เช็กค่าฝุ่น PM2.5 ไซต์ก่อสร้าง Premio Unic คุมเข้มฝุ่นจิ๋วแพลนท์ปูนคอนสตรัคชั่น ต่อยอดคัดแยกขยะเขตวังทองหลาง - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

demo-image

เช็กค่าฝุ่น PM2.5 ไซต์ก่อสร้าง Premio Unic คุมเข้มฝุ่นจิ๋วแพลนท์ปูนคอนสตรัคชั่น ต่อยอดคัดแยกขยะเขตวังทองหลาง

add
1677065812211

เมื่อวันที่ 22 ก.พ.66 เวลา 14.00 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตวังทองหลาง ประกอบด้วย
1677065818841-1024x683
ติดตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 โครงการ Premio Unic บริเวณถนนอินทราภรณ์ พื้นที่ 2 ไร่ 2 งาน 55 ตารางวา ซึ่งเป็นการก่อสร้างอาคารพักอาศัยสูง 8 ชั้น (มีดาดฟ้า) ประกอบด้วย อาคาร A จำนวน 1 หลัง 187 ห้อง และอาคาร B จำนวน 1 หลัง 153 ห้อง ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามวิธีและเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตในการก่อสร้างตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2526) และแก้ไขเพิ่มเติมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 67 (พ.ศ.2563) และมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ได้แก่ การตรวจวัดค่าฝุ่น PM2.5 ฉีดพ่นหมอกน้ำในอากาศบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง ควบคุมให้มีการปิดคลุมอาคารด้วยวัสดุหรืออุปกรณ์ที่สามารถป้องกันฝุ่นละอองได้ การขนย้ายวัสดุที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองต้องมีการปกปิดที่มิดชิด เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง ตรวจสอบบำรุงรักษาสภาพเครื่องยนต์เครื่องจักรที่ใช้ก่อสร้าง ควบคุมการขนส่งภายในพื้นที่ก่อสร้าง เช่น การล้างรอรถก่อนเข้าและออกพื้นที่ก่อสร้าง การฉีดพรมน้ำบนถนน ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เน้นย้ำผู้ประกอบการดูแลทำความสะอาดพื้นไม่ให้มีเศษดินเศษทรายตกค้าง เปิดเครื่องฉีดพ่นละอองน้ำบริเวณโดยรอบโครงการ พร้อมทั้งมอบหมายให้เขตฯ ติดตามมาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศและมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างยั่งยืน

1677065811893

1677065819998

1677065820388ตรวจความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 บริษัท คอนสตรัคชั่น คอนกรีต จำกัด ซอยสหการประมูล ถนนประชาอุทิศ ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่เมื่อเดือนธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา พบว่าแพลนท์ปูนดังกล่าว ไม่มีบ่อล้างล้อรถบรรทุกบริเวณก่อนออกจากแพลนท์ปูน มีกากปูนจากการล้างรถสะสมเป็นจำนวนมาก บริเวณพื้นมีเศษปูนเศษทรายตกหล่น ระหว่างการทำงานและการเคลื่อนย้าย ปรับปรุงระบบรางระบายน้ำย้อนกลับ เนื่องจากเศษปูนออกนอกพื้นที่ โดยรองผู้ว่าฯ จักกพันธุ์ ได้กำชับให้ผู้ประกอบการดำเนินการแก้ไข ซึ่งจากการติดตามความคืบหน้าในวันนี้พบว่า ทางผู้ประกอบการแพลนท์ปูน ได้เพิ่มบ่อล้างล้อรถบรรทุกบริเวณก่อนออกจากแพลนท์ปูน จำนวน 2 บ่อ มีการติดต่อบริษัทรับเหมากำจัดกากปูนดำเนินการขนกากปูนออกจากพื้นที่ เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดพื้นในเวลาช่วงเช้าและหลังเลิกงาน ส่วนระบบรางระบายน้ำปรับปรุงแก้ไขแล้ว อยู่ระหว่างการทดสอบระบบ ทั้งนี้ รองผู้ว่าฯ จักกพันธุ์ ได้เน้นย้ำผู้ประกอบการให้ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโดยรอบ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำปูนไหลลงสู่ท่อระบายน้ำภายนอก รวมถึงให้ขุดลอกบ่อพักและท่อระบายน้ำในจุดที่น้ำปูนไหลลงไป เปิดเครื่องฉีดพ่นละอองน้ำบริเวณโดยรอบแพลนท์ปูนตลอดเวลา เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และป้องกันมลพิษในอากาศ

