นอกจากนี้ กระทรวงพม. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ร่วมกับอีก 27 หน่วยงาน และ 11 องค์กรภาคประชาชน อีกทั้งยังได้ดำเนินการปฎิบัติจริง เป็นโมเดลในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ตั้งแต่การแจ้งเหตุ ระงับเหตุ การคุ้มครองเยียวยา และการดำเนินคดี โดยได้เชิญตำรวจ อัยการจังหวัด เข้ามาร่วมทำงานกับเรา
นายจุติ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวง พม. มีศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ทั่วประเทศ ซึ่งได้ปรับให้เป็นศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล โดยก่อนหน้านี้ มีจำนวน 878 แห่ง โดยได้ร่วมกับทุกศูนย์ฯ ให้ทำงานเรื่องครอบครัวในทุกมิติ ซึ่งปัจจุบัน เรามี ศพค. ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลจำนวนหลายพันแห่ง โดยมีองค์ประกอบของอาสาสมัครต่างๆ ทั้งอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) องค์กรภาคีเครือข่ายภาคประชาชน ครู ข้าราชการเกษียณ ชมรมผู้สูงอายุและสตรีแม่บ้าน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้อบรมการให้ความช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่มีปัญหา มีความเครียด โดยจะมีข้อตกลงการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวง พม. กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข โดยเราจะทำโรงเรียนให้คำแนะนำปรึกษากับผู้ปกครองหรือพ่อแม่ในการรับฟังเด็ก โดยอบรมครูแนะแนวให้เปลี่ยนจากครูเป็นโค้ชชีวิตที่เพิ่มทักษะในการดูแลเด็กนักเรียน และลดเงื่อนไขความรุนแรงในครอบครัว
นอกจากนี้ อีกหนึ่งสาเหตุของความรุนแรงในครอบครัว คือ ปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งรัฐบาลได้มุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้แก่ การประนอมหนี้ครัวเรือน ลดเงินต้น ลดดอกเบี้ย การไกลเกลี่ยหนี้ เป็นต้น อีกทั้งมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน การปรับวิธีการดูแลคุ้มครองเด็ก และมีเครือข่ายต่อต้านการบูลลี่ที่โรงเรียนและบ้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น