เข้มรับมือโควิด-19 ต่อเนื่อง คาด 1 ก.พ. นักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ทยอยเข้าประเทศ และ กทม. พร้อมผนึกกำลังร่วมกับ อปท.ในพื้นที่รอยต่อฉะเชิงเทราและสมุทรปราการเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันพิษสุนัขบ้า - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566

เข้มรับมือโควิด-19 ต่อเนื่อง คาด 1 ก.พ. นักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ทยอยเข้าประเทศ และ กทม. พร้อมผนึกกำลังร่วมกับ อปท.ในพื้นที่รอยต่อฉะเชิงเทราและสมุทรปราการเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันพิษสุนัขบ้า

เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 65 รองผู้ว่าฯ ทวิดา กมลเวชช เป็นประธานการประชุมศูนย์เฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพกรุงเทพมหานคร (ศฉส.กทม.) ครั้งที่ 2/2566 ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานและหารือแนวทางป้องกันโรค รวมถึงสร้างเสริมสุขภาพให้ประชาชน ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าในวันที่ 1 ก.พ. 66 จะมีนักท่องเที่ยวชาติชาวต่างชาติกลุ่มใหญ่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยและจะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงต้องติดตามสถานการณ์โควิด-19 และเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขรองรับการดูแลสุขภาพนักท่องเที่ยวมีการ รวมถึงเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอยาสงเข้มข้นต่อเนื่อง ซึ่งสำนักอนามัยได้ประสานให้สำนักงานเขตกวดขันสถานประกอบการให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ ประชาสัมพันธ์ให้สถานประกอบการดำเนินการจัดให้พนักงานได้รับ Vaccine COVID-19 ให้ครบ 4 เข็ม อีกทั้งประสานสถานประกอบการในพื้นที่ในการสุ่มตรวจ ATK พนักงานที่ให้บริการในสถานประกอบกิจการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว และประชาสัมพันธ์ให้สถานประกอบการที่ให้บริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวดำเนินการตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) อย่างเคร่งครัดส่วนสถานการณ์โรคโควิด-19 ทั่วโลก แนวโน้มพบผู้ป่วย ผู้เสียชีวิต คงตัว ทั้งในประเทศแถบเอเชีย ยุโรป และสหรัฐ ขณะที่ประเทศจีนมีรายงานพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นในหลายเมือง สถานการณ์โรคโควิด-19 ประเทศไทย มีแนวโน้มพบผู้ป่วย ผู้ป่วยอาการหนัก และผู้เสียชีวิตลดลงต่อเนื่อง มีการคาดการณ์ว่าจะมีผู้เดินทางจากต่างประเทศ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้นมาตรการป้องกันการป่วยรุนแรง ด้วยวัคซีนเข็มกระตุ้นสำหรับกลุ่ม 608 และลดการแพร่โรคด้วยมาตรการป้องกันส่วนบุคคล และการฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้ให้บริการภาคการท่องเที่ยว และคมนาคม รวมทั้งเน้นเฝ้าระวังโรคในสถานพยาบาล สถานที่เสี่ยงแหล่งท่องเที่ยว ท่าอากาศยาน อย่างต่อเนื่อง เน้นการสื่อสาร แนะนำแนวปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค สำหรับกลุ่มผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ ให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการส่วนบุคคลอย่างเข้มงวด อาทิ เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่ออยู่ในที่แออัด อากาศไม่ถ่ายเท ล้างมือบ่อย ๆ ตรวจหาเชื้อโควิด-19 หากมีอาการทางเดินหายใจ เน้นให้ประชาชนฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้ครบ 4 เข็ม และฉีดเข็มกระตุ้นเมื่อฉีดเข็มสุดท้ายมากกว่า 4 เดือน เนื่องจากผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ที่พบส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ไม่เคยรับการฉีดวัคซีน หรือฉีดวัคซีนยังไม่ครบ 4 เข็ม พร้อมทั้งเน้นย้ำให้สถานประกอบการ ร้านอาหาร สนามมวย สนามกีฬา ตลาด วัด และสถานที่ต่าง ๆ ที่นักท่องเที่ยวนิยมไป ให้ปฏิบัติตามมาตรการ covid free setting ส่วนโรงแรม ร้านอาหารต่าง ๆ ปฏิบัติตามมาตรฐาน SHA และ SHA plus

2 ก.พ. หารือ อปท. รอยต่อสานความร่วมมือป้องกันพิษสุนัขบ้า

ส่วนกรณีตรวจพบสุนัขเสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า และปศุสัตว์กรุงเทพได้ประกาศให้แขวงทับยาวเป็นเขตโรคระบาดชั่วคราว ตั้งแต่ 16 ม.ค.–16 ก.พ. 66 โดยเบื้องต้นหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักอนามัย โดย สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข กองควบคุมโรคติดต่อ ศูนย์บริการสาธารณสุข 46 กันตารัติอุทิศ สำนักงานปศุสัตว์พื้นที่ 3 (ลาดกระบัง-สะพานสูง) ปศุสัตว์กรุงเทพ ร่วมกันลงพื้นที่สอบสวนโรค และดำเนินการควบคุมโรคพิศสุนัขบ้านในพื้นที่ดังกล่าว มีการสอบสวนเพื่อวางแผนในการควบคุมและกักบริเวณสัตว์ในพื้นที่เสี่ยงเพื่อสังเกตอาการภายใน 6 เดือน รวมถึงค้นหาผู้สัมผัสโรคและกลุ่มเสี่ยงในชุมชนเพื่อพิจารณาให้วัคซีนและอิมมูโนกลอบูลิน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนและพื้นที่รอยต่อเพิ่มความตระหนักในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โดยให้ผู้มีประวัติถูกสัตว์กัดข่วนไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 46 กันตารัติอุทิศ หรือสถานพยาบาลที่ความสะดวก พร้อมทั้งให้คำแนะนำเจ้าของสุนัขในการพาสุนัขไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 46 กันตารัติอุทิศ


นอกจากนี้ เพื่อให้การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ที่ประชุมจึงกำหนดให้มีการประสานหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ ปศุสัตว์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยที่เกี่ยวข้องในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดรอยต่อ ประชุมร่วมกันเพื่อบูรณาการความร่วมมือพร้อมทั้งจัดทำแผนในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่เกิดเหตุและพื้นที่ใกล้เคียงรัศมี 5 กิโลเมตร เบื้องต้นกำหนดประชุมในวันที่ 2 ก.พ. 66 เวลา 14.00 น. ณ สำนักงานเขตลาดกระบัง

สำหรับการประชุมวันนี้มีขึ้นที่ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร และระบบการประชุมทางไกล (ออนไลน์) มี ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครและหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม อาทิ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 13 ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ผู้อำนวยการสำนักนิเทศระบบการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ผู้อำนวยการกองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการ สุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาพื้นที่ (กรุงเทพมหานคร)ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ประธานคณะกรรมการโรงพยาบาลในกลุ่มสถาบันแพทย์ศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) สำนักอนามัย ประธาน 6 กลุ่มเขต สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้แทนภาคประชาสังคม สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล เข้าร่วมประชุม









(พัทธนันท์…สปส. รายงาน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น