1677065818775

ตรวจเยี่ยมต้นแบบการคัดแยกขยะ ภายในสำนักงานเขตวังทองหลาง มีข้าราชการและบุคลากร 666 คน วิธีการคัดแยกขยะตามประเภท โดยตั้งวางถังรองรับขยะแยกประเภทในอาคาร ได้แก่ ถังขยะทั่วไป (สีน้ำเงิน) ถังขยะเศษอาหาร (สีเขียว) ถังขยะรีไซเคิล (สีเหลือง) ถังขยะอันตราย (สีส้ม) ถังขยะติดเชื้อ (สีแดง) โดยดำเนินการคัดแยก ดังนี้ 1.ขยะรีไซเคิล แต่ละฝ่ายตั้งวางถังรองรับมูลฝอยรีไซเคิล โดยมีเจ้าหน้าที่รวบรวมและนำมาขายเพื่อเป็นรายได้ 2.ขยะอินทรีย์ แต่ละฝ่ายตั้งวางถังรองรับมูลฝอยเศษอาหาร โดยมีเจ้าหน้าที่รวบรวมและนำมาเทลงถังขยะเศษอาหารที่กำหนด และมีเกษตรกรนำไปเลี้ยงสัตว์ 3.ขยะอันตราย แต่ละฝ่ายตั้งวางถังรองรับมูลฝอยอันตราย โดยมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ ดำเนินการจัดเก็บรวบรวมไว้ ณ อาคารปฏิบัติการและส่งศูนย์กำจัดมูลฝอย 4.ขยะทั่วไป แต่ละฝ่ายตั้งวางขยะทั่วไป โดยมีเจ้าหน้าที่รวบรวมและนำมาทิ้งรวมบริเวณจุดที่กำหนด เขตฯ จัดเก็บทุกวันก่อนเวลา 05.00 น. สำหรับปริมาณขยะก่อนและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไป ก่อนคัดแยก 345 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 270 กิโลกรัม/เดือน ขยะรีไซเคิล ก่อนคัดแยก 69 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 10 กิโลกรัม/เดือน ขยะอินทรีย์ ก่อนคัดแยก 230 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 180 กิโลกรัม/เดือน ขยะอันตราย ก่อนคัดแยก 15 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 10 กิโลกรัม/เดือน ขยะติดเชื้อ ก่อนคัดแยก 0.001 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 0.001 กิโลกรัม/เดือน

สำรวจการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในพื้นที่เขตฯ มีที่ดิน 42,971 แปลง สำรวจครบแล้ว สิ่งปลูกสร้าง 38,508 แห่ง สำรวจครบแล้ว ห้องชุด 24,783 ห้อง สำรวจครบแล้ว สรุปผลการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งสิ้น 106,262 รายการ สำรวจครบแล้ว คิดเป็น 100% ทั้งนี้ รองผู้ว่าฯ จักกพันธุ์ ได้ตรวจเยี่ยมฝ่ายรายได้ สอบถามปัญหาอุปสรรคในการจัดเก็บภาษี การใช้งานระบบจัดเก็บภาษีแบบใหม่ พร้อมทั้งให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และให้คำแนะนำในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย ภาษีน้ำมัน ตลอดจนการจัดส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้เสียภาษี เพื่อให้การจัดเก็บภาษีเป็นไปตามกรอบเป้าหมายที่กำหนดไว้

เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ วัดสามัคคีธรรม พื้นที่ 11 ไร่ ประชากร 40 คน เข้าร่วมโครงการการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ปี 2566 วิธีการคัดแยกขยะ ดังนี้ 1.ขยะอินทรีย์ ทำปุ๋ย แยกใบไม้แยกเศษอาหาร 2.ขยะรีไซเคิล แยกคัดขวดพลาสติกและแยกกระดาษ 3.ขยะทั่วไป ไม่แยกเพราะเศษอาหารให้ชาวบ้านนำไปเลี้ยงสัตว์ สำหรับปริมาณขยะก่อนและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไป ก่อนคัดแยก 50 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 30 กิโลกรัม/เดือน ขยะรีไซเคิล ก่อนคัดแยก 100 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 80 กิโลกรัม/เดือน ขยะอินทรีย์ ก่อนคัดแยก 20 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 15 กิโลกรัม/เดือน สำหรับโรงเรียนวัดสามัคคีธรรม พื้นที่ 1 ไร่ มีประชากร 495 คน จำนวน 3 หลังคาเรือน เข้าร่วมโครงการการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ปี 2565 วิธีการคัดแยกขยะ ดังนี้ 1.ขยะอินทรีย์ ทำปุ๋ย 2.ขยะรีไซเคิล นำไปขายและผลิตสื่อและชิ้นงานของนักเรียน 3.ขยะทั่วไป เจ้าหน้าที่เขตฯ มารับไปกำจัด 4. ขยะอันตราย เจ้าหน้าที่เขตฯ มารับไปกำจัด สำหรับปริมาณขยะก่อนและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไป ก่อนคัดแยก 5 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 4 กิโลกรัม/วัน ขยะรีไซเคิล ก่อนคัดแยก 3 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 2 กิโลกรัม/วัน ขยะอินทรีย์ ก่อนคัดแยก 8 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 7 กิโลกรัม/วัน ขยะอันตราย ก่อนคัดแยก 2 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 1 กิโลกรัม/วัน ขยะติดเชื้อ ก่อนคัดแยก 2 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 0.5 กิโลกรัม/วัน

ในโอกาสนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตวังทองหลาง คณะผู้บริหารเขตวังทองหลาง ได้ร่วมกันกิจกรรมปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างพื้นที่สีเขียว และกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุง ตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยปลูกต้นทองอุไร จำนวน 40 ต้น บริเวณริมถนนประดิษฐ์มนูธรรม

ในการลงพื้นที่วันนี้มี นายอนุรักษ์ เลิศวัฒนาไพบูลย์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตวังทองหลาง นายโครงการ เจียมจีรกุล ผู้อำนวยการเขตวังทองหลาง พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตวังทองหลาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล

#สิ่งแวดล้อมดี #สุขภาพดี #บริหารจัดการดี
—– (จิรัฐคม…สปส.รายงาน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *