซึ่งคุณภาพอาหารที่ปลอดภัย และยังเป็นพื้นที่ผลิตกุ้งก้ามกรามใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย
· เนื้อจระเข้แบบสด และแปรรูป จ.ราชบุรี นับเป็นแหล่งผลิตเนื้อจระเข้าจากฟาร์มที่ได้มาตรฐาน โดยมีเมนูเด่นดังประจำจังหวัด ได้แก่ เนื้อจระเข้ย่าง ตลอดจนผลิตภัณฑ์เนื้อจระเข้แปรรูปต่างๆ ให้เลือกลองชิมอย่างมากมาย และเป็นต้นตำรับ “จระเข้หัน” เจ้าแรกอีกด้วย
· ปูนาและผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ ปูนา นับเป็นอีกหนึ่งสัตว์เศรษฐกิจที่มาแรง จากเมนูพื้นบ้านที่ใช้ปูนาเป็นส่วนผสม พัฒนาผลผลิตให้ออกมาเป็นอาหารแปรรูปที่หลากหลาย อาทิ อ่องมันปูนา น้ำพริกมันปู ตลอดจน ปูนาแบบตัว ที่ดูแลเรื่องความสด สะอาดเป็นอย่างดี
จังหวัดกาญจนบุรี
· ปลาทับทิมสีทอง หรือปลานิลทับทิม จ.กาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่มีผู้เพาะเลี้ยงปลานิลและปลาทับทิมในกระชังที่มากที่สุดในประเทศไทย ถือเป็นฐานการผลิต ที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นปลาที่เลี้ยงโดยแหล่งน้ำธรรมชาติ มีน้ำไหลเวียน ตลอดทั้งปี จึงได้รสชาติเนื้อปลาที่หวาน นุ่ม ไม่มีกลิ่นโคลนของบ่อดิน เหมือนปลานิลทั่วไป
· เนื้อปลากดคัง ปลากดคัง หรือปลาคังพบในแม่น้ำของไทยทุกภาค และในแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ นิยมนำมาบริโภคในหลากหลายรูปแบบ อาทิ ลวกจิ้ม ยำ ต้มยำ และแกงป่า เนื้อปลามีความเด้ง และรสชาติมีเอกลักษณ์ ราคาสูง ประกอบกับการเลี้ยงปลาชนิดนี้ไม่แพร่หลายนัก เนื่องจากต้องใช้เวลาในการเลี้ยงนาน โดยจังหวัดกาญจนบุรี มีแหล่งผลิตที่สำคัญ ใน “เขื่อนศรีนครินทร์”
นอกจากนี้ พบกับพิธีเปิดงานในวันพุธที่ 26 มิถุนายน 2567 ตั้งแต่เวลา 14.00 น. ร่วมด้วย นักแสดงสาวและพิธีกรคนเก่ง คุณรถเมล์ คะนึงนิจ มาร่วมเปิดพร้อมเดินชมสินค้าไฮไลท์ภายในงาน ณ M LIFESTYLE HALL ชั้น G เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางแค พร้อมกิจกรรมให้ได้ร่วมสนุกมากมาย อาทิ
· การแข่งขันตกกุ้งในตู้คีบกุ้งและการแข่งขันกินกุ้ง จังหวัดสุพรรณบุรี
วันที่ 27 - 30 มิถุนายน 2567 เวลา 12.00 น.
· การแข่งขันบริโภคสัตว์น้ำ (กุ้งก้ามกราม ปลาสลิด จระเข้ และปูนา)
จังหวัดราชบุรีและสุพรรณบุรี วันที่ 27 – 30 มิถุนายน 2567 เวลา 12.00 -18.00 น.
· การแข่งขันประกอบเมนูอาหาร (ปลาคัง ปลาทับทิม) จังหวัดกาญจนบุรี
วันที่ 29 มิถุนายน 2567 เวลา 13.00 น.
· เรียนรู้วิถีเกษตรกร กับ “นิทรรศการมีชีวิต” จัดแสดงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ พร้อมเทคโนโลยีและนวัตกรรมการประมง
· โปรโมชั่นพิเศษประจำวัน จัดสินค้าราคาพิเศษ นาทีทอง ทุกวัน โดยมีสินค้าดี เด่น ดัง ของจังหวัดต่างๆ มาให้คุณเลือกซื้ออย่างจุใจ
ร่วมสัมผัสอรรถรสแห่งความอร่อย พร้อมช้อป ชิม ของดี ของดังประจำจังหวัด ในงาน “เทศกาลกินของดี อร่อย 3 บุรี ตอน กินกุ้งใหญ่ไปสามบุรี” ได้ตั้งแต่วันที่ 26 - 30 มิถุนายน 2567 ณ ลาน M LIFESTYLE HALL และ M GREEN PARK ชั้น G เดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์ บางแค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น