รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า บุคลากรทางการแพทย์และการแพทย์ฉุกเฉิน เป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวงและมีความสลับซับซ้อนมาก ความพยายามในการแก้ปัญหาและกำหนดว่าเราจะทำอะไรต่อไปในโลกอนาคตเป็นสิ่งที่ดี ในอนาคตเราจะมีหนทางที่ทำให้ชีวิตปลอดภัยขึ้นและมีความสุขขึ้นกับการได้รู้ว่าหากมีสิ่งที่จำเป็นที่สุดในชีวิตของคนในสังคม ยิ่งในเฉพาะสังคมที่มีความยาก ทั้งด้านกายภาพ ความเชื่อมโยงของหลาย ๆ หน่วยงาน ดังที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพูดอยู่เสมอว่า “เรายังสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อีกมาก ทั้งในเรื่องของการช่วยชีวิตคน การให้บริการได้รวดเร็วขึ้น การอำนวยความสะดวก แต่อย่าทำให้เทคโนโลยีฉลาดเกินไปจนคนกลัวที่จะอยู่ในสังคม” ซึ่งบางครั้งเทคโนโลยีอาจทำให้เกิดความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงการรักษาโดยไม่รู้ตัว
“ดังนั้นในการประชุมทางวิชาการ ได้มีการพยายามหาคำตอบของช่องว่างที่เกิดขึ้นสำหรับอนาคตอันใกล้ จะทำให้เกิดปัญหาใดกับอนาคตที่จะมาถึงหลังจากนั้น โอกาสนี้ ขอให้กำลังใจทุกท่านที่ทำงานหนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หวังว่าการประชุมวันนี้จะสำเร็จ หาคำตอบที่อยากได้ เรียนรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่อยากรู้ และสร้างความสัมพันธ์และความผูกพันในวงการเครือข่ายการแพทย์และสาธารณสุขฉุกเฉินให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อในวันหนึ่งเราจะพูดได้ว่ากรุงเทพฯ ของเราปลอดภัย และน่าอยู่” รองผู้ว่าฯ ทวิดา กล่าว
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาและส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ ส่งเสริมงานวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการ และสอดคล้องกับนโยบาย 9 ดี มิติสุขภาพดี ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักการแพทย์ โดยศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) จึงได้จัดโครงการประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉิน ประจำปี 2565 ในหัวข้อ "การแพทย์ฉุกเฉินแห่งโลกอนาคต Metaverse in BangkokEMS" ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเป็นแพทย์ พยาบาล และผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และมูลนิธิ จำนวน 200 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติการเครือข่ายในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมยุคดิจิทัลและเทคโนโลยีในอนาคต รวมทั้งได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาให้เกิดองค์ความรู้ที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและบุคลากร สู่ความเป็นมืออาชีพในการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
โดยขณะนี้สำนักการแพทย์ได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลผ่านระบบโทรเวชกรรม หรือ Telemedicine เชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยผ่านแอปพลิเคชัน "หมอ กทม." ที่สามารถส่งข้อมูลภาพและเสียงระหว่างคนไข้กับแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น นอกจากนี้ ในด้านการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ศูนย์เอราวัณก็ได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชัน "Erawan 1669" สำหรับให้ประชาชนแจ้งเหตุฉุกเฉิน โดยแอปพลิเคชันดังกล่าวสามารถประเมินอาการบาดเจ็บของผู้ป่วยฉุกเฉิน คัดแยกรหัสอาการของผู้ป่วย และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเบื้องต้นแก่ญาติหรือผู้ป่วยทางโทรศัพท์ ก่อนที่ทีมปฏิบัติการจะไปถึง ทั้งนี้ หากผู้ป่วยหรือญาติสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง จะสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิต หรือความพิการจากการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นได้
“ดังนั้นในการประชุมทางวิชาการ ได้มีการพยายามหาคำตอบของช่องว่างที่เกิดขึ้นสำหรับอนาคตอันใกล้ จะทำให้เกิดปัญหาใดกับอนาคตที่จะมาถึงหลังจากนั้น โอกาสนี้ ขอให้กำลังใจทุกท่านที่ทำงานหนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หวังว่าการประชุมวันนี้จะสำเร็จ หาคำตอบที่อยากได้ เรียนรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่อยากรู้ และสร้างความสัมพันธ์และความผูกพันในวงการเครือข่ายการแพทย์และสาธารณสุขฉุกเฉินให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อในวันหนึ่งเราจะพูดได้ว่ากรุงเทพฯ ของเราปลอดภัย และน่าอยู่” รองผู้ว่าฯ ทวิดา กล่าว
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาและส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ ส่งเสริมงานวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการ และสอดคล้องกับนโยบาย 9 ดี มิติสุขภาพดี ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักการแพทย์ โดยศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) จึงได้จัดโครงการประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉิน ประจำปี 2565 ในหัวข้อ "การแพทย์ฉุกเฉินแห่งโลกอนาคต Metaverse in BangkokEMS" ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเป็นแพทย์ พยาบาล และผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และมูลนิธิ จำนวน 200 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติการเครือข่ายในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมยุคดิจิทัลและเทคโนโลยีในอนาคต รวมทั้งได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาให้เกิดองค์ความรู้ที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและบุคลากร สู่ความเป็นมืออาชีพในการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
โดยขณะนี้สำนักการแพทย์ได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลผ่านระบบโทรเวชกรรม หรือ Telemedicine เชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยผ่านแอปพลิเคชัน "หมอ กทม." ที่สามารถส่งข้อมูลภาพและเสียงระหว่างคนไข้กับแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น นอกจากนี้ ในด้านการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ศูนย์เอราวัณก็ได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชัน "Erawan 1669" สำหรับให้ประชาชนแจ้งเหตุฉุกเฉิน โดยแอปพลิเคชันดังกล่าวสามารถประเมินอาการบาดเจ็บของผู้ป่วยฉุกเฉิน คัดแยกรหัสอาการของผู้ป่วย และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเบื้องต้นแก่ญาติหรือผู้ป่วยทางโทรศัพท์ ก่อนที่ทีมปฏิบัติการจะไปถึง ทั้งนี้ หากผู้ป่วยหรือญาติสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง จะสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิต หรือความพิการจากการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น