ดร.ธนกร กล่าวว่า การจัดงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุขครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่สื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ สร้างเสริมและขยายช่องทางให้ประชาชน สามารถเข้าใจ เข้าถึงและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง โดยกองทุนได้เห็นถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมไทยและการส่งเสริมสถาบันทางสังคม จึงมีแนวคิดที่จะสร้างสรรค์แหล่งข้อมูลขนาดใหญ่อันเปรียบเสมือน Big Data ของสื่อทางพระพุทธศาสนา เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนภายในประเทศและต่างประเทศเข้าถึงได้โดยง่ายและกว้างขวาง
นายอิทธิพล กล่าวว่า การจัดงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุขครั้งนี้ เพื่อให้สอดรับกับนโยบายภาครัฐที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้สถาบันทางสังคมร่วมปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดี รวมทั้งการทำนุบำรุงศาสนา การอนุรักษ์ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม และยอมรับประเพณี วัฒนธรรมที่ดีที่มีความหลากหลาย เพื่อสร้างสังคมให้มีคุณภาพ คุณธรรม และอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ขอเชิญชวนประชาชนและผู้สนใจเกี่ยวกับสื่อทางพระพุทธศาสนา เข้าร่วมการจัดงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อ สร้างสันติสุข ประกอบไปด้วย 2 รูปแบบหลัก ๆ ดังนี้1. กิจกรรมในรูปแบบ On Ground Event ระหว่างวันที่ 7 - 8 พฤศจิกายน 2565 รวมเป็นเวลา 2 วัน ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย
• การเสวนา “เทศน์ ทอล์ก”
โดย - พระสุธีวชิรปฏิภาณ (วีรพล วีรญาโณ ป.ธ.3) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
- นที เอกวิจิตร (อุ๋ย บุดดาเบลส) ศิลปิน นักร้อง
- ธนัชศลักษณ์ ฮัดสัน (อลิศ The Golden Song) นักร้อง นักแสดง
- อนันต์ อาศัยไพรพนา (นันต์ ไมค์ทองคำ) ศิลปิน นักร้อง
- ผู้รับทุนจากกองทุนฯ และมีการถ่ายทอดเผยแพร่พิธีเปิด ไปยังกว่า 20 ประเทศทั่วโลก
• Walk rally สายบุญไหว้พระรัตนตรัย จำนวน 9 จุด ลุ้นรับของรางวัลจากมูลนิธิเด็ก
• นิทรรศการพุทธธรรมนำสื่อสันติสุข
และวันที่ 8 พฤศจิกายน ได้จัดให้มีกิจกรรมเสริมคือ การสาธิตการทำกระทง และองค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนา ในวันลอยกระทง
- 2. กิจกรรม Online ในรูปแบบ Virtual Exhibition ซึ่งมีหัวใจหลักสำคัญ ชื่อว่า“มัชฌิมาปฏิปทา” ซึ่ง Virtual Exhibition นี้ เปรียบเสมือน Big Data ของสื่อทางพระพุทธศาสนา เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนภายในประเทศและต่างประเทศ เข้าถึงได้โดยง่ายและกว้างขวาง จึงเกิดเป็นแนวความคิดในการสร้างสรรค์งานแบบผสมผสาน “พุทธธรรมนำสื่อสันติสุข”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น